สังคม

หมอโรคสมองแนะ อาการสะอึกอาจแฝงโรคร้าย สังเกตอาการภายใน 24 ชม.ให้ดี

โดย taweelap_b

14 ธ.ค. 2565

1.7K views

ใครสะอึกบ่อยๆสังเกตอาการให้ดี  อาจแฝงโรคร้าย เจอแล้วคนไข้ป่วย 10 คนต่อปี หมอโรคสมองแนะ ควรสังเกตอาการสะอึกของตัวเองภายใน 24 ชม.


หลังจากที่ (12 ธ.ค. 65) ที่ผ่านมา ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคประสาทและสมอง ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก สาระสมองกับ อจ. หมอสุรัตน์  ที่ได้เขียนถึงประเด็นอย่ามองข้ามเรื่อง "การสะอึก" ที่ดูเป็นเรื่องเล็กน้อย ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นไม่นาน สามารถรักษาอาการด้วยวิธีการหายใจในถุง กินข้าวกินน้ำก็หาย ซึ่งจะเป็นการทำให้กระบังลมกลับมาทำงานสัมพันธ์กับการหายใจปกติ แล้วหายสะอึกไป รวมถึงร่างกายกลไกรักษาอาการสะอึกให้หายเองได้ แต่หากเกิดอาการสะอึกลากยาวนาน รักษาอาการด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วไม่หาย ก็อาจจะเป็นสัญญาณของโรคร้าย


วันนี้ ทีมข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ออนไลน์ ได้ติดต่อสอบถามไปยังอาจารย์หมอสุรัตน์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการสะอึกก่อนจะเป็นโรคร้าย เป็น 2 กรณี ดังนี้


กรณีแรก คือ สะอึกไม่หายแบบต่อเนื่องลากยาว เกิน 24 ชม. แม้รักษาด้วยอาการต่าง ๆ เช่น หายใจในถุง ฉีดยาที่โรงบาลแล้วก็ยังไม่หาย อาจจะบ่งชี้ถึงโรคที่มีความรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจโรคเพิ่มเติม



กรณีที่สอง การสะอึกซ้ำแล้วเล่า ถึงแม้จะอาการหายสะอึกจะหายได้เองภายใน 24 ชม. แต่มีอาการสะอึกบ่อย เช่น มีอาการสะอึก 2-4 ต่อสัปดาห์ เนื่องจากร่างกายมีกลไกในการรักษาให้อาการหายสะอึกเลย แต่มันเกิดขึ้นซ้ำ ๆ  ซึ่งมันจะมีตัวกระตุ้นมาจากโรคร้าย หากไปพบแพทย์ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบถึงอาการสะอึกดังกล่าว

โรคร้ายที่ส่งผลให้มีอาการสะอีกจะมีอยู่ 4 โรคด้วยกัน คือ

1. โรคเกี่ยวกับปอด ซึ่งเกิดจากการระคายเคืองแถวกระบังลม หรือ ไปกดเส้นประสาทที่ควบคุมเกี่ยวกับกระบังลมทำให้ไม่หายสะอึกได้ เช่น โรคมะเร็งปอด
2. โรคเกี่ยวกับตับ เช่น โรคตับอักเสบ เป็นฝีในตับ ที่มันรบกวนกระบังลม ทำให้สะอึกไม่หายสักที 3. โรคเกลือแร่ผิดปกติ เช่น กลุ่มเกลือแร่ โซเดียมผิดปกติ จะทำให้ไม่หายสะอึกสักทีได้ ต้องแก้ไขด้วยการเติมเกลือแร่
4. โรคเนื้องอกสมอง หรือ สมองอักเสบ เพราะมันไปโดนศูนย์สะอึก ก็จะทำให้อาการสะอึกไม่หายสักที ฉะนั้นสะอึกไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แต่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่รุนแรงได้

จากการรักษาคนไข้ที่ผ่านมาของอาจารย์สุรัตน์ เจอกรณีที่มาด้วยอาการสะอึกแฝงโรคร้าย ประมาณ 10 คนต่อปี หรือมากกว่านั้น ที่มาด้วยการสะอึกจนส่งตรวจเพิ่มเติมแล้วเป็นโรคร้าย เช่น โรคทางสมอง เกลือแร่ผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัดส่วนในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ก็จะพบจะพบได้จำนวนผู้ป่วยที่มาด้วยอาการสึกแต่แฝงด้วยโรคร้ายมากกว่านี้แน่นอน

คุณอาจสนใจ