เลือกตั้งและการเมือง

ผู้ชุมนุมโชว์แผลพุพอง หลังโดน ตร.ฉีดน้ำ #ม็อบ17พฤศจิกา ที่แยกเกียกกาย

โดย

22 พ.ย. 2563

3.9K views

จากกรณีการสกัดกลุ่มผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่แยกเกียกกาย ไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปยังรัฐสภา ซึ่งตำรวจมีการใช้แก๊สน้ำตา และฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุม โดย ตร.ระบุว่า ปฏิบัติตามกฎสากล ตั้งแต่น้ำเปล่าและผสมสารเคมีทซึ่งไม่เป็นอันตรายกับผู้ชุมนุม แต่หลังจบเหตุการณ์นี้พบว่า ผู้ชุมนุมที่ถูกฉีดน้ำผสมสารเคมีกลับเป็นแผลพุพองคล้ายไฟไหม้ 
ทีมข่าวได้พูดคุยกับ นายสรุเชษฐ์ จิตรเจริญ หนึ่งในผุ้ชุมนุม เปิดเผยว่า ตัวเองได้รับผลกระทบจากการฉีดน้ำผสมสารเคมีของตำรวจเมื่อวันที่17 พฤศจิกายน ที่แยกเกียกกาย ส่งผลให้มีบาดแผลที่แขนทั้งสองข้าง เป็นแผลพุพอง คล้ายถูกความร้อนเผาไหม้ โดยตัวเองเข้าร่วมชุมนุมอยู่กับกลุ่มการ์ดด้านหน้า ตอนแรกที่ตำรวจฉีดน้ำก็เป็นน้ำเปล่าปกติ แต่พอเริ่มฉีดครั้งที่ 2 เป็นน้ำสีม่วง ผสมน้ำเงิน ก็เริ่มมีอาการแสบที่ใบหน้า ดวงตา และหายใจไม่ออก แสบคันตามผิวหนัง 
ตอนนั้นก็นำน้ำดื่มมาล้างหน้าแต่ปริมาณน้ำที่เตรียมมาน้อย จึงล้างไม่สะอาด จากนั้นตำรวจก็ฉีดน้ำมาอีกรอบ ครั้งที่สามเป็นน้ำสีขาว แต่ไม่ใช่น้ำเปล่าแล้ว เป็นน้ำผสมสารเคมี ตอนนั้นแสบมาก ตนก็ใช้น้ำล้างออกและใช้สบู่ซักเสื้อคลุมที่ใส่ และก็ร่วมชุมนุมต่อ เดินฝ่าด่านกีดขวางของตำรวจไปจนถึงรัฐสภาและก็ยุติชุมนุม 
แต่พอกลับมาถึงบ้าน เช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน พบว่าเริ่มมีตุ่มพองขึ้นบริเวณแขนทั้งสองข้าง เริ่มมีอาการแสบๆคันๆ จึงไปพบแพทย์ บอกว่าลักษณะแพ้สารเคมีบางชนิด จึงให้ล้างแผล และสังเกตุอาการ ปรากฎว่าเช้าวันที่ 19 พฤศจิกายน ผิวหนังที่มีอาการแสบคันนั้นกลายเป็นตุ่มผุพอง ใหญ่ขึ้น และแสบอาการคล้ายโดนน้ำร้อนลวก หรือความร้อน แสบๆคันๆ  แพทย์จึงให้ล้างแผลและทายา รักษาอาการเบื้องต้น ซึ่งพอตุ่มน้ำพุพองบางจุดยุบลง สภาพผิวหนังก็เป็นเหมือนถูกความร้อนเผาไหม้ ทรมานมาก ตนไม่รู้ว่า สารเคมีที่ ตร.ผสมลงไปนั้นมีอะไรบ้าง ที่ตำรวจแถลงออกมาว่าไม่เป็นอันตราย แล้วบาดแผลร่องรอยความเจ็บทรมานที่ตนได้รับคืออะไร
ไม่ใช่ตัวเองคนเดียวเท่านั้นที่โดน แต่มีกลุ่มผู้ชุมนุมอีกหลายคน ซึ่งตอนนี้ทุกคนรวบรวมหลักฐาน เตรียมดำเนินคดีกับตำรวจที่ฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุม ทั้งที่พวกตัวเองก็ไปชุมนุมโดยปราศจากอาวุธด้วย
ทั้งนี้ด้านพลตำรวจตรีปิยะ ต๊ะวิชัย เผยว่า เรื่องการใช้สารเคมีผสมน้ำฉีดสกัดผู้ชุมนุม และมีนักวิชาการมหาวิทยาลัยชื่อดัง นำไปตรวจวิจัยพบว่ามีส่วนประกอบของสารเคมี 5 ชนิด เรื่องนี้ชี้แจงว่าการผสมสารเคมีเพื่อใช้ฉีดสกัด ตำรวจไม่ได้เป็นคนกำหนดอัตราส่วนผสม แต่เป็นเครื่องมือบนรถควบคุมฝูงชน 
ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบวันนั้นก็ไม่ได้มีแค่ประชาชน แต่ยังมีตำรวจ และสื่อมวลชนที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วย ซึ่งยืนยันว่าอุปกรณ์ที่ใช้ได้มาตรฐานสากล และการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจก็ยึดหลักรัฐศาสตร์และหลักการเจรจามาโดยตลอด สามารถนำไปเปรียบเทียบกับการควบคุมการชุมนุมในต่างประเทศได้
ชมผ่านยูทูบได้ที่นี่ : https://youtu.be/v92h_oTkB1Y

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ