สังคม

ศาล รธน. วินิจฉัยประกาศ คสช. เรียก “วรเจตน์” รายงานตัว เหตุขัดรัฐธรรมนูญ

โดย thichaphat_d

27 เม.ย. 2564

100 views

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ประกาศ คสช. กำหนดโทษคนไม่รายงานตัวขัดรัฐธรรมนูญ หลังจากนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชากร ยื่นแย้งต่อศาลแขวงดุสิต เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ขณะที่้ศาลแขวงดุสิตนัดฟังคำพิพากษาต้นเดือนมิถุนายนนี้ ขณะทนายความระบุว่าผู้ที่หลบหนีคำสั่งคสช. แต่ไม่มีโทษความผิดอื่น สามารถกลับประเทศได้


เมื่อวานนี้(27 เม.ย) ศาลแขวงดุสิต อ่านคำวินิจฉัยของศาล รัฐธรรมนูญ ในคดีที่พนักงานอัยการคดีศาลแขวง หรือ แขวงดุสิต เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกฎหมายมหาชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นจำเลย ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กรณีเรียกชื่อให้ไปรายงานตัว และประกาศที่กำหนดโทษคนไม่ไปรายงาน หลังการรัฐบาลเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557


คดีนี้ถูกโอนจากศาลทหารไปศาลแขวงดุสิต และจำเลยยื่นคำร้องขอศาลแขวงดุสิต ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เกี่ยวกับประกาศดังกล่าวที่ใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่


คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ศาลแขวงดุสิตอ่านสรุปได้ว่า บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ มาตรา 279 บัญญัติ รับรองสถานะประกาศและคำสั่งของ คสช. ให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ และประกาศ คสช. ทั้งสองฉบับ มีผลเป็นกฎหมายต่อไปแม้ คสช. จะสิ้นสภาพไปแล้ว และรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (1) บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย


ซึ่งรวมถึงประกาศ คสช. ทั้งสองฉบับด้วย ซึ่งขณะประกาศใช้กฎหมายทั้งสองฉบับ เป็นช่วงที่ คสช. ยึดอำนาจปกครองแผ่นดินสำเร็จ ต้องการให้ประชาชนอยู่ในความสงบ จึงจำเป็นต้องจำกัดสิทธิเสรีภาพบางประการ อย่างไรก็ดี สถานการณ์เป็นปกติ การ การใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างไปจากสถานการณ์ดังกล่าว โดบเฉพาะหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.25602 ที่รับรองสิทธิเสรีภาพบุคคลไว้


ส่วนประกาศ คสช. ทั้งสองฉบับ เป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล การกำหนดโทษทางอาญาจึงต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม เมื่อเทียบเคียงกับการนำตัวบุคคลที่ยังมิได้กระทำผิด และเมื่อเทียบเคียงการไม่รายงานตัวฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. กับกรณีบุคคลขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามกฎหมายอื่น การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศ คสช. ยังมิใช่การกระทำอันมีผลร้ายแรง ถึงขนาดต้องกำหนดโทษทางอาญาทั้งจำคุกและปรับ อีกทั้งยังมีมาตรการทางกฎหมายอื่น


ใจความส่วนหนึ่งในคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญยังระบุว่า ประกาศ คสช. ฉบับที่ 29/2557, 41/2557 ไม่เหมาะสมกับลักษณะการกระทำผิด ไม่เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วนพอเหมาะพอควรแก่กรณี จำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และขัดต่อหลักนิติธรรม จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26″


นอกจากนี้ การออกคำสั่งเรียกให้มารายงานตัวก่อนแล้วออกประกาศกำหนดโทษของการกระทำดังกล่าวในภายหลัง เป็นการกำหนดโทษทางอาญาให้มีผลย้อนหลัง ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ภายหลังศาลแขวงดุสิตอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้อัยการโจทก์ จำเลย และทนายความจำเลยฟังแล้ว คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงว่าไม่มีข้อเท็จจริงใด ที่จะแถลงต่อศาลเพิ่มเติม ศาลจึงกำหนดนัดฟังคำพิพากษา ในวันที่ 8 มิถุนายน 2564 เวลา 09.00 น.


นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความของนายวรเจตน์ ระบุว่า คำวินิจฉัยนี้ทำให้บุคคลที่ถูกคำสั่งเรียกรายงานตัวที่ยังไม่มารายงานตัว และเกรงกลัวความผิดจากการขัดคำสั่งเรียกรายงานตัวสามารถกลับเข้ามาประเทศได้ หากไม่มีข้อหาความผิดฐานอื่น

คุณอาจสนใจ

Related News