สังคม

'นพ.โอภาส' ย้ำ 'โอมิครอน' ไม่รุนแรง อาจกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ ถ้าฉีดวัคซีนครบ

โดย thichaphat_d

12 ม.ค. 2565

129 views

วานนี้ (11 ม.ค. 65) อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ได้แถลงว่า


เปอร์เซ็นต์เสียชีวิตจากโอมิครอน เปอร์เซ็นต์มันใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่ โดยมีอัตรา 1 ใน 1,000 ราย ถ้าโอมิครอนเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ เราฉีดวัคซีนกันเยอะๆ อีกไม่นานก็จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น 


จากนี้ สบค. จะเริ่มนับยอดใหม่ เรียกว่า การระลอกเดือนมกราคม เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม สาเหตุที่นับใหม่คือ มันจะเป็นทิศทางเข้าสู่โรคประจำถิ่น 


โดยการนับระลอกมี ดังนี้

1. ต้นปี 2563

2. ต้นปี 2564

3. เม.ย. 2564

4. ม.ค. 2565


พร้อมทั้งบอกอีกว่า การนับจำนวนไม่ควรจะโฟกัสไปที่ผู้ติดเชื้อ แต่ต้องโฟกัสไปยังคนที่มีอาการหนัก และยอดผู้เสียชีวิต สิ่งสำคัญสุดคือความเข้าใจของประชาชน หากยังตื่นตระหนก ตื่นกลัว ก็จะเข้าสู่โรคประจำถิ่นไม่ได้


ชื่อว่าคนเข้าใจธรรมชาติของโรคดีขึ้นมา เข้าใจว่าจะป้องกันอย่างไร เช่น ขณะนี้ตัวเลขผู้ที่กำลังรักษาอยู่ 58,159 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 492 ราย ซึ่งคิดเป็น 8 ในพันราย ถือว่าต่ำมาก


ขณะที่ ผู้ใส่ท่อช่วยหายใจ 110 ราย คิดเป็น 2 ในพันราย โดยอัตราเสียชีวิตก็จะน้อยกว่า 1% ฉะนั้น ก็จะพอๆ กับไข้หวัดใหญ่ ที่เสียชีวิต 1 ในพันราย ดังนั้น ตัวเลขใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่มากแล้ว


ดังนั้น หากโอมิครอนเป็นเช่นนี้เรื่อยๆ ฉีดวัคซีนเยอะๆ อีกไม่นานเราจะเข้าสู่โรคประจำถิ่นได้ แต่เราต้องทำความเข้าใจเพื่อให้คนไม่กลัว ต้องเชื่อได้ว่าเรารักษาจากที่บ้านได้ เพื่อให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้


เมื่อถามว่า ผู้ที่ปฏิบัติตามมาตรการ Covid Free Setting ด้วยการตรวจ ATK เป็นประจำ แล้วพบว่าติดเชื้อ โดยไม่มีอาการอะไร และเข้าระบบรักษาที่บ้าน (HI) ยังจำเป็นต้องประกาศตัวเอง เพื่อบอกไทม์ไลน์ หรือไม่


นพ.โอภาสกล่าวว่า หากจะเข้าสู่โรคประจำถิ่นก็ไม่จำเป็น แต่ต้องระวังไม่ให้แพร่เชื้อให้คนอื่น แต่เข้าใจว่าหลายคนยังกังวลว่าจะติดเชื้อให้คนอื่น


“ไม่ต้องตื่นตระหนกเหมือนเมื่อก่อน เพราะเราเชื่อว่า โรคไม่รุนแรง ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ มันก็จะเข้าสู่โรคประจำถิ่นได้เร็วๆ นี้ ซึ่งจะประกอบ 3 ส่วนคือ 1.โรคอ่อนฤทธิ์ลง 2.คนได้รับวัคซีน และ 3.สิ่งแวดล้อม คือระบบการรักษาด้วย ซึ่งเช่นคนเป็นหวัดก็ไม่ต้องเข้านอน รพ.


ดังนั้น การสื่อสารทำความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญ หากเรายังกลัวว่าโควิดเป็นโรครุนแรงมาก ก็จะไปข้างหน้ายาก อย่างบางประเทศบุคลากรสาธารณสุขติดเชื้อยังไม่หายดี ก็สวมหน้ากาก N95 ไปทำงานแล้ว แต่เรายังไม่ถึงขนาดนั้น แต่สิ่งที่เน้นย้ำคือ การทำความเข้าใจกับประชาชน ให้ไม่กลัว เป็นเรื่องสำคัญที่สุด”


ขอเน้นย้ำให้ผู้ที่มีอาการสงสัยว่าติดเชื้อโควิด -19 ให้รีบตรวจ ATK เพราะปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อที่สำคัญมาจากการสัมผัสกันภายในครอบครัว หรือการกินอาหารร่วมกัน ทั้งในบ้านและที่ทำงาน ซึ่งผู้ติดเชื้ออาจได้รับเชื้อมาจากสถานที่ระบาดและแพร่กระจายเชื้อสู่คนใกล้ตัว จึงต้องระมัดระวังและปฏิบัติตามมาตรการดูแลตนเองขั้นสูงสุด สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่างและไม่ไปสถานที่เสี่ยง มาตรการ Covid Free Setting ยังเป็นเรื่องที่ต้องเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเกิดคลัสเตอร์ใหม่ โดยเฉพาะร้านอาหาร


ส่วนสถานประกอบการควรจัดให้ Work From Home และตรวจ ATK เป็นประจำทุกสัปดาห์ สำหรับโรงงานหากพบผู้ติดเชื้อให้ทำ Bubble & Seal แยกผู้ติดเชื้อออก แต่ไม่ต้องหยุดทำงาน เพราะการปิดสถานประกอบการจะทำให้คนเคลื่อนย้าย อาจแพร่กระจายเชื้อออกไปได้ อีกทั้งขอความร่วมมือประชาชนและผู้ประกอบการติดต่อให้เข้ารับวัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ซึ่งกรมควบคุมโรคจะสนับสนุนการจัดส่งวัคซีนให้ทุกจังหวัดอย่างเพียงพอ หากทุกคนร่วมกันปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด เชื่อว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ภายใน 1-2 สัปดาห์



รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/qH_ybYwwvAw

คุณอาจสนใจ

Related News