สังคม

เคลื่อนไหว 11 ปี ไม่เป็นผล! เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชี ร้องรัฐบาลแก้ปัญหาผลกระทบจากเขื่อน

โดย

23 พ.ย. 2563

747 views

เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชี จังหวัดร้อยเอ็ด –ยโสธร เรียกร้องรัฐบาลแก้ปัญหาผลกระทบจากเขื่อนที่มีต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชนตามลำน้ำชี หลังจากเคลื่อนไหวมา 11 ปี แต่ไม่เป็นผล ขณะที่การประชุมครั้งแรก ของคณะอนุกรรมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม จากฝายร้อยเอ็ด มีมติรับรองการจ่ายเงินเยียวยา รวมไร่ละ 7 พันบาท ที่เหลือจากนี้จะส่งให้ต่อให้อนุกรรมการฯ ชุดต่อไป เพื่อพิจารณา 
กลุ่มชาวบ้านในลุ่มน้ำชีที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนร้อยเอ็ด-เขื่อนยโสธร-พนมไพร และเขื่อนธาตุน้อย พยายามเรียกร้องให้ชดเชยเยียวยา ผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอด 11 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่คืบหน้า โดยเฉพาะน้ำท่วมนานผิดปกติ หรือน้ำทว่มจากการผันหรือเปลี่ยนเส้นทางน้ำของเขื่อน ซึ่งเครือข่ายชาวบ้านย้ำว่า หากไม่มีเขื่อน 3 เขื่อนในลุ่มน้ำชี คือเขื่อนร้อยเอ็ด, เขื่อนยโสธร-พนมไพร และเขื่อนธาตุน้อย ผลกระทบจะไม่เกิดหรือเกิดแต่ไม่รุนแรงดังที่เผชิญอยู่
การเข้าประชุมที่กระทรวงเกษตรและสหกรณํเมื่อสัปดาห์ที่ผ่าน จึงนับเป็นครั้งแรก ขอบอนุกรรมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม จากโครงการฝายร้อยเอ็ด-ฝายยโสธร-พนมไพร และโครงการฝายธาตุน้อย นับแต่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณลงนาม เพื่อรังฟังผลการศึกษานักวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยรายงานส่วนหนึ่ง ระบุว่าเมื่อนำภาพถ่ายดาวเทียมมาเทียบย้อนหลัง ประกอบการลงพื้นที่จริง พบว่าพื้นที่ลุ่มน้ำชีดังกล่าวมีทั้งที่ท่วมขังอยู่เดิม และที่ท่วมใหม่ หลังจากสร้างเขื่อนในปี 2543 เป็นต้น ซึ่งจะนำเสนอผลกระทบอย่างละเอียดและข้อเสนอแนวทางแก้ไขในรายงานฉบับเต็ม
ส่วนการชดเชยเยียวยาผลกระทบ ใน 5 ปีแรกระหว่าง 2543-2547 ที่ประชุมฯ รับรองแนวทางเยียวยาค่าเสียหาย ทั้งหมด 901 ครอบครัว ไร่ละ 7000 บาท /ต่อปี เป็นเวลารวม 5 ปี และรับทราบข้อเรียกร้องเพิ่มผลกระทบการดำรงชีวิตระหว่างที่ประสบภัย ครอบครัวละ 3 พันบาทต่อปี 
รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่าข้อสรุปจากอนุกรรมการชุดนี้ จะถูกส่งต่อไปให้อนุกรรมการชุดที่ 4 ที่รับผิดชอบการเยียวยา และหวังว่าการแก้ไขปัญหาผลกระทบนี้จะก้าวหน้า หลังจากยืดเยื้อมา 11 ปี
การเกิดขึ้นของเขื่อนในลำน้ำชีขณะนั้นอยู่ภายใต้การผลักดันโดยโครงการโขงชีมูล ด้านหนึ่งเกิดพื้นที่ชลประทาน พื้นที่ใช้ประโยชน์จากน้ำ และอีกด้านหนึ่งก็มีผลกระทบหลายด้าน ซึ่งเครือข่ายชาวบ้านต้องการให้การศึกษาผลกระทบครั้งนี้ ให้ชัดเจน
ตลอด 11 ปีที่ผ่านมา หลายรัฐบาลพยายามแก้ไขตามข้อเรียกร้องของผู้ได้รับผลกระทบ กระทั่งปี 2558 มีการตั้งอนุกรรมการ 4 ชุด คืออนุกรรมการระดับจังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดยโสธร, อนุกรรมการศึกษาผลกระทบสังแคมและสิ่งแวดล้อมของเขื่อนทั้ง 3 และอนุกรรมการศึกษาหลักเกณฑ์เยียวยา ซึ่งข้อเรียกร้องผลกระทบที่ได้จากอนุกรรมการชุดที่ 3 นี้ จะถูกนำไปใช้ในการขับเคลื่อนของอนุกรรมการชุดอื่นๆ เพื่อหวังให้ปัญหาที่ยืดเยื้อมา 11ปีได้รับการแก้ไข

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ