สังคม

ทุ่นลอยน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ทดแทนพลังงานหมุนเวียนเขื่อนสิรินธร

โดย

26 พ.ย. 2563

2.3K views

ประเทศไทยมีแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือ ที่เรียกว่า PDP 2018 โดยตั้งเป้านำพลังงานหมุนเวียนมาใช้สร้างเป็นระบบการผลิตแบบผสมผสาน หรือ ชนิดไฮบริด ที่สามารถผลิตไฟฟ้าไปพร้อมกันได้ เพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงาน ซึ่งขณะนี้ได้นำร่องการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากทุ่นลอยน้ำแล้วที่เขื่อนสิรินธร ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงกลางปีหน้านี้ 
ทุ่นลอยน้ำพลังงานแสงอาทิตย์นับพันทุ่น เริ่มทยอยติดตั้งภายในเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเตรียมใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำในทันทีที่ระบบพร้อม โดยแผ่นกระจกของทุ่นออกแบบมาในลักษณะเซลล์แสงอาทิตย์ 2 ชั้น ชนิดดับเบิลกลาส มีกระจกทั้งด้านบนและด้านล่าง สามารถทนความชื้นได้ดี ไม่ทิ้งสิ่งปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำ ทำให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น 
ผลิตพลังงานไฟฟ้ามากกว่าแบบกระจกธรรมดาได้ 10-15% ลดการใช้พื้นที่และทรัพยากรบนพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 450 ไร่ หรือ คิดเป็น 1% ของพื้นที่ผิวน้ำทั้งหมด แทนที่ด้วยกำลังผลิตไฟฟ้าจำนวน 45 เมกะวัตต์ 
ขณะที่ระบบการติดตั้งโรงไฟฟ้าทุ่นลอยน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ จะถูกปรับใช้ในแบบพลังงานไฮบริด ระหว่างพลังงานน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์ ลดข้อจำกัดของพลังงานแสงที่มักขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ขณะเดียวกันก็สามารถผลิตไฟฟ้าควบคู่ไปกับพลังงานน้ำ เกิดเป็นพลังงานหมุนเวียนต่อเนื่อง 
จากนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีแผนดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ ร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ หรือ Hydro floating Solar Hybrid รวม 16 โครงการในพื้นที่ 9 เขื่อน ของทาง กฟผ. ซึ่งจะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าได้มากรถึง 2725 เมกะวัตต์ คิดเป้นพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด 30% จากเดิมที่มีเพียง 3% เท่านั้น ตามแผน PDP 2018 ที่จะแล้วเสร็จทุกโครงการภายในปี 2580 โดยมีเขื่อนสิรินธร และเขื่อนอุบลรัตน์เป็นพื้นที่นำร่อง

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ