เลือกตั้งและการเมือง

กมธ.องค์กรอิสระฯ วุฒิสภาทำหนังสือด่วนถึง ประธานกกต. - ไอลอว์ กางตัวเลข ส.ว.ท็อป 8 จังหวัด ดูเยอะผิดปกติ

โดย weerawit_c

29 มิ.ย. 2567

61 views

วานนี้ (28 มิ.ย.67)  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกล้านรงค์ จันทิก สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมธิการการองค์องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ของวุฒิสภา ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงนายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เรื่องข้อเสนอแนะ เพื่อประกอบการพิจารณาของ กกต. กรณีมีเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม


โดยอ้างอิงถึงการการเลือก สว. ตั้งแต่ระดับอำเภอในวันที่ 9 มิ.ย. 2567 และระดับจังหวัด ในวันที่ 16 มิ.ย. 2567 และระดับประเทศ วันที่ 26 มิ.ย. 2567 ตามข้อมูลที่ปรากฎต่อสื่อสาธารณะ ก็วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับกรณีต่างๆ ที่เป็นเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการเลือก สว. ว่าเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมหรือไม่


เช่น ข้อสงสัยเกี่ยวกับการจัดตั้งเพื่อลงสมัครโดยกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง ,คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครไม่ตรงตามกลุ่ม 20 กลุ่ม, การจ้างวันผู้มาลงสมัคร เพื่อประโยชน์ในการเลือกผู้สมัครบุคคลใดบุคคลหนึ่ง, ปรากฏการณ์ของจำนวนผู้ไม่ลงคะแนนให้ตนเองจำนวนมาก , กรณีบุคคลจำนวนหนึ่งที่ได้รับคะแนนสูงผิดปกติ รวมทั้งการรวมกลุ่มและพบปะของผู้สมัครในรูปแบบต่างๆ


โดยกรรมาธิการได้ติดตามพัฒนาการในเรื่องดังกล่าว และมีความ ห่วงกังวลต่อเหตุ อันควรสงสัยดังขั้นต้นอย่างมาก และมีความเห็นว่าถ้าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงก็จะเป็นการขัดต่อเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 ที่ประสงค์ให้การเลือกเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งมีผลให้ประชาชนขาดความไม่เชื่อมั่นในการจัด สว. ของ กกต. และผู้ที่ได้รับเลือกเป็น สว. และวุฒิสภา


ดังนั้น กรรมาธิการจึงมีความเห็นว่า กกต. ควรพิจารณาใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาปี 2561 มาตรา 59 ที่กำหนดว่า “ ก่อนการประกาศผลเลือก หากมีเหตุอันควรสงสัยว่าการเลือกมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ให้ กกต. มีอำนาจสั่งระงับยับยั้งแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกการเลือก และสั่งให้ดำเนินการเลือกใหม่หรือนับคะแนนใหม่..” อย่างจริงจัง  เพื่อให้สังคมมีความมั่นใจในการดำเนินการของ กกต. ที่จะให้การเลือก สว. ครั้งนี้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ จึงเรียนเพื่อโปรดพิจารณาตามที่เห็นสมควรและขอเป็นกำลังใจให้ กกต. ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย


ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ iLaw และ We Watch จัดเสวนา “สว.67 ทางข้างหน้า จากสิ่งที่เห็น” เพื่อสรุปบทเรียนและข้อสังเกตจากการเลือกการส.ว.ระดับประเทศที่ผ่านมา  รวมถึงร่วมมองอนาคตการเมืองไทยหลังเห็นรายชื่อว่าที่ส.ว.


โดยในเสวนาวงแชร์ประสบการณ์ ‘เห็นกันตำตากับบทเรียนในระดับประเทศ’  กล่าวถึง 8 จังหวัด ที่เรียกว่า ‘ท็อป8’ คือ จังหวัดที่มีผู้เข้ารอบเลือกไขว้เยอะผิดปกติ ยังไม่นับว่าได้เป็น ส.ว.หรือไม่ แต่สามารถผ่านการเลือกรอบแรกในระดับประเทศเยอะผิดปกติ


นายรัชพงษ์   แจ่มจิรไชยกุล ตัวแทนไอลอว์ กล่าวว่า เราโฟกัสไปที่ 8 จังหวัดท็อป ธีมเราเรียกมันว่า ‘รวมกันเราอยู่ แยกหมู่กันเราได้เป็นส.ว.’ โดยท็อป 8 จังหวัดเรียงจากคนที่ผ่านเข้ารอบเลือกกันเองไปสู่รอบเลือกไขว้ได้เยอะที่สุด ซึ่ง 2 วันที่แล้ว เราติดตามการนับคะแนนอยู่ที่เมืองทองธานี แล้วก็รายงานออกมา


จะเห็นว่า 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย มีผู้แทนผู้สมัครเข้าสู่รอบระดับประเทศจำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 คนในทุกกลุ่มอาชีพ 2 คูณ 20 ก็เป็น 40 ซึ่งจาก 40 คน เข้ามาสู่ระดับประเทศ 8 อันดับแรก มีความสำคัญอย่างไร ลองดูกันว่าอันดับ 1 เท่ากันเลย 3 จังหวัด คือ อยุธยา บุรีรัมย์ สตูล มีผู้ผ่านเข้ารอบ 38 คน หมายความว่า ต้องมีคนตกรอบแค่ 2 คน


ถัดมา อ่างทอง เลย 37 คนเท่ากัน มีคนตกรอบแค่ 3 คน ถัดมา อำนาจเจริญ 36 คน ยโสธร 34 คน และสุรินทร์ 28 คน ต่อมาอันดับ 9 มันหล่นลงมาเหลือ 19 คนเลย นี่คือข้อสังเกตแรกทำไมต้อง 8 จังหวัด เพราะแก๊บระหว่าง 8 กับ 9 มันสูงมาก ในขณะที่ 1 ถึง 8 มันเกาะอยู่ด้านบน


8 จังหวัดนี้มีความแตกต่างมากกับจังหวัดที่เหลือ คือ ตั้งแต่ 1 มีคนผ่านเข้ารอบเยอะ และ 2 อัตราที่จะได้เป็นส.ว.ก็เยอะตามไปด้วย รวมกันแล้วผ่านเข้ารอบไขว้ 258 คน และได้เป็นส.วจริง คือ 52 คน พูดง่ายๆคือว่าถ้าคุณผ่านเข้ารอบไปแล้วมีอัตราส่วน 1 ใน 5 ที่จะได้เป็น ส.ว.เลย สูงมาก และสุดท้ายรวมกัน 8 จังหวัดนี้มีส.ว.รวมกัน 52 คน หรืออย่างน้อย 1 ใน 4 หรือประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของส.ว.ชุดใหม่ ก็เรียกได้ว่สาเป็นอัตราส่วนที่ค่อนข้างมาก และมากกว่าจังหวัดอื่นอย่างเห็นได้ชัด ส.ว.ชุดใหม่ก็จะประกอบด้วยคนจาก 8 จังหวัดนี้เยอะ


https://youtu.be/dzvi7_AMbu8

คุณอาจสนใจ

Related News