เลือกตั้งและการเมือง

'ศิริกัญญา-ธีรรัตน์' มองต่างมุม แลนด์บริดจ์ - 'สุริยะ' ไม่วิตกฝ่ายค้านโจมตี เชื่อต่างชาติศึกษาข้อมูลก่อนลงทุน

โดย nattachat_c

16 ม.ค. 2567

57 views

จากกรณีที่ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) รวม ส.ส.ก้าวไกลที่ลาออกจากคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือโครงการแลนด์บริดจ์ สภาผู้แทนราษฎร หรือ กมธ.แลนด์บริดจ์เมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา หลังที่ประชุมอนุมัติรายงานผลการศึกษา ที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ทำการศึกษาไว้ ซึ่งมองว่าไม่รอบด้านนั้น


ล่าสุดรายการ กรรมการข่าวคุยนอกจอ ของสรยุทธ สุทัศนะจินดา ได้สัมภาษณ์ไหม ศิริกัญญา และ อิ่ม หรือ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว สงสัยว่าทำไมต้องมาที่แลนด์บริดจ์ เพราะมีช่องแคบมะละกาอยู่แล้ว


ธีรรัตน์กล่าวว่า เป็นการเพิ่มทางเลือให้กับเขา และเราจะมีสิทธิประโยชน์ให้ เพราะการสร้างโครงการดังกล่าว เพราะเราต้องการลดระยะเวลาการขนส่งเพื่อลดต้นทุนการใช้จ่ายของผู้ประกอบการต่อเที่ยวและลดจำนวนวันเรื่องการขนส่ง


ศิริกัญญากล่าวว่า จากตัวรายงานการศึกษาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้น ทาง สนข.ได้ทำตัวเลขเบื้องต้นเสร็จแล้ว และจะไม่มีการศึกษาต่ออีกแล้ว เลยถามว่า ที่ผ่านมา ได้มีการตั้งคำถามไป 7 คำถาม เพื่อจะนำไปสู่ผลการลงทุนว่าเกิดความคุ้มค่าหรือไหม่ ซึ่งปรากฏว่าตอบมาเพียงข้อเดียว และเป็นคำตอบที่ไม่ชัดเจน จึงมองว่า มีการทำไปโดยไม่รู้ว่าผู้ประกอบการหรือสายการเดินเรือจะมาใช้บริการหรือไม่ และเรื่องที่พูดถึงเป็นเรื่องทางธุรกิจที่ได้ทำไปแล้ว แต่สุดท้ายแล้วผู้ประกอบการหรือนักลงทุนไม่มาจะทำอย่างไร


ที่ผ่านมา กมธ.ไม่เคยมีการพิจารณาเรื่องเหล่านี้เลย และ สนข.ก็ยังตอบไม่ได้ว่า หากนักลงทุนไม่มาลงทุน จะทำอย่างไร ที่บอกว่าทำแล้วจะประหยัดได้จริงหรือไม่ และกลายเป็นการสูญเปล่าหรือไม่ อย่างไรก็ตามรายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า หากโครงการเกิดขึ้นจะใช้เวลา 24 ปีในการถึงจุดคุ้มทุน ก็ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ ซึ่งมองว่า สนข.ให้ข้อมูลไม่ชัดเจน ขณะที่นายกรัฐมนตรีเองก็เอาข้อมูลไปพูดทั่วโลก หากสุดท้ายแล้วโครงการไม่เกิด เพราะไม่มีใครมาลงทุนแล้วจะทำอย่างไรกับความเสียหายที่เกิดขึ้น


ที่ผ่านมา ทางผู้บริหาร สนข.ให้ตัวเลขไม่ตรงกันโดยบอกว่าโครงการไม่รวมท่อส่งน้ำมัน ขณะที่นายกรัฐมนตรีไปพูดกับต่างประเทศไปแล้วว่ามีโครงการท่อส่งน้ำมัน


ธีรรัตน์กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวมองว่า น่าจะเป็นขอบเขตของการศึกษาที่ทาง สนข.วางโครงสร้างคมนาคม เป็นกรอบโดยกว้าง และการที่ สนข.ไม่ได้ตอบทุกข้อ เพราะให้หน้าที่ทีมในการดำเนินการศึกษาในแต่ละเรื่องไปศึกษาในหลายๆ เรื่อง ส่วนเรื่องการโรดโชว์ของนายกรัฐมนตรีที่มีการพูดคุยเรื่องดังกล่าวกับนักลงทุนต่างประเทศนั้น เป็นเรื่องที่ฝ่ายบริหารจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติ เราต้องการให้โครงการดังกล่าวประสบผลสำเร็จในระดับทวีป และทั่วโลก ส่วนเรื่องผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบการ และคนในพื้นที่ได้รับอะไรบ้างและเรื่องผลกระทบต่อคนในพื้นที่เรากำลงศึกษาอยู่


ศิริกัญญากล่าวว่า ที่ผ่านมาในส่วนของ กมธ.ของพรรคก้าวไกลนั้น ได้มีการวางเรื่องนี้ไว้ 4 กรอบ ประกอบด้วย

1.กรอบการลงทุน

2.โมเดลลงทุนทางธุรกิจ

3.ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

4.การมีส่วนร่วมของประชาชน


ซึ่ง กมธ.ของก้าวไกล ตั้งหลักการไว้แบบนี้มาตั้งแต่ต้น เพื่อดูความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การเงิน ขณะที่ในเรื่องของท่าเรือนั้น ที่ผ่านมาได้มีการถอดบทเรียนจากท่าเรือทวายด้วย เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้อยู่ ส่วนเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมนั้น จะต้องดูการมีคส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางทะเล และบนบก นี่คือธงที่ก้าวไกลเราดูเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น และเมื่อทวงถามในสิ่งที่สอบถามไป ทาง สนข.ก็มีการผัดผ่อนเรื่อยมา และได้มาชี้แจงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งก็ตอบอ้อมไปอ้อมมา บอกว่าไม่ได้รวมสินค้าเทกอง


ส่วนเส้นทางเดินเรือ เมื่อถามไปก็งงว่า ทำไมนำข้อมูลของเดินเรือสินค้าของออสเตรเลีย ที่จะเดินทางไปจีน และข้อมูลของสินค้าในเอเชียใต้ ก็งงว่าเอามาทำไม


อย่างไรก็ตามในบันทึกการประชุมของ กมธ.วันที่ 22 ธ.ค.66 นั้นได้มีการบันทึกไว้ชัดเจนว่า ขอให้ สนข.ไปจัดทำตามข้อสังเกตุของ กมธ.เพื่อสิ้นข้อสงสัย ซึ่ง ปธ.กมธ.ก็บอกว่าหากต้องการเลื่อน หรือขยายเวลาก็ทำได้ หากข้อมูลไม่ครบถ้วน แต่สุดท้ายไม่ทำอย่างว่า และพอเห็นบรรยากาศไม่ดีก็ให้ปิดประชุมไปก่อน เป็นแบบนี้มาหลายรอบแล้ว ไม่เคยได้คำตอบครบและข้อมูลผิดอีก และสุดท้ายลงมติ แล้วแบบนี้ดิฉันจะไปถามใคร


ธีรรัตน์กล่าวว่า เรื่องการศึกษาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมการขนส่งภาคใต้ ที่ผ่านมาได้มีการผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ส่วน กมธ.มีหน้าที่ดูแลเรื่องที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ว่าจะเกิดผลเสีย ผลดีต่อประเทศหรือไม่อย่างไร


ผ่านมาได้มีการเชิญ สนข., สภาการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ (สศช.) ฝ่ายความมั่นคง ผู้ประกอบการการเดินเรือ ภาคประชาชน เราก็ได้เชิญมาตลอดเพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้านว่าได้ศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น แต่ไม่ใช่ศึกษาคุ้มค่าตามที่ กมธ.บอก เราซักถามสิ่งที่สงสัยให้มากที่สุด ที่คุณศิริกัญญาสงสัย สนข.ก็ไปศึกษาและตอบมา ซึ่งคำตอบอาจไม่ตรงใจคุณศิริกัญญา แต่ในส่วนของ กมธ.หลายท่าน ก็บอกเข้าใจว่าขณะนี้สภาพประเทศเป็นอย่างไร เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนไปทุกวัน


โครงการแลนด์บริดจ์ท่าเทียบเรือที่จะพัฒนานั้นจะรับเรือทุกขนาดและปรับแผนให้เข้ากับเรือ ปรับให้มีการพักคอยสินค้าได้ด้วย มองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสของประเทศไทย และมองว่าอนาคตเราจะทำอะไร ดังนั้นต้องวางวิสัยทัศน์ให้ผู้ลงทุนให้ได้เห็นภาพ ซึ่งจะเป็นผลดีมากกว่า


กมธ.คนอื่นเขาโอเค มองว่าสามารถไปปรับได้ เราต้องดูภาพใหญ่ศึกษาเชิงระบบ ไม่ใช่แค่เอาเรือมาจอดฝั่งหนึ่ง สิ่งที่คุณศิริกัญญาถามถามคนอื่นไม่ติดใจ และคำตอบที่ได้มาไม่ตรงใจคุณศิริกัญญา”


ศิริกัญญากล่าวว่า เห็นด้วยกับโครงการขนส่งทางน้ำ แต่โครงการมูลค่า 1 ล้านล้านบาท ต้องศึกษาความคุ้มค่าก่อน พอเราถามว่าคุ้มค่าหรือไม่ต้องได้รับคำตอบให้สิ้นสงสัย เช่น เรื่องสินค้าเทกองหรือไม่ เช่น ธัญพืช ข้าว ปูนซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์ใหม่ พวกนี้ไม่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ ว่าได้มีการรวมสิ่งเหล่านี้ไว้หรือไม่ ซึ่งทาง สนข.ตอบว่าไม่รวม แต่รายงานผลการศึกษาบอกว่ารวม (ตอบ 22 ธ.ค.66) จึงมองว่า สนข.ตอบไม่ได้แล้วมั่ว เลยมองว่าต้องกลับมาคุยกันต่อ ว่ามีการนำสินค้าเทกองมารวมหรือไม่รวมสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งสรุปคือถาม 7 ข้อ ตอบมาข้อเดียวคือเรื่องออสเตรเลียบอกว่ารวมทุกอันที่เป็นไปได้


ธีรรัตน์กล่าวว่า ในรายงานมีการรวมสินค้าเทกองด้วย แต่ที่คุณศิริกัญญาบอกว่า ไม่ตรงกันคงเป็นเรื่องของผู้ที่ตอบ ขณะที่เรารับรองรายงานผลการศึกษาในรายงาน การออกแบบท่าเรือยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ เพาะเราต้องการให้เป็นพื้นที่ใหญ่ รองรับเรือได้หลายรูปแบบ มีเรื่อทุกวัน รถไฟทางคู่เรื่องนวัตกรรมการขนถ่ายก็มีระบบออโตเมติก ไม่ต้องลงว่ามีหรือไม่ มองว่าคุณศิริกัญญาละเอียดไป แต่ก็ดีสร้างความละเอียดขึ้น คนทำงานก็อยากยืดหยุ่นให้เขาบ้าง แต่ก็เข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย


วันนี้ ครม.บอกว่าจะไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำให้คุ้มค่ามากที่สุด กมธ.ไม่มีสิทธิตรงนั้น ซึ่งการศึกษาต้องใช้เวลา เพราะโครงการขนาดใหญ่ 1 ล้านล้าน เป็นการสร้างความมั่นใจให้อนาคต เป็นเงินจากเอกชนไม่ใช่เงินหลวง นอกจากคมนาคมแล้ว อุตสาหกรรมอาจเข้ามาช่วยด้วย กระทรวงศึกษาธิการก็ด้วย เพราะอาจต้องเตรียมคนให้พร้อมเพื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย สิ่งเหล่านี้ต้องศึกษาเพิ่มเติม หน้าที่คนไทยอยากกระตุ้น ศก.ให้เงินต่างชาติเข้ามาลงทุน สร้างงาน สร้างรายได้ เป็นการสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน ตปท. ในการที่จะเข้ามาลงทุน เราต้องการเห็นประเทศเดินหน้าก้าวกระโดด เราต้องสร้างความเชื่อมั่นในที่สูญเสียไปในหลายๆ ปี อยากให้ช่วยกันอย่ามาบั่นทอนกัน


ศิริกัญญากล่าวว่า การศึกษานี้เป็นการศึกษาคมนาคมขนส่งไม่ใช่แต่ภาคใต้ ที่ผ่านมาฟุ้งๆ เราก็จินตนานการ รบ.ชุดก่อนของบประมาณศึกษาตัวรายงานนี้ เพื่อให้ฝันไปถึงตรงนั้น และคิดว่าจะถูกทำให้กลายเป็นรูปธรรมมากกขึ้น เบื้องต้นเป็นอย่างไร ทำไมเรือออสเสตรเลียจะมาใช้ รายงานฉบับนั้นต้องใช้หมดนั้น สแตมป์แล้วว่า คุ้มค่า เสร็จแล้ว นายกไปโรดโชว์แล้ว รถไฟก็มีทั้ง 2 แบบ คือ แบบสแตนดาร์ดเกด (รางมาตรฐาน) และมิเตอร์เกจ ซึ่งมีมติครม.รองรับ รายงานก็ต้องเสร็จและมาดูว่าตัวเลขที่จะเสนอครม.มาดูว่าครบถ้วนหรือยัง เลยต้องมาถามว่า รายได้จะมาจากไหนบ้าง มันต้องสมบูรณ์ว่าอ้างอิงได้ ไม่ใช่ไปศึกษาต่อ ต้องไปทำให้ชัดสรุปเทกองหรือไม่เทกอง


ธีรรัตน์กล่าวว่า สนข.มีหลายทีมที่ชี้แจง แต่รายงานนี้คือที่เรารับรอง ข้อมูลไม่ตรงกันเพราะประมวลไม่ทั้งหมด ต้องให้ สนข.ตอบเองทั้งหมด เราจะมีการถมทะเลด้วย ของที่จะเข้ามาเป็นตู้ ก็สามารถยืดหยุ่นได้ ส่วนเรื่องสินค้าก็ต้องรวม นับเป็นตู้ได้ก็เป็นตู้ อยากให้มูฟออนต่อไปสำหรับโครงการใหญ่ ให้ ศก.กลับมา มีเรื่องสำคัญมากกว่านั้น อย่าจับผิดเล็กๆ น้อยๆ เราต้องดูภาพใหญ่ แต่ทำเป็นจุดเล็กๆ ก็ได้เพื่อช่วยเสริม ยังมีขั้นตอนอีก ไม่ใช่ว่ารายงานฉบับนี้จะสร้างหรือไม่สร้าง ต้องมีขบวนการตัดสินใจต่ออีก


ศิริกัญญากล่าวว่า ตัวนำแม่เหล็กการลงทุน แต่ถ้ายังเคลียร์ไม่ได้ว่าคุ้มค่าหรือไม่ ก็หวังว่าความก้าวหน้าฉบับที่ 2 จะเป็นอย่างไร จะคอยดูว่าสินค้าเทกองเป็นอย่างไร จะต้องรอดู


ธีรรัตน์กล่าวว่า ถ้าสินค้าเทกองบรรจุเนคอนเทนเนอร์ได้ก็นับเป็นตู้ไป กรอบการสึกษารายงานฉบับนี้ เราต้องดูว่าใช้งบเท่าไหร่ คุ้มค่าหรือไม่ เดิมภาคใต้ทำเกษตรเป็นหลัก อนาคตจะทำอย่างไร หากเขาได้รับผลกระทบเราจะเยียวยา ฟื้นฟูอย่างไร นี้คือภาระกิจหลักของ กมธ. เพราะหากโครงการสำเร็จจะเปลี่ยนภาคใต้ไปเลย


ศิริกัญญา-ทางนี้บอกว่าให้เอกชนลงทุน ยกเว้นค่าเวนคืนและการสร้างรถไฟเป็นรัฐ หากไม่คุ้มค่าจริงไม่ต้องกังวล เพราะเอกชนเขามาคิดเองว่าจะลงทุนอะไรหรือไม่ แต่มีคนเตือนว่าจำเป็นต้องดู หากไม่เกิดขึ้น โครงการที่จะพัฒนาไม่เกี่ยวข้องก็ต้องชะลอไปด้วย ทำให้เสียเวลาและโอกาสกับโครงการอื่น เพราะว่าต้องลุ้นแลนด์บริดจ์ก่อนว่ามีคนมาลงทุนหรือไม่ รวมถึงปชช.ที่อยู่ในเขตเวนคืนว่าได้เงินเหรือไม่ เขาต้องรอ มองว่าวาดฝันเกินจริง เพราะเราไม่รู้ว่า เอกชนจะมาหรือไม่มา ทำให้เกิดการชะลอการลงทุน


ธีรรัตน์กล่าวว่า -แลนด์บริดจ์เป็นส่วนหนึ่งที่รบ.ยกขึ้นมาที่ภาคใต้ แต่ที่อื่น เช่น เหนือ อีสาน เราก็มีการศึกษาโครงการอื่น


เอสซีซี ที่บอกว่าต้องรอ เราอยากขอให้เห็นเพื่อเราจะได้เดินหน้าต่อ เราเห็นว่ามันจะไปต่อได้ รบ.กล้าที่จะตัดสินใจและลงทุนจริงๆ วันนี้มีผู้สนใจจากต่างประเทศเข้ามาแล้ว ระนองมีจีนมาสร้างโรงงานผลิตรภยนต์ไฟฟ้า ออสเตรเลียส่งทูตไปศึกษาใน พท.แล้ว ว่าปชช.ตอบรับมากน้อยแค่ไหน และนายกฯเราก็ไปโรดโชว์กับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งแต่ละที่ที่ไปก็จะมีนักลงทุนเข้ามาสอบถามเป็นจำนวนมาก


ศิริกัญญากล่าวว่า-นี่แหล่ะเลยไม่อยากให้พลาดจุดนี้


ธีรรัตน์กล่าวว่า -ยืนยันว่าไม่พลาด


ศิริกัญญากล่าวว่า-มันมีจุดให้ตีเยอะ ถ้าจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นภาพที่ดี อยากให้นายกฯพูดให้ถูกต้อง ไม่ใช่เอาข้อมูลจากหน่วยราชการที่ถูกบ้างไม่ถูกบ้างมาพูด แบบนี้จะสร้างความเชื่อมั่นได้อย่างไร


ศิริกัญญากล่าวว่า-นายกฯมั่นใจมาก เพราะเขารู้สึกว่าโครงการเดินหน้าต่อได้หรือไม่ได้ ผู้นำมีบทบาทสำคัญมาก โครงการใหญ่ทุกอย่างไม่ใช่ว่าจะจบเร็ว ต้องดูสภาพหน้างานด้วย งานนี้นายกฯตั้งใจและอยากให้โครงการสำเร็จได้จริงๆ ก็ไม่เห็นไม่มีใครไม่เชื่อมั่น นักลงทุนสนใจเข้ามาลงทุนมากมาย ปชช.กังวลเรื่องที่ดินทำกิน เราก็จะหาที่ให้ถูกต้อง กมธ.เราก็ลงในพท.ด้วย ที่ผ่านมาปชช.ก็เข้าใจมากขึ้นหลังกมธ.ลงในพท. ที่ผ่านมานายกฯก็ได้ศึกษาข้อมูลหลายฉบับ


ศิริกัญญากล่าวว่า-ไม่อยากให้เราพลาด อย่างนักลงทุนเดินเรือ เขาบอกว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะมีจุดให้ตีเยอะ ถ้าจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นที่ดี ก็ขอให้นายกพูดให้ถูกต้องไม่ให้เอาข้อมูลจากส่วนราชการที่ถูกบ้างไม่ถูกบ้างออกไปพูด นักบทุนจะเกิดความเชื่อมั่นได้อย่างไร เพราะไม่ชัวร์ว่าคุ้มค่าหรือไม่


ขอให้นายกไปทบทวนการศึกษาของสนข.ทำ เช่นจะใส่ท่อส่งน้ำมันไม๊ ที่ผ่านมาพูดว่าช่องแคบมะละกาแออัดในอนาคต


ธีรรัตน์กล่าวว่า -เรื่องจริง เพราะมีการคาดการณ์อนาคตไว้ เราเห็นโอกาสว่าต้องรีบทำ ไม่งั้นอานาคตจะแพงกว่านี้


ศิริกัญญากล่าวว่า-ต้องรีบทบทวนโครงการ


ธีรรัตน์กล่าวว่า -ไม่ทบทวนแต่จะเดินหน้าโครงการ ก้าวไกลต้องไปดูให้สิ้นข้อสงสัย เราหยุดและรอไม่ได้จริงๆ อยากไปให้ถูกทาง กำจัดอุปสรรคให้ถูกทาง ใครอยากเสนอความคิดเห็นก็เสนอมา


ศิริกัญญากล่าวว่า -เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม เป็นเรื่องโรดโชว์ ต่อไปของบทำเอกสารเชิญชวนลงทุนอีก 45 ล้านบาท เราต้องลงรายละเอียด อะไรคือจุดขายนักลงทุน ประหยัดระยะเวลาได้จริงหรือ เพราะจนถึงตอนนี้ยังไม่ได้คำตอบ และทำไมไม่ไปศึกษาเพิ่มเติมแทนตัดจบ


ธีรรัตน์กล่าวว่า ธีรรัตน์-ปธ.มองว่ามาคุยในห้องใหญ่เพื่อไม่ต้องแยกกมธ.เพราะทุกส่วนรับผิดชอบร่วมกัน ให้ทุกหน่วยงานมาชี้แจง คุณไหมเลยมอวว่ารีบรวบรัด


ศิริกัญญากล่าวว่า -ยินดีให้คุยในห้องใหญ่ แต่ถามว่าคุยกันกี่ครั้ง แค่ครั้งเดียว


ธีรรัตน์กล่าวว่า-มาทุกครั้ง เพราะนั่งอยู่ตรงข้าม


ศิริกัญญากล่าวว่า -เห็นแค่ครั้งเดียว และเขาอยู่แต่ตอบคำถามไม่ได้ (จิรโรจน์) เพราะผู้เชี่ยวชาญไม่อยู่ เลยขอเลื่อนจาก 15 ธ.ค.66มาเป็น 12 ม.ค.66


ธีรรัตน์กล่าวว่า-เห็นและรับทราบในส่งที่ศิริกัญญา ถามตลอด และเขาตอบก็น่าพอใจ แต่อาจไม่ตรงใจศิริกัญญา ซึ่งเป็นสิทธิที่ทำได้ ที่ผ่านมา สนข.ก็ตอบมาตลอด


ศิริกัญญากล่าวว่า -ถ้าเขาตอบจริงก็น่าจะทำได้ เช่น สินค้าจากเอเชียใต้ทำไมต้องมาระนอง


ธีรรัตน์กล่าวว่า-อยากให้ประหยัดเวลา กว่าการไปต่อแถวที่มะละกา การวางแผนทางธุรกิจหากมีสิทธิประโยชน์ให้กับเขามากมายแล้วทำไมเขาถึงจะไม่มา อันนี้คือดิฉันประมวลมาจากผลการศึกษา สนข. และประเทศต่างๆ ที่มองว่าของเดิมดีอยู่แล้ว ก็ต้องหาจุดดึงดูดให้เขาเข้ามา


ศิริกัญญากล่าวว่า -เอเชียใต้ตรงมาสิงคโปร์ได้อยู่แล้วทำไมแวะมาที่เรา


สรยุทธ-ผมฟังจากปลัดคมนาคมมา จริงๆแล้วไม่ใช่คอนเทนเนอร์เป็นหลัก ตรงนี้จีนเป็นหลัก แต่ปท.อื่นๆ ไม่ได้รับถ่ายลำไปทั้งลำ แลนด์บริดจ์คือฮับๆหนึ่งสำหรับขนถ่ายสินค้าที่ปท.ต่างๆ เอามาลงและขึ้นเพื่อกลับไป 80% ที่ไปมะละกา ที่ข้ามไปคือจีนลงที่สิงคโปร์และเปลี่ยนถ่ายที่ไปใช้ระนอง ทั้งที่ใช้สิงคโปร์ได้อยู่ แล้ว ใช้ระนองเพราะหาจุดดึงดูด


ธีรรัตน์กล่าวว่า -เขามาที่เราเขาทุ่นเวลา ได้สินค้าอื่นไปด้วย ซึ่งผู้ที่ศึกษาได้ค้นคว้ามา เขาจะมาใช้เรา หากเราดึงดูดเขาได้บางลำอาจไม่แวะ


ศิริกัญญา-พวกที่มาจากยุโรปตะวันออกกลางถ้าจะมาระยอง บวกเวลาเพิ่ม ไม่ใช่ร่นระยะเวลา สนข.เอาข้อมูลสินค้าของเอเชียใต้มารวมกับแลนด์บริดจ์เราทำไม เพราะเขาจบแค่นั้น


แลนด์บริดจ์มีประโยชน์กับอาเซียนและเอเชียตอนบน แต่มาดูตัวเลขสร้างท่าเรือและความคุ้มค่า เลยเจอปัญหาเต็มไปหมด ทั้งเอเชียตะวันออกด้วย ถ้าถ่ายลำไม่มีปัญหา แต่ถ้าเส้นทางตรง ไปออสเตรเลียก็ตรงดีกว่ามิใช่หรือ แต่รายงานสนข.กลับเอามารวม


ธีรรัตน์-การเดินเรือ หากเขาไม่มาตรงนี้ก็หยุดแค่นั้น แต่ถ้ามีสินค้าอื่นมาด้วย เขาแวะรับและคุ้มค่าสำหรับเขาด้วย เพราะเราก็จะสร้างเป็นฐานการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกด้วย นี่คือภาพรวมว่ามาจากตรงไหน สูงกว่าที่เราจะจินตนาการได้


ศิริกัญญา-หากพัฒนาใต้ให้มีสินค้าอุตสาหกรรม และออกออกแบบโครงการนี้เพื่อการค้า ไม่ควรจะออกมาเป็นแลนด์บริดจ์ ควรลดไซต์ลงมา ไม่ใช่ 20 ล้านตู้แน่นอน


ธีรรัตน์-โมเดลเราคือรองรับธุรกิจในอนาคต เราอยากให้มองภาพการค้าการลงทุนมากขึ้ย


ศิริกัญญา-ต้องรีบทบทวนรายงาน เพราะสนข.คิดใหญ่เวอร์ไปมาก 20 ล้านตู้ เพราะเอาไปรวมทุกอย่าง เช่นสินค้าจากยุโรปเอเชียใต้มาร่วมได้


สรยุทธ-เขามองว่าแลนด์บริดจ์ จริงๆ มาเลเซียก็ทำ เขากว้าง 500 กว่า กม. ต่อไปจะเป็นฮับได้หรือไม่ ลักษณะคือ ที่ผ่านมช่องแคบมะละกาส่วนใหญ่ใช้ท่าเรือขนถ่ายกระจายวงเล็ก ขนาดใหญ่ข้ามมีแค่จีน และจีนมีแง่มุมความมั่นคงและต้องหานอกเหนือจากมะละกา เลยมองว่าเป็นยุทธศาสตร์ใหญ่รองรับจีน และสุดท้ายจะพัฒนายุทธศาสตร์สำคัญการค้าโลกท่า เรือ 2 ฝั่ง รางระยะสั้น สินค้าขนถ่ายเป็นเส้นทางสินค้าใหม่ของโลก


ศิริกัญญา-ที่ผ่านมะละกาจะเป็นเรือแม่ เรือใหญ่ ส่วนฟีดเดอร์คือ ระหว่างตะวันออก-ตะวันตก และตะวันตก-ตะวันออก เป้าหมายเราคือตะวันออกไปตะวันตก ตะวันตกไปตะวันออก ซึ่ง สนข.ยืนยันเรือใหญ่ไม่ใช่ฟีดเดอร์ (ฟังจาก สนข.)


ถามว่าสินค้าจากจีนไปออสเตรเลียจะแวะชุมพรทำไม ในเมื่อสายเดินเรือมีเส้นทางตรงอยู่แล้วและขนแร่จากออสนเตรเลียไปจีน


ธีรรัตน์-ถ้าเป็นความสะดวกหรือคล่องตัวเขาจะมาทำไม เขาก็ต้องไม่มา หรือไม่มาก็ได้ ถ้าอยากให้เขามาต้องมีอะไรดึงดูดเขา หากไม่เกี่ยวเขาก็ไม่มา


เท่าที่ฟัง สนข.หากเป็นเรือที่ต้องมารับของเขาต้องมาหาเรา แต่ถ้าไม่รับของเขาจะมา สงสัยว่าคุณศิริกัญญาจะเอามาร่วมทำไม และสนข.เชื่อว่าจะมาจำนวนหนึ่ง


ศิริกัญญา-ถาม สนข.ว่าเขาจะมาทำไม เขาตอบว่าเราดึงมาด้วยการลดแลกแจกแถม ซึ่งเขาบอกต้องไปศึกษาก่อน


สรยุทธ-มองกันคนละมุม


ศิริกัญญา-เสียดายที่ สนข.ไม่ได้มาตอบแบบนี้เพราะรายงานใช้เงินไปเยอะ 68 ล้านบาท


สรยุทธ-กมธ.โอเคแล้ว


ธีรรัตน์-ใช่ 20/2 เสียง สิ่งที่เราจะนำเสนอต่อสภาคือ เพื่อให้รู้ว่าหาก รบ.ทำผลกระทบจะมีอะไรอีก ประเทศได้อะไร แก้ปัญหาอะไรได้ คุ้มหรือไม่กับการเดินหน้าต่อ เป็นความเห็น กมธ.เพื่อเข้าสู่สภา เห็นชอลหรือไม่เห็นชอบก็คล้ายๆ กับคลองไทย


การใช้เวลาที่มีจำกัดไปทำเรื่องอื่นต่อ และเชื่อว่าคุณศริกัญญาไม่เล่นการเมือง แค่อยากทราบในสิ่งที่ตัวเองสงสัย และศึกษาข้อมูลจากอดีตกันแล้ว ทุกคนตั้งใจอยากให้โครงการสำเร็จ ก็เสียดายที่เขาออก


ศิริกัญญา-ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ เรากำลังพิจารณราโครงสร้างพื้นฐานใหญ่ต้องมีข้อมูลมากเพียงพอ ปธ.ก็นัดหมายสนข.มาตลอด แต่ก็ไม่ถึงไหนจาก 7 คำถาม เขาตอบเราไม่ตรงคำถาม ตอบอย่างอื่น จนตอนนี้ก็ยังไม่ได้คำตอบ


รายได้โครงการก็เอาไปรวมกับสายการเดินเรือที่จะเข้ามาด้วย มาร่วมกับรายได้และรายรับของโครงการ ซึ่งสนข.เสนอมา 2,800 บาทต่อตู้ ของสายการเดินเรือ เอามาใส่ในแลนด์บริดจ์


ธีรรัตน์-มองว่าไปหยิบเอาบางตัวมา แต่ก็อยากให้สนข.มาตอบดีกว่า


ศิริกัญญา-เรื่องผลตอบแทน และการคืนทุน ถามว่ายังจะเชื่อได้หรือไม่ เพราะไปเอาสินค้าที่ไม่ควรจะรวมเต็มไปหมด และรายงานฉบับนี้ไม่ได้อ้างอิงอะไรเลย เป็นคำพูดของ กมธ.


ธีรรัตน์-เราเอาความคิดเห็ยของการเดินเรือที่มีความกังวลไว้หมด การหยิบบางเรื่องมาทำให้งง สนข.บอกว่าคิดคำนวณจากตัวเลขตั้งต้น ทั้งหมดอยู่ในผลการศึกษาฉบับใหญ่ เข้าใจ สนข.เขาศึกษามา แต่พอมาลงลึก เขาคงไม่ลงรายละเอียดได้ไม่มาก ดังนั้นควรเปิดใจรับฟัง


สรยุทธ-มีคนบอกว่าคุณจะเป็น รมว.คลัง ควรต้องใจเย็นกว่านี้ไม่ใช่เอะอะก็ลาออก


ศิริกัญญา-เราไม่ได้ลาออกว่าจะแพ้เสียงโหวตเพราะเรามีเสียงน้อยเรารู้อยู่แล้ว ที่ลาออกเพราะไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน เพราะความไม่รู้เลยลาออกดีกว่า เพราะข้อมูลไม่ชัดเจน


การศึกษา สวล.ไม่ใช่รัศมี 5 กม.แต่ควรกว้างมากกว่านี้ ดิฉันได้ข้อมูลไม่ครบ เลยตัดสินใจลาออกดีกว่าไม่อยากเป็นตรายาง


ธีรรัตน์-ความคิดเห็นสำคัญต้องฟังจากทุกภาคส่วน คุณศิริกัญญาอาจได้คำตอบที่ไม่พอใจ ส่วนเรามองว่าชัดเจนแล้วไปต่อได้ และจะมีการเข้าสภาใหญ่ ไปซักถามในนั้นได้เลย หน่วยงานเกี่ยวข้องคงให้คำตอบได้ เราให้สำคัญกับกรอบการศึกษาว่าครบถ้วนหรือไม่ และข้อเสนอแนะ กมธ.ก็เสนอแนะให้ไปทำต่อ หากปชช.เข้าใจตรงกัน เรา ส.ส.ก็สนับสนุน


ศิริกัญญา-ได้พยายามปฏิบัติหน้าที่ กมธ.จนสุดความสามารถทวงถามข้อมูลตอลดเห็นว่าไม่ได้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว เลยลาออกในวันสุดท้าย จะติดตามตรวจสอบต่อไปว่าโครงการนี้จะออกมาในรูปแบบไหนจะไม่ทิ้งแน่นอน สำหรับโครงการนี้เพราะอยากให้ภาคใต้ได่รับการพัฒนา ไม่ใช่เป็นถนนร้างๆ ที่ไม่มีใครใช้ ไม่ให้ผิดซ้ำ ให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้กับต่างชาติ ไม่อยากให้ภาคลักษณ์ประเทศเสียไป


ส่วนเรื่องที่บอกว่าเราห่วงสิงคโปร์ นั้นการที่บอกว่าอ่านรายงานพันหน้า บอกว่าห่วงสิงคโปร์ แต่คนที่ห่วงปทท.ได้รายงานไม่ครบถ้วน ดิชั้นได้ข้อมูลนี้ตอนเดินออกมาจาก กมธ.ว่า เรารู้กันดีว่าล้อบบี้มาเพื่อให้โครงการนี้เกิดขึ้น มีคนพูดและเชื่อว่ามีชวเลขแน่นอน ถือเป็นข้อกล่าวหา


ธีรรัตน์-หากมีข้อมูลคุณศิริกัญญาควรดำเนินคดีได้เลย เพราะเราทำหน้าที่ของเรา อยู่ก้าวไกลฝ่ายค้านจะให้สนับสนุน รบ.ทุกเรื่องไม่ได้


ศิรกัญญา-พอถึงเรื่องนี้ ข้อกล่าวหานี้ง่ายที่จะพูด แต่ช่วยฟังรายละเอียดหน่อยว่าอย่างไร


ศิริกัญญา-สมัยก่อนถ้าเป็น รบ.ชุดก่อนเราก็ไม่เชื่อมั่น แต่ตอนนี้เราเชื่อมั่น เพราะเรามีข้อมูลสามารถสร้างความมั่นใจได้


ศิริกัญญา-งานนี้ทำมาตั้งแต่ รบ.ก่อน


ธีรรัตน์-ก็ไม่ใช่ตาม รบ.เก่าทั้งหมดเรามั่นใจ เราประกาศไปหลายโอกาส เรามีชุดข้อมูลโอกาสอยู่ข้างหน้าเราต้องทำให้ได้ เหมือนในอดีตที่เราทำสำเร็จ

-------------------

เมื่อวานนี้  (15 ม.ค.67) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ระหว่างร่วมคณะนายกรัฐมนตรี ไปประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส กรณีโครงการ แลนด์บริดจ์ของรัฐบาลที่มีการนำเสนอต่อประเทศต่างๆ โดยยืนยันได้รับการตอบรับจากนักลงทุน และนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญต่อโครงการดังกล่าว มีการนำเสนอต่อเนื่องตั้งแต่การประชุมเอเปค ไปจนถึงการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นและจีน และในครั้งนี้การเดินทางร่วมการประชุม "เวิลด์ อิโคโนมิก ฟอรั่ม ที่เมืองดาวอส ก็ได้รับการตอบรับจากหลายประเทศ


ส่วนการที่ฝ่ายค้านยกประเด็นมาโจมตีว่า รัฐบาลนำเสนอรายงาน แลนด์บริดจ์ ฉบับไม่สมบูรณ์กับนักลงทุนต่างชาติ  นายสุริยะเห็นว่าโครงการดังกล่าวการลงทุนส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากภาคเอกชนดังนั้นเชื่อว่าภาคเอกชนเมื่อจะมีการลงทุนใดใดก็จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านและในครั้งนี้มีการตอบรับจากบริษัทใหญ่ของดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดังนั้นจึงเชื่อว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถเกิดขึ้นได้แน่นอน

------------

รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.อดิศร เพียงเกษ ได้ทวีตร่ายเป็นกลอนว่า 


หลอกต่างชาติมาลงทุน แม่นักบุญหัวใจบาป ไทยต้มตุ๋นสร้างภาพ แลนด์บริดจ์ฉาบด้วยกลลวงเอาอะไรเป็นต้นคิด กล้าเบือนบิดไม่คิดห่วง เหยียบย่ำให้ช้ำทรวง แม่พุ่มพวงบ่างก้าวไกล… หลอกลวงคนทั้งโลก…อย่างนั้นหรือ ??? 


15 มกราคม 2567

------------

รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/eTsf64yw93E

คุณอาจสนใจ

Related News