เลือกตั้งและการเมือง

“พิธา” รอด! ถือหุ้นจริง แต่ “ไอทีวี” ไม่ได้ดำเนินกิจการสื่อแล้ว

โดย nicharee_m

24 ม.ค. 2567

463 views

“พิธา” รอด! ถือหุ้นจริง แต่ “ไอทีวี” ไม่ได้ดำเนินกิจการสื่อแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยกรณี  กกต. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์  สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 101 (6) กรณีถือหุ้นไอทีวี

โดยก่อนอ่านคำวินิจฉัยศาลได้ชี้แจงว่าเคยได้แจ้งให้ทราบว่าคดีนี้ผู้ถูกร้องขอขยายเวลาการชี้แจงสองครั้งครั้งละ 30  วัน  ความจริงคดีนี้ควรจะเสร็จสิ้นไปก่อนหกสิบวันที่แล้วไม่ใช่ศาลล่าช้า และขอแจ้งว่าการไปแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคดีในสื่อถือว่าเป็นการไม่เหมาะสมเพราะการแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะบวกหรือลบก่อนศาลวินิจฉัยจะเป็นการชี้นำและกดดันศาลจึงขอเตือนไว้ด้วย

มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพสิ้นสุดลงหรือไม่และนับแต่เมื่อไหร่ โดยเห็นว่า รธน. มาตรา98 บัญญัติเรื่องการห้ามลงสมัคร สส. ในกรณีการห้ามถือหุ้นเป็นเจ้าของกิจการสื่อ

การจะพิจารณาว่ากิจการใดเป็นกิจการสื่อ ต้องดูว่ามีเจตนาและยังมีการประกอบกิจการและมีรายได้จากการประกอบกิจการหรือไม่

โดยเมื่อมี พ.ร.ฎ.ยุบสภาเมื่อปี 2566 กำหนดให้วันที่ 4 เม.ย. เป็นวันรับสมัครเลือกตั้ง โดยพรรคก้าวไกล ยื่นรายชื่อนายพิธาเป็นผู้สมัครลำดับที่ 1 และต่อมาก็ได้รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ  แต่มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทไอทีวี  ลำดับที่ 7,061 จำนวนสี่หมื่นสองพันหุ้น  และถือเรื่อยมา จน 15 พ.ค.​ 2566 จึงโอนหุ้นให้นาย ภาษิน ลิ้มเจริญรัตน์ และมีการระบุวัตถุประสงค์ของบริษัทว่าเป็นสื่อโทรทัศน์

โดยนายพิธาโต้ว่าไม่มีอำนาจครอบงำ เพราะกฎหมายหลักทรัพย์​บัญญัติให้ตนเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ถึงร้อยละ 25 จึงเป็นการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำ ยกเว้นเป็นการได้มาโดยมรดก และจำนวนหุ้น 42,000 หุ้น แต่หุ้นไอทีวีมี  หนึ่งพันสองร้อยหกล้านหุ้น  ร้อยละ 0.00348 เป็นสัดส่วนที่น้อยมาก จึงไม่เข้าข่ายการครอบงำ โดยศาลเห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าววางหลักว่า รัฐธรรมนูญห้ามการถือหุ้นบริษัทต้องห้ามโดยไม่ได้ระบุว่าจะถือหุ้นเท่าใด หรือมีอำนาจบริหารหรือไม่ การถือเพียงหุ้นเดียวก็เป็นการถือแล้ว  การบัญญัติก็เพื่อไม่ให้ใช้เป็นช่องทางในการแสวงหาตำแหน่งหน้าที่ จึงห้าม สส. ถือหุ้นกิจการสื่อโดยไม่ได้ระบุว่าต้องถือหุ้นเท่าไหร่ หรือมีอำนาจครอบงำหรือไม่  การเถือเพียงหุ้นเดียวจึงเข้าข่ายตามรัฐธรรรมนูญแล้ว

ต่อมาต้องพิจารณว่าวันสมัครได้ถือหุ้นหรือไม่ โดยนายพิธาอ้างว่า บัญชีผู้ถือหุ้นในลำดับที่ 7,061 โดยระบุว่าถือในนามตัวเองแต่ไม่ได้ถือนนามผู้จัดการมรดกแต่อย่างดม และต่อมาวันที่  15 พ.ค. จึงโอนหุ้นให้นายภาษิน  

โดยศาลเห็นว่า สำเนาบัญชีผู้ถือที่ระบุว่าถือ 42,000 หุ้น  รายงานการโอนและรับโอนหลักทรัพย์ ว่าวันที่ 5 ก.ย.2550 รับโอนหลักทรัพย์จากบิดา โดยเป็นการโอนในกรณีผู้จัดการมรดก เมื่อมีฐานะเป็นทายาทอีกทาง รวมถึงหุ้นบริษัทไอทีวี มีผลให้เป็นทั้งผู้จัดการมรดกและทายาท จึงเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทไอทีวีตั้งแต่ปี 2550   และหนังสือโอนหุ้นกับนายภาษิน บอกว่าจะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองจึงโอนหุ้นให้และไม่สอดคล้องที่บอกว่าเป็นกิจการต้องห้าม เพราะตามความเข้าใจของผู้ถูกร้องไม่จำเป็นต้องโอน และการยื่นต่อ ป.ป.ช. นายพิธาไม่ได้ระบุถึงการโอนหุ้น และการที่เบิกความว่าหุ้นไอทีวี เป็นหุ้นที่โอนได้ตามตฃลาดเพราะไม่ได้อนุญาตให้ซื้อขายจึงไม่ได้โอนให้ทายาทอื่น แต่ต่อมาปี 2566 ได้รับคำแนะนำให้โอนทางทะเบียนได้ แสดงว่าการไม่ดำเนินการตั้งแต่ปี  2562 เป็นความคลาดเคลื่อนและเข้าใจของผู้ถูกร้องเอง

เมื่อพิจารณาจากข้อพิรุธ จึงฟังไม่ได้ว่าโอนหุ้นดังกล่าว และเป็นผู้ถือหุ้นในวันที่สมัครรับเลือกตั้ง

ส่วนกรณีไอทีวีเป็นสื่อหรือไม่ศาลเห็นว่าการพิจารณานิติบุคคลใดเป็นสื่อหรือไม่ ไม่อาจำพิจารณาแต่เพียงวัตถุประสงค์ แต่จะพิจารณาควบคู่ไปพฤติการณ์ว่าประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยปี 2538 ได้ดำเนินการกิจการโทรทัศน์และมีสัญญา 30 ปี และต่อมา สปน.​ปี 2550  มีหนังสือบอกเลิกสัญญา การแจ้งย่อมเป็นผลทำให้การร่วมงานสิ้นสุดลง สอดคล้องว่าเมื่อวันที่ 15  มี.ค. 2550 แจ้งประกันสังคมว่าบริษัทหยุดกิจการชั่วคราวเพราะไม่มีพนักงาน ถึงปัจจุบันก็ปรากฏว่าหยุดกิจการชั่วคราวตั้งแต่ 8 มี.ค. 2550  

นอกจากนี้ไอทีวีเคยดำเนินกิจการโทรทัศน์แต่ถูกเลิกสัญญาและบอกว่ามีรายได้จากผลตอบแทนการลงทุน และบริษัทย่อยก็ต้องหยุดกิจการไปด้วย แต่เมื่อดู  ภงด. 50 บอกว่าประกอบกิจการเผยแพร่ภาพยนตร์ แต่มีรายได้ 0  บาทจากการผลิตสื่อ แต่รายได้อื่นมาจากดอกเบี้ยรับ

ส่วนรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ที่บอกว่ายังประกอบกิจาการอยู่ ไม่ได้เป็นการประกอบกิจการสื่อมวลชนและหากศาลปกครองพิพากษาให้ชนะจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะประกอบกิจการหรือไม่  ดังนั้นการที่วัตุประสงค์บอกว่าประกอบกิจการโทรทัศน์ แต่ต้องดูงบการเงินด้วย   และยังไม่มีคลื่นความถี่ที่จะประกอบกิจการ และไอทีวีก็ไม่ได้มีการฟ้องร้องให้คืนสิทธิ์แก่ตนเองแต่อย่างใด

ข้อพิพาทดังกล่าวหากท้ายที่สุดไอทีวีชนะก็ไม่ได้มีผลให้ไอทีวีได้รับมอบคืนคลื่นความถี่ ปรากฏจึงสรุปว่าไอทีวีไม่มีสิทธิ์ประกอบกิจการสื่อตั้งแต่ 7 มี.ค. 2550 และการคงสถานะเพื่อดำเนินคดีที่ค้างในศาลเท่านั้น ไม่ปรากฏว่ามีรายได้จากการประกอบกิจการสื่อ การทีมีการเบิกความว่าหากชนะคดีจะมีการพิจารณาอีกครั้งว่าจะดำเนินกิจการหรือไม่  จึงเป็นเรื่องในอนาคต ดังนั้นแต่ สปน.​เลิกสัญญาก็ไม่ได้ประกอบกิจการสื่อมวลชน และไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสื่อ ดังนั้น ณ วันที่นายพิธาสมัคร ไอทีวีมิได้ประกอบกิจการสื่อ การถือหุ้นไอทีวี จึงไม่ทำให้มีลักษณะต้องห้ามใช้สิทธิรับสมัครเลือกตั้ง

จึงวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของนายพิธาไม่สิ้นสุดลง




คุณอาจสนใจ

Related News