สังคม

นพ.นิธิพัฒน์ แพทย์ รพ.ศิริราช เผย ค่าฝุ่นสูงทำคนไข้กลุ่มโรคปอดโรคหัวใจอาการกำเริบ

โดย onjira_n

9 มี.ค. 2566

175 views

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุร ศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ตั้งแต่ช่วงต้นปีมามีผู้ป่วยที่เข้ามารับการตรวจรักษาโรคระบบหายใจ เฉลี่ยวันละ 40-50 ราย ซึ่งทุกรายมี ปัญหาสุขภาพที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่น โดยครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วย ซึ่งมีโรคประจำตัวเดิม เช่น โรคปอด/โรคหัวใจ/โรคสมอง/โรคถุงลมโป่งพอง เข้ามาตรวจรักษาเนื่องจากอาการโรคกำเริบ มีทั้งหอบเหนื่อย ไอเป็นเลือก

อีกครึ่งเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีอาการป่วยเช่น ระคายเคืองตา/อาการแสบคอ /มีเสมหะ อาการคล้ายหวัด / หรือผื่นผิวหนัง



รศ.นพ.นิธิพัฒน์ กลุ่มที่จะต้องกังวลหากได้รับผลกระทบจากฝุ่นพีเอ็ม 2.5 คือกลุ่มผู้มีโรคประจำตัวและเด็กเล็ก เนื่องจาก ในกลุ่มผู้มีโรคประจำตัวฝุ่นมันเป็นปัจจัยที่ไปกระตุ้นให้อาการโรคกำเริบและมีอาการรุนแรง ในกลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งร่างกายยังเจริญเติบโตเต็มที่ มีอัตราการหายใจที่เร็วกว่าผู้ใหญ่ กลไกการป้องกันคนเองยังต่ำ จึงมีโอกาสที่จะได้รับฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย อาจมีอาการป่วยระบบทางเดินหายใจ ในระยะยาว 10 ปี จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของปอดที่อาจทำงานได้ไม่เต็ม 100 เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ อาจทำให้เกิดการเหนื่อยง่ายร่างกายอ่อนแอกว่าที่ควรจะเป็น



ส่วนข้อกังวลด้านสุขภาพในระยะยาวสำหรับประชาชนทั่วไป โดยในขณะนี้ประเทศไทยในกลุ่มนักวิชาการหลายมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล สถานการณ์ฝุ่นกับผลกระทบสุขภาพมาได้กว่า 5 ปีแล้ว เบื้องต้นพบว่า ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด ซึ่งยังต้องมีการศึกษาเก็บข้อมูลอีกระยะหนึ่ง เพื่อความชัดเจน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์ของฝุ่นส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและสถานการณ์ของฝุ่นในปัจจุบันมี ระยะเวลานานเฉลี่ย 4-6 เดือน ต่อปี ขณะที่ ฝุ่นสะสมก็มีค่าสูงเกินมาตรฐาน ปริมาณที่เกิดปัญหามากขึ้น



ด้านข้อเสนอสำหรับภาคประชาชนแนะนำให้ ตรวจเช็คค่าฝุ่นก่อนการออกจากบ้านหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งและจัดหาเครื่องกรองฝุ่นมาติดประจำบ้าน หากมีความจำเป็นในกลุ่มผู้ที่ต้องทำงานในที่โล่งเช่นตำรวจจราจรผู้ขับขี่รถสาธารณะ ควรตรวจสอบค่าฝุ่นและสวมอุปกรณ์ป้องกัน และมีเวลาพักเพื่อหลบเข้าในอาคาร

ด้านมาตรการของหน่วยงานรัฐในแต่ละพื้นที่เสนอให้มีห้องปลอดฝุ่น ชุมชนเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเช่นผู้มีโรคประจำตัวผู้สูงอายุและเด็กเล็กใช้เป็นที่หลบในช่วงที่สถานการณ์ฝุ่น มีค่าสูง เนื่องจาก การจัดหาเครื่องกรองฝุ่นเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับครัวเรือน ใน ลักษณะรัฐสวัสดิการควบคู่ไปกับมาตรการด้านการควบคุมและลดต้นต่อการเกิดฝุ่นที่ต้นเหตุ



คุณอาจสนใจ