ต่างประเทศ

เผยพนักงานในเอเชีย 4 ใน 5 คน เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต เครียดรอบด้าน ไม่มีเงินออม ลดทอนประสิทธิภาพการทำงาน

โดย nattachat_c

21 ก.ย. 2566

164 views

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานอ้างรายงานของบริษัทโบรกเกอร์ด้านประกันภัย 'เอออน' และ 'เทลัส เฮลธ์' ระบุว่า 35% ของพนักงานในเอเชียมีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตสูง และ 47% มีความเสี่ยงปานกลาง


โดยเป็นการการสำรวจ ซึ่งดำเนินการในเดือนพฤศจิกายน 2565 ในกลุ่มพนักงาน 13,000 คน ใน 12 ตำแหน่งงาน ในเอเชีย


เจมี แมคเลนแนน รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเทลัส เฮลธ์ กล่าวว่า "แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด 19 จะสิ้นสุดลงในปี 2565 แต่พนักงานทั่วเอเชียต้องเผชิญกับความเครียดใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ความท้าทายด้านค่าครองชีพ ค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และความไม่มั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์"


โดย เกาหลีใต้ มาเลเซีย และญี่ปุ่น มีเปอร์เซ็นต์พนักงานที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดตามลำดับ ที่ 44% 42% และ 41% ตามลำดับ


โดย ปัญหาทางจิต หรืออารมณ์ รวมถึงภาวะซึมเศร้า และวิตกกังวล เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในหมู่พนักงานทุกระดับ และในทุกอุตสาหกรรม


แรงงานในเอเชียยังมีความเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการทำงานต่ำ วิตกกังวล และ ซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญ มากกว่าเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ของโลก  


โดยเอเชียมีคะแนนประสิทธิภาพการทำงานอยู่ที่ 47.2 จาก 100 คะแนน เทียบกับ 66.7 สำหรับสหรัฐฯ และ 60.1 สำหรับยุโรป


นอกจากนี้แล้ว ความไม่มั่นคงทางการเงิน ยังเกิดควบคู่ไปกับความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตในระดับสูง ซึ่งพนักงานกำลังดิ้นรนกับต้นทุนที่สูงขึ้น และข้อจำกัดเรื่องการใช้เงิน


โดยจากการสำรวจ พนักงานในเอเชียมีความเสี่ยงทางการเงินสูงกว่าพนักงานทั่วโลก ประมาณ 1 ใน 3 ไม่มีเงินออมฉุกเฉิน ซึ่งความเป็นอยู่ทางการเงิน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างมาก


รายงานระบุว่า ผู้ที่ไม่มีเงินออมฉุกเฉินมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาในการมีสมาธิในการทำงานมากกว่าพนักงานที่มีเงินออมฉุกเฉิน ถึง 60%


โดยประเทศซึ่งมีสัดส่วนของพนักงานที่ไม่มีเงินออมฉุกเฉินมากที่สุด ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และจีน ที่ 48% 42% และ 39% ตามลำดับ

----------

แท็กที่เกี่ยวข้อง  ปัญหาสุขภาพจิต

คุณอาจสนใจ