สังคม

ดรามา คณะทำบุญปล่อยปลาดุก 1 ตัน ลงแม่น้ำมูล กระแสตีกลับบอกเป็นการทำลายระบบนิเวศ

โดย jeeraphat_d

7 เม.ย. 2567

2.5K views

วันที่ 7 เม.ย.67 เพจ”เจ้าหญิงน้อยแห่งอันดามัน”ได้โพสต์ภาพการปล่อยปลา พร้อมกับเขียนข้อความว่า”ปล่อยเรียบร้อย ชาวเน็ตห้ามกันไม่ทัน ปลาดุกตันกว่าๆ ลงแหล่งน้ำในจังหวัดบุรีรัมย์(สตึก)เรียบร้อย ตอนนี้คนปล่อยปลากำลังไปรับศีลรับพรที่ได้จากการปล่อยปลา จากพระอาจารย์อยู่”โดยจุดประสงในการปล่อยปลาดุกครั้งนี้ทำเพื่อต่อชีวิตสัตว์โลก”


โพสต์ดังกล่าวมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่นำข้อมูลผลเสียของการปล่อยปลาดุกลงแหล่งน้ำธรรมชาติ เพราะเป็นปลากินพืชผสมสัตว์ ปลาตัวเล็กจะถูกปลากลุ่มนี้กินปีละหลายล้านตัว มีการคำนวนเป็นตัวเลขว่าปลาดุกกว่า 1,000 กก.จะกินสัตว์น้ำตัวเล็กในแม่น้ำมูลเท่าไหร่


ผู้สื่อข่าวเดินทางไปตรวจสอบจุดที่ปล่อยปลา พบว่าอยู่บริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อวังกรูด อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นจุดที่ชาวบ้านมักจะมาปล่อยปลาเป็นประจำ และเป็นจุดที่มีการไลฟ์สดระหว่างการปล่อยปลาดุก


สอบถามนายสมปอง อายุ 54ปี เลขากลุ่มอนุรักษ์พืชพันธุ์สัตว์น้ำลุ่มแม่น้ำมูล กล่าวว่า ปลาที่มีคนเอามาปล่อยในวันนี้เขาต้องการทำบุญสงกรานต์ เท่าที่เห็นเป็นปลาผสมระหว่างปลาช่อน ปลาหมอ ปลาดุกน่าจะมีนิดเดียว เพราะเคยห้ามปล่อยปลาดุก เพราะจะไปทำลายระบบนิเวศ ตนเป็นนักอนุรักษ์รู้ดี จะให้ปล่อยปลาดุกก็ต่อเมื่อเขาหาซื้อปลาช่อนกับปลาหมอไม่ได้ แต่จะให้ปล่อยครั้งละ 10-20 ตัวเท่านั้น จริงแล้วปลาดุกไม่ได้มุดลงใต้น้ำ จะลอยอยู่ผิดน้ำ โดยจะมีชาวประมงไปจับมาขายต่อไม่น่าจะกระทบมากนัก


ด้านนายอนันต์ อายุ 65ปี ชาวบ้านที่เห็นขณะมีคนเอาปลามาปล่อย เล่าว่า คนทำบุญมาด้วยกันประมาณ 15-20 คน มีการถ่ายภาพคุยกันอย่างมีความสุข ปลาที่เอามาใส่รถกระบะมา ตนอยู่ห่างออกไปไม่มั่นใจว่ามีปลาอะไรบ้าง เท่าที่เห็นเป็นปลาดุกเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะหลังปล่อยปลาจะเห็นหนวดปลาดุกลอยทั่วบริเวณหน้าศาลเจ้าพอวังกรูด


ทั้งนี้จากข้อมูลของกรมประมง พบว่าสัตว์น้ำที่ไม่ควรปล่อยลงในแหล่งน้ำสาธารณะบ้านเรานั่นคือ สัตว์น้ำต่างถิ่น หรือที่เรียกว่าเอเลี่ยน สปีชีส์ (Alien Species) เช่น ปลาดุกอัฟริกัน ปลาดุกลูกผสม หรือ "บิ๊กอุย", กุ้งเครย์ฟิช, เต่าญี่ปุ่น หรือ เต่าแก้มแดง, ปลาหางนกยูง, ปลากดเกราะดำ ปลากดเกราะลาย, ตะพาบไต้หวัน, ปลาทับทิม, ปลานิล, ปลาหมอสีคางดำ เป็นต้น อเลียนสปีชีส์ถูกนำเข้ามาปะปนภายในท้องถิ่นนั้น ๆ และสร้างความเสียหายให้แก่ระบบนิเวศของสิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่น เช่น การกินปลาพันธุ์ที่เคยอยู่ก่อนหน้าจนมีอัตราการเกิดที่ลดน้อยลง เป็นต้น


แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ