สังคม

ไทยแซงเวียดนาม ขึ้นอันดับ 2 ประเทศน่าลงทุน กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย

โดย panwilai_c

20 มี.ค. 2567

22 views

ไทยแซงเวียดนาม ขึ้นแท่นอันดับ 2 ประเทศน่าลงทุน ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย



สถาบันมิลเคนของสหรัฐ (Milken Institute) เปิดเผย ดัชนีโอกาสด้านการลงทุนระดับโลก (Global Opportunity Index) หรือ GOI ซึ่งเป็นดัชนีอ้างอิงที่ให้ข้อมูลสำคัญแก่นักลงทุนและผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก และบ่งชี้มุมมองเกี่ยวกับความน่าดึงดูดและกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าประเทศ พบว่า ประเทศไทย ครองอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย แซงหน้าเวียดนาม



โดยประเทศใน 10 อันดับแรก ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย เมื่อพิจารณาตามอันดับ GOI ประจำปี 67 พบว่า มาเลเซีย มาเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนาในเอเชีย และอยู่ในอันดับ 27 ของโลก / ตามาาด้วยประเทศไทย อันดับ 2 ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนาในเอเชีย และอันดับ 37 ของโลก / จีน อันดับ 3 ในเอเชีย อันดับ 39 ของโลก / อินโดนีเซีย อันดับ 4 ในเอเชีย อันดับ 55 ของโลก / เวียดนาม อยู่ในอันดับ 5 ในเอเชีย และอันดับ 65 ของโลก / อินเดีย อันดับ 6 ในเอเชีย อันดับ 72 ของโลก / มองโกเลีย อันดับ 7 ของเอเชีย อันดับ 78 ของโลก / ศรีลังกา อันดับ 8 ของเอเชีย อันดับ 82 ของโลก / ฟิลิปปินส์ อันดับ 9 ของเอเชีย อันดับ 91 ของโลก และกัมพูชา อันดับ 10 ของเอเชีย อันดับ 93 ของโลก



โดยกลุ่มประเทศประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนาในเอเชีย สามารถดึงดูดเงินทุนมากกว่าครึ่งหนึ่ง (53.2%) ของทั้งหมดที่ไหลเข้าสู่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนาทั่วโลก



ส่วนสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ติดอันดับ 14 ตามการจัดอันดับ GOI ประจำปี 2567 ขณะที่ญี่ปุ่นติดอันดับที่ 16



ขณะที่ประเทศ 10 อันดับแรก ตามการจัดอันดับ GOI ประจำปี 2567 ได้แก่ เดนมาร์ก สวีเดน ฟินแลนด์ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และไอร์แลนด์



ทั้งนี้ แม้ว่ากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีความได้เปรียบด้านเสถียรภาพ แต่นักลงทุนที่ต้องการแสวงหาผลตอบแทนสูง ยังคงแสดงความสนใจเข้าลงทุนในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนา



ซึ่งในการจัดทำดัชนี GOI สถาบันมิลเคนประเมินโอกาสด้านการลงทุนผ่านทางปัจจัยชี้วัด 100 รายการ แบ่งออกเป็น 5 หมวดหมู่ ได้แก่ การรับรู้ทางธุรกิจ ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ บริการทางการเงิน กรอบโครงสร้างเชิงสถาบัน รวมถึงมาตรฐานและนโยบายระหว่างประเทศ


https://youtu.be/P0s7bW2cL2s

คุณอาจสนใจ

Related News