สังคม
กต.งัดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ชี้ 'เกาะกูด' เป็นของไทย ยัน MOU 2544 ไม่ทำเสียดินแดน
โดย panisa_p
4 พ.ย. 2567
126 views
กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เปิดหลักฐานสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ยืนยัน เกาะกูดเป็นของไทย และเปิดข้อตกลง MOU 2544 ที่จะใช้เป็นกรอบการเจรจาพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน หรือ พื้นที่ OCA ระหว่างไทยและกัมพูชา
สนธิสัญญาระหว่างกรุงสนามและกรุงฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ.1907 เป็นหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด้านซ้ายและเมืองตราดกับเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม การชี้แจงของกรมสนธิสัญญาและกฏหมาย กระทรวงการต่างประเทศ จึงแยกประเด็นเกาะกูด ออกจากการเจรจา พื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน หรือ พื้นที่ OCA ระหว่างไทยและกัมพูชา
สำหรับพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน Overlapping Claims Area หรือ พื้นที่ OCA ระหว่างไทยและกัมพูชา ขนาดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร เกิดขึ้นหลังจากไทยและกัมพูชา ต่างอ้างสิทธิพื้นที่เขตไหล่ทวีป หลังเคยเจรจากันในปี 2513 แต่ตกลงกันไม่ได้ ทำให้ทางกัมพูชามีการออกกฤษฎีกาประกาศเขตไหล่ทวีป เมื่อ 1 กรกฏาคม 1972 หรือในปี 2515 ต่อมาไทยประกาศว่าเขตของกัมพูชายอมรับไม่ได้ ไทยจึงประกาศเขตไหล่ทวีป
โดยมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 พ.ค.2516 ระบุคำว่า สำหรับสิทธิอธิปไตยที่ต่อเนื่องทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มเป็นเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน ซึ่งการประกาศของทั้งสองประเทศเป้นประกาศภายในที่ต่างไม่ยอมรับ จะต้องมีการเจรจาตกลงกัน เป็นที่มาของข้อตกลง MOU 2544 ในรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร โดยมีนายสุรเกียรติ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวการต่างประเทศของไทย ลงนามกับ นายซกก อาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชา โดยทางกัมพูชา ต้องการคุยเรื่องการพัฒนาทรัพยากร ร่วมกัน ส่วนของไทย ยืนยันว่าต้องคุยเรื่องเขตทางทะเลด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับประชาชน และการเจรจาเป็นไปตาม อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ UNCLOS ที่ให้เจรจาอย่างสันติ
อธิบดีกมสนธิสัญญา กล่าวว่า พื้นที่ OCA กว่า 26,000 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นพื้นที่เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือให้คุยเพื้นที่แบ่งเขตทางทะเล ส่วนพื้นที่ใต้เส้นละติจูดองศาเหนือ ให้คุยถึงการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน โดยเงื่อนไขสำคัญคือสองเรื่องนี้ต้องคุยควบคู่กันไปแบ่งแยกมิได้ ใน MOU 2544 จึงต้องรักษาผลประโยชน์ทั้งสองเรื่องไปด้วยกัน และไม่ได้เป็นการยอมรับเส้นของกัมพูชา โดยให้ตั้งคณะกรรมร่วมด้านเทคนิค Joint Technical Committee - JTC เป็นกรอบการเจรจาหลัก
อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน กระทรวงการต่างประเทศอยู่ระหว่างการเสนอ คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งองค์ประกอบ JTC (ฝ่ายไทย) มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะทำงาน 20 8o โดยเมื่อทั้งสองฝ่ายได้แต่งตั้งองค์ประกอบ JTC เรียบร้อยแล้ว ในส่วนของไทย จะมีการเสนอกรอบการเจรจาให้รัฐบาลเห็นขอบ หลังจากนั้น จะทาบทามการเจรจา กับฝ่ายกัมพูชา รวมถึงแต่งตั้งกลไกย่อยต่าง ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2544 ถึงปัจจุบัน 23 ปีที่ผ่านมาก็ยังไม่มีข้อสรุปใดๆ
แท็กที่เกี่ยวข้อง