สังคม

ย้ายรูปปั้นครูกายแก้วออกจากพื้นที่แล้ว ผู้เช่าพื้นที่แสดงจุดยืนคัดค้านการย้ายครูกายแก้ว ให้เหตุผลเช่าพื้นที่มาอย่างถูกต้อง

โดย jeeraphat_d

28 ธ.ค. 2566

196 views

เมื่อเวลา 08.00 น.ผู้บริหารโรงแรม เดอะบาร์ซาร์แบงค็อก ทำพิธีสงฆ์โดยนิมนต์พระสงฆ์ 5 รูป จากวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร ได้ทำพิธีสวดถอดถอนวิญญาณ รูปปั้นรวมทั้งหมด 8 รูปปั้น ประกอบด้วย รูปปั้นครูกายแก้ว  รูปปั้นจิ้งจอก9หาง พระพรหม พระแม่อุมาเทวี  ขุนแผน เทพเห้งเจีย เทพนาจา และเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย


ระหว่างการเคลื่อนย้าย เกิดความวุ่นวายขึ้นเล็กน้อย เมื่อนายเทพฤทธิ์ กรรมการบริษัท ครูกายแก้วจำกัด ผู้เช่าพื้นที่ติดตั้งครูกายแก้ว แสดงจุดยืนคัดค้านการย้ายรูปปั้นครูกายแก้ว โดยให้เหตุผลว่าครอบครองพื้นที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะมีสัญญาเช่าพื้นที่อย่างถูกต้อง พร้อมนำหนังสือเข้าแจ้งความมาแสดงกับสื่อมวลชน


ด้านฝ่ายกฎหมายของโรงแรม เดอะบาร์ซาร์แบงค็อก ยืนยันว่า ทางโรงแรม เดอะบาร์ซาร์แบงค็อก มีอำนาจในการรื้อถอนครูกายแก้วออกจากพื้นที่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเป็นผู้มีอำนาจโดยตรง และดำเนินการคำสั่งกับการรถไฟ


ส่วนกรณีที่บริษัท ครูกายแก้ว จำกัด คัดค้านการรื้อรูปปั้นนั้น ไม่เป็นผลแต่อย่างใด เพราะบริษัท ครูกายแก้วจำกัด ได้ไปเช่าพื้นที่กับบริษัทที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย หากได้รับความเสียหายก็ขอให้ไปฟ้องร้องกับบริษัทผู้ให้เช่าพื้นที่เอง เพราะถือว่าเป็นการให้เช่าพื้นที่ โดยที่ตนเองไม่มีอำนาจ


จากนั้นเวลาประมาณ 10 นาฬิกา ทางโรงแรม เดอะบาร์ซาร์แบงค็อก จึงได้นำรถเครนมายกรูปปั้นครูกายแก้ว ออกจากพื้นที่ ต่อมาเวลาประมาณ 10.30 น. นายไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการ และเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของ บริษัท สวนลุมไนท์บาร์ซาร์ รัชดาภิเษก จำกัด พร้อมทนายความได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวกับสื่อมวลชน ถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยระบุว่า บริษัท ครูกายแก้ว จำกัด ได้ทำสัญญากับผู้ทำแผนเดิม ซึ่งเป็นการทำแผนที่ไม่ถูกต้อง และไม่สุจริต ดังนั้นตนเองในฐานะเจ้าของพื้นที่ยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับการนำครูกายแก้วและรูปปั้นอื่นๆมาตัังในพื้นที่


เรื่องราวทั้งหมดเกิดจาก เมื่อ 20 มกราคม 2565 ศาลล้มละลายกลาง ได้สั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท สวนลุมไนท์บาร์ซาร์ รัชดาภิเษก จำกัด กรรมการบริษัทไม่มีอำนาจในการจัดการ อำนาจจึงไปตกของผู้ทำแผนเพียงผู้เดียว โดยมีนายชาญเป็นผู้ทำแผน ปรากฎว่าระหว่างทำแผนฟื้นฟู มีการเอารูปปั้นครูกายแก้ว เข้ามาตั้งในพื้นที่ของโรงแรม


กรรมการของบริษัทฯไม่เห็นด้วย และไม่มีส่วนรู้เห็น ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว จึงได้ยื่นร้องต่อศาลล้มละลาย ว่าผู้ทำแผนไม่มีอำนาจนำที่ดินของโรงแรมให้บุคคลอื่นเช่า การนำที่ดินไปให้คนอื่นเช่า เป็นการผิดสัญญาที่บริษัททำไว้กับการรถไฟฯ เนื่องจากสัญยาเช่าไม่สามารถนำที่ดินที่เช่าการรถไฟให้ผู้อื่นเช่าต่อได้ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำรูปปั้นดังกล่าว เพราะบริษัทที่ทำสัญยากับการรถไฟฯ คือ บริษัทแบงค์ค็อก ไนซ์บาซาร์ เพราะตอนนั้นยังไม่มีบริษัท สวนลุมไนท์บาร์ซาร์ รัชดาภิเษก จำกัด


ต่อมา วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ได้มีคำสั่งยกเลิกให้ฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ มีผลให้ผู้ทำแผนหใดอำนาจและหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินบริษัทฯทีนที โดยอำนาจกลับมาเป็นของผู้บริหารชุดเดิมของบริษัทฯในทันที

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ