เลือกตั้งและการเมือง
“นพ.ชลน่าน” ชี้ยังไม่มีรายงานทางการเรื่องผลกระทบวัคซีนโควิด-19
โดย paranee_s
15 ม.ค. 2567
386 views
นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยนายแพทย์โอภาสการย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เดินทาง เยี่ยมชมผลการดำเนินงานตามนโยบาย ด้านสาธารณสุขที่โรงพยาบาลราชวิถี โดยมี พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี และคณะผู้บริหารเข้าร่วม
ผลการดำเนินตามนโยบายด้านสาธารณสุขของโรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งเป็นหนึ่งหน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมาย Quick Win 100 วัน ภายใต้นโยบาย "ยกระดับ 30 บาท" เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการและคุณภาพชีวิตประชาชน โดยมีผลสำเร็จใน 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่
1.ดิจิทัลสุขภาพ ให้บริการ Virtual Hospital ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้ทุกที่ สะดวกสบาย ประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง ด้วยบริการครบวงจรเหมือนเข้ารับบริการในโรงพยาบาลจริง ในทุกขั้นตอนทั้งการซักประวัติการตรวจวินิจฉัยการพบแพทย์ จนถึงการรับยาทางไปรษณีย์
เปิดคลินิกส่งเสริมการมีบุตร ส่งเสริมการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน เน้นตรวจคัดกรองคู่รักอย่างครอบคลุม และดูแลเฉพาะราย ให้บริการแล้ว 47 คู่ พบความผิดปกติและส่งเข้ารักษาภาวะมีบุตรยาก 12 คู่ ซึ่งมีตั้งแต่การฉีดน้ำอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก การทำเด็กหลอดแก้ว และการทำอิ๊กซี่
การสร้างขวัญกำลังใจบุคลากร ด้วย Care D+ Team ลดช่องว่างการสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ โดยให้บริการมากกว่า 4,000 ราย/วัน ส่วนใหญ่ 80% เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการรับบริการ ซึ่งพบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับดีมาก
การจัดตั้งโรงพยาบาล ประจำเขตดอนเมือง ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี 2 (รังสิต) ซึ่งเป็นบริการร่วมระหว่าง โรงพยาบาลราชวิถี 2 และ โรงพยาบาลทหารอากาศ (สีกัน) ปัจจุบันเปิดให้บริการหอผู้ป่วยใน 84 เตียง แผนกฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง ทำให้มีอัตราเตียงรองรับผู้ป่วยพื้นที่เขตดอนเมือง เพิ่มขึ้น 1.62/1,000 ประชากร
ซึ่งนายแพทย์ชลน่านได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมกรณีการขยายสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร โดยตามนโยบายกรุงเทพมหานครแล้วมีแผนการเพิ่มสถานพยาบาล 50 เขต 50 โรงพยาบาล ซึ่งต้องดูความพร้อมในแต่ละพื้นที่
ทั้งนี้การให้บริการของกรุงเทพมหานครมีกฎหมาย พิเศษที่แตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ การบริหารจัดการทั้งหมดจึงเป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานครกระทรวงสาธารณสุขมีส่วนแค่เข้ามาสนับสนุนเพิ่มเติมเท่านั้น
ขณะที่ประเด็นเรื่องการส่งเสริมการมีบุตรเมื่อวันที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมาได้เสนอผลักดันให้เรียงการส่งเสริมการมีบุตรเป็นวาระแห่งชาติในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีโดยวาระเร่งด่วนคือการเร่งสร้างความเข้าใจให้กับคนรุ่นใหม่มีทัศนคติใหม่ ในการมีบุตร หากได้รับการพิจารณาเป็นวาระแห่งชาติจะมีคณะกรรมการการอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติเป็นผู้ดูแลเรื่องแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีบุตร
ส่วนกรณีที่มีข้อมูลการโพสต์ใน Facebook ของนพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ โรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาโพสต์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาการรองโควิดและผลข้างเคียงจากวัคซีนป้องกัน โควิด-19ชนิด mRNA
นายแพทย์ชนน่านกล่าวว่า เรื่องการบริหารจัดการวัคซีนป้องกัน โควิด-19 มีคณะกรรมการดูแลอยู่แล้วและมีกรมควบคุมโรคเป็นผู้รับผิดชอบ จนถึงขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลหรือรายงานทางการที่บ่งชี้ถึงผลกระทบซึ่งเกิดจากการรับวัคซีน โควิด-19 หากหน่วยงานใดหรือใครมีข้อมูลข้อเสนอสามารถแจ้งไปยังทางคณะกรรมการในการพิจารณา เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนแนวทางบริหารจัดการวัคซีนป้องกัน โควิด-19 ได้
เมื่อถามว่าในขณะนี้จะมีการชะลอการให้ประชาชนรับวัคซีน ชนิด mRNA ไปก่อนหรือไม่ นายแพทย์ชลน่านกล่าวว่า ยังไม่มีข้อมูลหรือการประการใด ๆ จากองค์การอนามัยโลกในเรื่องนี้ ดังนั้นจึงยังคงย้ำแนวปฏิบัติเดิมสำหรับกลุ่มเสี่ยงเปราะบาง 608 ยังควรรับวัคซีนเข็มกระตุ้นประจำทุกปี
แท็กที่เกี่ยวข้อง