เลือกตั้งและการเมือง

"พิธา" หารือ 3 สมาคมองค์กรท้องถิ่น ยืนยัน มุ่งกระจายความเจริญ ก่อนกระจายอำนาจ

โดย paranee_s

1 มิ.ย. 2566

1K views

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล ได้หารือนอกรอบกับ 3 นายกสมาคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง อบจ. อบต. เทศบาล


ซึ่งทางสมาคมยอมรับว่ามีความกังวล กับกระแสข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้ว่าจะยกเลิกและขอขอบคุณพรรคก้าวไกล ที่เล็งเห็นความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ขณะนี้มีหลายข่าวคราว แต่เมื่อเสียงส่วนใหญ่เลือกพรรคก้าวไกลมาเป็นตัวแทน ซึ่งพรรคก้าวไกลก็มีนโยบาย ที่จะมารับฟังความคิดเห็น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นับเป็นสิ่งที่ดีซึ่งต้องยอมรับว่า หากเปรียบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นพีระมิด เราเปรียบเสมือนเป็นฐาน เพราะจะรับรู้ปัญหาต่างๆ และบริบทต่างๆ ของแต่ละองค์กร ย่อมแตกต่างกันไป


โดยนายพิธา ยืนยันว่า เป้าหมายสำคัญที่สุดคือการกระจายความเจริญ ดังนั้นการกระจายอำนาจคือกระบวนการไปสู่การพัฒนาความเจริญ ประเทศเราเมื่อรวมศูนย์ ก็จะมีแต่กรุงเทพ


อย่างแรก คือการกระจายความเจริญ และที่ตามมาคือการกระจายอำนาจและบุคลากร พร้อมยืนยันไม่ได้ทำสิ่งที่สุดโต่ง ต้องมีระยะเวลาและแผนแม่บท อีกทั้งต้องเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม


ทั้งนี้ ในที่ประชุม นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ได้แสดงความยินดีกับพรรคก้าวไกล ที่ได้รับการเลือกตั้งคะแนนเสียงมาเป็นอันดับหนึ่ง


ขณะที่นายพิธา ได้ขอขอบคุณ ที่ได้ร่วมประชุมกันในวันนี้ และขอบคุณในช่วงที่ผ่านมา ในการร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปลดล็อกท้องถิ่น ซื้องวดนี้จะมารับฟังอุปสรรค และมองเป้าหมายการทำงานร่วมกันในช่วง 100 วันแรก ที่จะเป็นควิกวิน ในการบริหารราชการร่วมกัน จากนั้นในช่วงหนึ่งปีแรกของรัฐบาล เราจะกระจายความเจริญ ก่อนที่จะกระจายอำนาจ จากนั้น ในวาระสี่ปีตั้งเป้าว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็ว ซึ่งต้องได้สร้างความร่วมมือกันของท้องถิ่น


ทั้งนี้ วาระการประชุมเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะแนวทางด้านการกระจายอำนาจ หลักๆ จะพูดคุยกันในเรื่อง การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อส่งเสริมกระบวนการปกครองส่วนท้องถิ่น และการกระจายอำนาจให้มีความอิสระ และกำกับดูแลเท่าที่จำเป็น รวมถึงการกำหนดแหล่งรายได้ใหม่ ๆ ให้กับท้องถิ่น และการจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปในความเหมาะสม


รวมถึงประเด็นของวาระผู้บริหารท้องถิ่น ที่มองว่าไม่ควรกำหนดวาระให้อยู่ดำรงตำแหน่ง คราวละ 4 ปี และติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ เพราะมองว่าควรให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน เนื่องจากผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ดังนั้นหากยังสามารถทำหน้าที่ และมีผลงาน ก็ควรให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ