สังคม

พนักงานประท้วง! โรงงานปลดฟ้าแลบ 5 แกนนำ หลังเข้าร่วมสหภาพแรงงาน ชี้เป็นการบีบให้ออก

โดย paweena_c

29 พ.ย. 2565

1.4K views

พนักงานโรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 304 ได้มีการรวมตัวเพื่อจัดตั้งสหภาพแรงงาน โดยมีการยื่นชื่อสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิคสหภาพภาพแล้วจำนวน 200 กว่าคน จากนั้นทางเจ้าของโรงงานทราบเรื่องจึงได้เรียกหัวหน้าแกนนำสหภาพเข้าพบจำนวน 5 รายก่อนสั่งปลดฟ้าแลบ


สืบเนื่องจากพนักงานโรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 304 ได้มีการรวมตัวเพื่อจัดตั้งสหภาพแรงงาน โดยมีการยื่นชื่อสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิคสหภาพภาพแล้วจำนวน 200 กว่าคน จากนั้นทางเจ้าของโรงงานทราบเรื่องจึงได้เรียกหัวหน้าแกนนำสหภาพเข้าพบจำนวน 5 รายก่อนสั่งปลดฟ้าแลบ จึงสร้างความไม่พอใจให้กับหนุ่มสาวโรงงานและสมาชิกสหภาพ จึงได้รวมตัวชุมนุมเพื่อแถลงการณ์


เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 พันตำรวจเอกวิวัฒน์ พิสิฐศักดิ์ ผู้กำกับ สภ.ศรีมหาโพธิ ได้รับยื่นเอกสารร้องขอ ว่าจะมีการชุมนุมแถลงการณ์ของกลุ่มสหภาพแรงงาน จากนั้นถึงได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ใช้รถใช้ถนน


เนื่องจากกลุ่มสหภาพแรงงานได้จัดการชุมนุมบริเวณริมถนน 3079 ซึ่งเป็นถนนที่ผู้คนใช้สัญจรไปมาอย่างคับคั่งบริเวณด้านหน้าของนิคมอุตสาหกรรม 304 จากนั้นได้มีกลุ่มหัวหน้าสหภาพแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี ได้นำรถกระบะที่ติดเครื่องเสียงมากล่าวถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องโดยมีหนุ่มสาวโรงงานแห่งหนึ่งที่ปฏิบัติงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 304 ซึ่งใส่ชุดสีขาวเข้ามาร่วมชุมนุมพร้อมถือป้ายประท้วงที่เขียนถึง สาเหตุที่ปะมาประท้วงในครั้งนี้



จากนั้นได้สอบถามนายประสิทธิ์ ประสพสุข อายุ 44 ปี หัวหน้าผู้จัดการชุมนุม ได้กล่าวว่า สาเหตุที่ทางตนและกลุ่มผู้ชุมนุมได้มาจัดการชุมนุมบริเวณหน้านิคม 304 จังหวัดปราจีนบุรี ได้มีคนงานของบริษัทแห่งหนึ่งที่ทำงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 304 ได้ไปสมัคร เข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ซึ่งตนก็เป็นกรรมการของสหภาพแรงงาน


โดยได้รับสมาชิกที่ปฏิบัติหน้าที่ในนิคมอุตสาหกรรม 304 เข้ามาเป็นสมาชิกจำนวน 200 กว่าราย เพื่อที่จะได้มีการยื่นข้อเรียกร้อง เจรจาตามข้อกฎหมาย พรบ. สัมพันธ์ 18 แต่เนื่องด้วยทางโรงงานทราบเรื่องว่ายังมีการก่อตั้งสภาพแรงงานจึงได้มีการสืบหาคนที่เป็นแกนนำ พอทางโรงงานทราบตัวก็หาเหตุเลิกจ้าง โดยอ้างว่าเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ จำเป็นต้องลดคนงาน


แต่ทางสหภาพสืบทราบมาว่าจำนวนคนที่ถูกเลิกจ้างนั้นมีจำนวน 5 รายเป็นแกนนำสหภาพ ซึ่งหากโรงงานจะเลิกจ้างพนักงานทำไมต้องเจาะจงกับพนักงาน 5 รายนี้จึงเป็นข้อสงสัยให้กลุ่มสหภาพ โดยหลังจากที่ประกาศปลดจากสาเหตุที่กล่าวมานั้นทางโรงงาน ยังได้ประกาศ รับสมัครพนักงาน จำนวนมาก ตามเพจต่าง ๆ ซึ่งมันทำให้เกิดความย้องแย้งเกี่ยวกับการปลดพนักงานในครั้งนี้


โดยทางโรงงานที่ เกิดปัญหากับเรื่องที่เกิดขึ้นได้มีเอกสารชี้แจงโดยเขียนว่า เรื่อง ปัญหาแรงงาน

เรียนผู้ที่เกี่ยวข้อง บริษัท วาย-เทค จำกัดได้ดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2540 ถึงปัจจุบันบริษัทได้ปรับโครงสร้างลดพนักงานบางส่วน สืบเนื่องมาจากผลกระทบโรคโควิด 19 ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจตามมา บริษัทจึงจำเป็นต้องลดกำลังคน ปรับขนาดขององค์กรให้เหมาะสม และลดต้นทุนการผลิตทำให้เกิดปัญหาแรงงานมีการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะนั้น


บริษัทขอยืนยันว่าการลบจำนวนพนักงานลงดังกล่าวบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายโดยเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 บริษัทได้ชี้แจงการลดคนให้กับท่านหัวหน้าสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปราจีนบุรีที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปราจีนบุรีทราบแล้ว


นายเทพเทวิน ลือชา ลีดเดอร์ ที่โดนเลิกจ้างได้กล่าว่า เบื้องต้นหลังจากที่โรงงานทราบเรื่องว่าทางตนและแกนนำอีก 4 รายจะตั้งสหภาพแรงงานได้เรียกตนขึ้นไปเซ็นเอกสารโดยมีการยื่น Choice ให้เลือก 2 Choice 1 คือให้ตนเซ็นเอกสารใบลาออกแต่ตนไม่ยินยอมที่จะเซ็น โดยทางโรงงานอ้างว่าตนมีความประสงค์ที่ต้องการจะใช้เงิน แต่ตนได้แย้งไปแล้วว่าตนยังอยู่ดีไม่ร้อนเงิน และไม่ต้องการที่จะใช้เงิน


แต่ทางบริษัทก็ยังมีการยืดข้อเสนอมาเพื่อที่จะให้ตนเซ็นรับ โดยมีการนำทนายแจ้งกับตนว่าทางบริษัทไม่มีความประสงค์และไม่พิศวาสในตัวของตนในเรื่องที่จะจ้างให้ทำงานต่อ โดยมีการทำทุกวิถีทางที่จะให้ตนและกลุ่มแกนนำพ้นสภาพลูกจ้าง


ซึ่งสมาชิกที่อยู่ในกลุ่มของตนก็ได้ถูกทางโรงงานนำตัวขึ้นไปทำงานในออฟฟิศคล้ายกับขังไว้เพื่อที่จะไม่ให้ทำการสื่อสารหรือชักชวนกับพนักงานที่ทำงานในบริษัท โดยทางบริษัทที่เลิกจ้างตนนั้นแจ้งว่าเป็นการปรับโครงสร้าง และลดต้นทุนของบริษัท แต่จริง ๆ แล้วทาง โรงงาน ที่เลิกจ้างกลุ่มของตนนั้นสืบเนื่องมาจากทาง ทางโรงงานไม่ต้องการที่จะให้พนักงานในโรงงานเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน


นายเนฑิษฐ์ ประเสริฐวงศ์ หัวหน้าสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปราจีนบุรีได้เดินทางมาถึง ที่จัดการชุมนุม จากนั้นทางหัวหน้าสหภาพแรงงานได้แนะนำเอกสารยื่นให้ เพื่อให้ทางสวัสดิการและคุ้มครองงานจังหวัดปราจีนบุรีทำการตรวจสอบ โดยทางสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปราจีนบุรีจะได้นำเอกสารและได้เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องในการเกิดเหตุการณ์ในครั้งนี้เข้ามาสัมภาษณ์และสอบถามเพื่อสรุปหาสาเหตุที่เกิดขึ้นเพื่อทำการแก้ไขต่อไป



คุณอาจสนใจ