สังคม

ครอบครัว ร้อง สบส.ตรวจสอบคลินิก หลังลูกสาวทำศัลยกรรมหน้าอกเสียชีวิต

โดย

25 พ.ย. 2563

427 views

ครอบครัวหญิงร้อยเอ็ด ที่เสียชีวิตหลังศัลยกรรมหน้าอก ร้อง สบส.เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงการเสียชีวิต ขณะที่ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  เผย ตรวจคลินิก 4 ครั้ง ปิดปรับปรุง ไร้เงาแพทย์ และอุปกรณ์ช่วยชีวิต
ที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ญาติผู้เสียชีวิต หลังทำการศัลยกรรมหน้าอก ที่คลินิกแห่งหนึ่ง ย่านสนามบินน้ำ  โดยถูกนำตัวส่ง รพ.พระนั่งเกล้า ระหว่างการรับบริการที่คลินิกก่อนจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ทางญาติและแม่ผู้เสียชีวิต ระบุว่า ต้องการมาติดตามความคืบหน้าหลังไม่ได้รับการติดต่อจากแพทย์ที่ทำการผ่าตัดและจากทางคลีนิก 
มารดาผู้เสียชีวิต เชื่อว่า การเสียชีวิตของลูกสาวผิดปกติ เนื่องจาก หลังลูกสาวถูกนำตัวมาส่งยังรพ. พระนั่งเกล้า มีรอยผ่าตัดใต้ร้าวนม ซึ่งขัดแย้งกับคำบอกเล่าของทางคลินิกที่บอกว่า ให้เพียงยาชา ยังไม่มีการผ่าตัด ขณะที่แพทย์จากโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ก็แจ้งทางครอบครัวว่าคนไข้มีอาการช็อคและเสียชีวิตแบบผิดปกติ จึงได้แนะนำให้ส่งร่างไปชันสูตรเพิ่มเติม  สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯศูนย์รังสิต
โดยทั้งเพื่อนและแม่ผู้เสียชีวิตระบุว่า ผู้เสียชีวิต ได้บอกทางครอบครัวจะเดินทางมาทำศัลยกรรมหน้าอก เดินทางมาจากจังหวัดร้อยเอ็ดมายังคลินิกย่านสนามบินน้ำ เป็นครั้งแรก แต่ในการเตรียมหาข้อมูลจากกลุ่มเพื่อนมาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่คิดว่าจะเกิดเหตุอะไร เพราะผู้เสียชีวิตร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ และเคยผ่านการทำศัลยกรรมมาก่อน ทั้งทำจมูกและทำตา 2 ชั้น ก็ปกติ ทางครอบครัวมองว่าสาเหตุการเสียชีวิตน่าจะเกิดจากแพทย์ที่ทำการผ่าตัดเสริมหน้าอก
ทาง ทพ. อาคม  ประดิษฐสุวรรณ  รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  ระบุว่า ในฐานะที่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มีหน้าที่ในการควบคุมดูแล สถานพยาบาลเอกชน  จากกรณีที่ปรากฎเป็นข่าว สบส. ร่วม กับ สาธารณสุขจังหวัด นนทบุรี  ลงพื้นที่เจ้าไปตรวจสอบคลินิกดังกล่าวแล้ว 4 ครั้ง  พบว่า ปิดปรับปรุง 3 ครั้ง โดยเมื่อวานนี้ได้เข้าไปตรวจสอบในคลินิก แต่ ไม่พบแพทย์ผู้ให้บริการ  พบข้อมูลคลินิกดังกล่าวมีการขึ้นทะเบียนขออนุญาติเปิดให้บริการคลินิกเวชกรรม มาตั้งแต่ปี 2556 
แต่การตรวจสอบภายในคลินิก พบความผิด 3 ข้อหา คือ 1.ไม่พบอุปกรณ์การช่วยชีวิตฉุกเฉิน ไม่มียา เวชภัณฑ์ ช่วยฉุกเฉิน ไว้ประจำสถานพยาบาล และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่มีความพร้อมในการผ่าตัด มีโทษจำคุกไม่เกิน1ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำและปรับ  2.มีการดัดแปลงอาคารโดย ไม่ได้รับอนุญาต  ซึ่งถูกดัดแปลงทำเป็นห้องผ่าตัด มีโทษปรับไม่เกิน10,000 บาท    และ 3.มีการโฆษณาเพื่อประโยนช์ทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุมัติ และโฆษณาเป็นเท็จโอ้อวดเกินจริง  มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำและปรับ หากพบว่า ยังมีการฝ่าฝืนโฆษณาปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท
ทั้งนี้ กรม สบส. จะตั้งคณะอนุกรรมการสอบข้อเท็จในเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วย สคบ. แพทยสภา อัยการ ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน  เข้าร่วมสืบข้อเท็จจริง หากพบว่า เป็นความผิดพลาดจากการให้บริการก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายเพิ่มเติม ทั้งหมดต้องรอผลการชั้นสูตรก่อน ซึ่งจะทราบผลภายในสัปดาห์หน้า
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/Km2TR0EwfpM

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ