เลือกตั้งและการเมือง

เปิดหลักเกณฑ์ อภัยโทษ 'อดีต ผกก.โจ้' เข้าข่ายหรือไม่ ?

โดย thichaphat_d

9 มิ.ย. 2565

19 views

ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิตอดีตผู้กำกับโจ้ และคณะรวม 7 คน แต่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพจึงลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุกตลอดชีวิต ทำให้โลกโซเชียลวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงประเด็นดังกล่าว เนื่องจากมองว่า อาจติดคุกไม่นาน เพราะมีความเป็นไปได้เช่นกันที่ผู้ต้องหาอาจได้รับพระราชทานอภัยโทษในอนาคต


เกี่ยวกับประเด็นนี้ ครม.มีมติ ปรับปรุงแนวทางการจัดชั้น ทางการจัดชั้น เลื่อนชั้นนักโทษ  ทำให้กฤษฎีกาอภัยโทษใหม่ได้มีการบัญญัติเอาไว้ว่า คนที่จะได้รับอภัยโทษจะต้องได้รับโทษมาแล้ว 1 ใน 3 หรือ 8 ปีขึ้นไป ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา บางรายถ้าเป็นกรณีรับโทษจำคุก 1 ปี กฤษฎีกาออกมา จะมีบทบัญญัติเลยว่าถ้าโทษไม่ถึงปีและไม่มีคดีทุจริตหรือคดีอาชญากรรมร้ายแรง  เข้าเรือนจำ 1 วัน แต่เมื่อมีกฤษฎีกาออกมา จะถูกปล่อยตัวทันที แต่หลังจากนี้จะ ไม่ใช่แล้ว


เมื่อยึดตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีสั่งการ ให้มีการตั้งคณะกรรมการฯขึ้นมาศึกษา แปลว่าต้องรับโทษก่อน 1 ใน 3 แล้วถึงจะเริ่มได้อภัย ทำให้ประเด็นของอดีต ผกก.โจ้และคณะ จึงจะยังไม่มีทางได้อภัยเลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุด 


นั่นหมายความว่าอดีตผู้กำกับโจ้และคณะจะไม่มีทางได้ประกันตัวออกมา ตราบใดที่คดียังไม่ถึงที่สุด ถึงแม้จะมีอภัยโทษ กรณีของผกก.โจ้และคณะก็จะไม่ถูกนับรวมด้วย 

ซึ่งอภัยโทษ จะมีเฉพาะในคดีที่ถึงที่สุดแล้วเท่านั้น ไม่ว่าจะอุทธรณ์หรือฎีกา

------------------------------------------------------ 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 65 ที่ผ่านมา นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2565 ว่า ครม.รับทราบรายงานของกระทรวงยุติธรรม เกี่ยวกับการอภัยโทษ ซึ่งเป็นการปรับปรุงแนวทางการจัดชั้น เลื่อนชั้นนักโทษ เพื่อให้มีแนวทางที่ชัดเจนขึ้น โดยเป็นการรับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอภัยโทษที่ตั้งโดยนายกรัฐมนตรี มีข้อสรุปดังนี้


1. ยังไม่มีความจำเป็นในการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2564


2. นักโทษที่จะได้รับอภัยโทษ (ไม่ว่าลดโทษหรือปล่อยตัว) ต้องผ่านระยะปลอดภัย คือ ต้องรับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือรับโทษจำคุกมาแล้ว 8 ปี (แล้วแต่ระยะเวลาใดถึงก่อน) และไม่ว่าจะเป็นนักโทษชั้นใด หลังจากนั้น จะมาดูอายุ สุขภาพ การจัดชั้น เพื่อลดโทษ ยกเว้นแต่เป็นการถวายฎีกาเฉพาะราย


3. วางหลักเกณฑ์ใหม่ที่เข้มขึ้นเกี่ยวกับการลดโทษคดีร้ายแรงในความรู้สึกของสังคม เช่น คดียาเสพติด คดีทุจริต คดีที่ศาลให้ประหารชีวิตโดยให้การลดโทษและปล่อยตัว

4. การจัดชั้นนักโทษ (ดี ดีมาก เยี่ยม) จะเข้มขึ้นและมีกฎเกณฑ์มากขึ้น

5. มีการเตรียมการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน และต้องวางแผนระยะยาวล่วงหน้า

6. การออกพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษฯ ยังคงมีความจำเป็นอยู่ตามโอกาสตามสมควร เพื่อจูงใจให้นักโทษมีความหวัง ไม่ก่อการจลาจล ลดความแออัดในเรือนจำ นำไปสู่การคืนคนดีกลับสู่สังคม และแสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณ


ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งปรับปรุงแก้ไขให้เป็นตามรายงานฉบับนี้ และสร้างการรับรู้แก่สังคมต่อไป


รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/efQH2s6SddE

คุณอาจสนใจ