เลือกตั้งและการเมือง

'จรัญ' ระบุ ศาล รธน.ไม่มีอำนาจสั่งระงับไม่โหวตนายกฯชั่วคราวได้ ชี้เป็นเรื่องกิจการภายในของสภา

โดย paweena_c

25 ก.ค. 2566

128 views

ความเห็นจากอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ "จรัญ ภักดีธนากุล" ชี้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับพิจารณา และ สั่งระงับไม่ให้โหวตนายกรัฐมนตรีชั่วคราวได้ ชี้ เป็นเรื่องกิจการภายในของรัฐสภา

จากมติสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีมติรัฐสภา เรื่องข้อบังคับที่ 41 ที่ไม่ให้เสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกพรรคก้าวไกลซ้ำ เพราะถือว่าเป็นมติที่ตกไปแล้ว และขอให้ศาลสั่งให้สภาไม่ให้โหวตนายก รอจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งนั้น

เรื่องนี้นายจรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และอดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ว่า จากการพิจารณาข้อกฎหมายแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเขตอำนาจเหนือคดีนี้ ดังนั้นอยู่ที่ว่าศาลฯจะระรับหรือไม่รับ คดีนี้ก็ได้ เพราะเห็นว่า ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณา

นายจรัญ กล่าวด้วยว่า อำนาจที่ศาลรัฐธรรมนูญทำได้เป็น เรื่องที่ถูกละเมิดโดยตรง เช่น พ.ร.บ.ประกอบ รัฐธรรมนูญมาตรา 47 ที่ให้อำนาจไว้ เช่นเรื่องที่ผู้ตรวจการส่งมา จะต้องเป็นเรื่องที่ถูกเลิดเมิดโดยตรง จากเจ้าหน้าที่รัฐ

สำหรับข้อบังคับที่ 41 นายจรัญ กล่าวว่า ไม่มีบทบัญญัติในมาตรการใดเลย ที่จะให้ไปตรวจสอบข้อบังคับรัฐสภา เว้นแต่ตรวจสอบร่างข้อบังคับก่อนประกาศใช้ เพื่อกลั่นกรองให้รอบคอบให้กับรัฐสภา แต่ถ้าประกาศใช้แล้ว ก็ไม่มีข้อใดเลย ที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ระงับ หรือโหวตนายกชั่วคราวไปก่อนไม่ได้ แต่สามารถสั่ง ส.ส. หรือ ส.ว. หรือ รัฐมนตรีหยุดทำหน้าที่ได้ หากมีความจำเป็น

วันนี้ ท่าน อ.จรัญ ไปที่ศาลรัฐธรรมนูญด้วย แต่ไม่ได้สัมภาษณ์ ซึ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ มีงานโครงการศาลรัฐธรรมนูญพบสื่อมวลชน ประจำปี มีบรรดาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และอดีตตุลาการ และบุคคลสำคัญ ไปร่วมงานจำนวนมาก แต่ไม่มีท่านใดออกความเห็น เรื่องนี้

ซึ่ง ต้องจับตาการประชุม ขององค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะมีการประชุมประจำสัปดาห์ในวันพรุ่งนี้ ว่าจะมีการนำคำร้อง ของผู้ตรวจการแผ่นดิน มาพิจารณา หรือไม่

เช่นเดียวกับ นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กไม่เห็นด้วย ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาส่งเรื่องนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิฉัย มองเป็นเรื่องความผิดพลาดของรัฐสภา โดยระบุข้อความว่า

"ไม่เห็นด้วยที่เอะอะอะไรก็จะนำเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แถมดันไปขอศาลให้สั่งรัฐสภาให้หยุดทำงาน รอจนกว่าศาลจะตัดสินเสียก่อนด้วย อย่างนี้มันทำให้อำนาจนิติบัญญัติต่ำเตี้ยลงไป กว่าอำนาจตุลาการมากยิ่งขี้นไปอีก จนเสียสมดุลระหว่างอำนาจอธิปไตย 3 อำนาจไปโดยสิ้นเชิง"

ผิดหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย และหลักอำนาจรัฐสภาธิปัตย์ (Parliamentary Sovereignty) กลายเป็นตุลาการธิปัตย์ (Judicial Sovereignty) ซึ่งหนักข้อยิ่งกว่าตุลาการภิวัตน์ (Judicial Activism) ขึ้นไปอีก ความจริงเรื่องความผิดพลาดของรัฐสภา ที่ดันลงมติว่า การเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบ เป็นนายกรัฐมนตรีถือว่าเป็นญัตตินั้น รัฐสภามีอำนาจแก้ไขความผิดพลาดของตนเองได้ ไม่จำเป็นต้องไปร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดให้หรอก


รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/ElL8PFV_xOY

คุณอาจสนใจ

Related News