สังคม

อ.จุฬาฯ วิจารณ์ หลังมติ กมอ.ให้นักศึกษาเรียนได้ยาวไม่อั้น เรียนไม่จบไม่ถูกรีไทร์

โดย

15 ต.ค. 2563

15.5K views

เรื่องใหม่ของวงการการศึกษาไทย เมื่อการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา (กมอ.) มีมติให้ยกเลิกการกำหนดระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาในแต่ละระดับปริญญา กรณีกำหนดให้สำเร็จการศึกษาได้ไม่เกินกี่ปีการศึกษา

โดยการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาในระดับอุดม ศึกษาทุกระดับชั้น ตั้งแต่ปริญญาตรี ที่แต่เดิมหากเรียนไม่จบภายในกำหนดคือ 8 ปี จะถูกรีไทร์ หรือ ถูกให้ออกจากมหาวิทยาลัย แต่ล่าสุดให้ยกเลิกการรีไทร์

เช่นเดียวกับระดับปริญญาโท ที่ให้กำหนดระยะเวลาเรียนไม่เกิน 5 ปี และปริญญาเอก ที่ให้กำหนดระยะเวลาเรียนไม่เกิน 6 ปี โดยให้สามารถเรียนต่อได้เลย หากไม่จบการศึกษาในระยะเวลาที่กำหนด และสามารถเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย โดยไม่ถูกไล่ออก

ด้าน ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์ถึงมติดังกล่าวว่า

"เจตนาดี แต่ไม่ practical ครับ ถ้าจะขยายเวลาจบเมื่อไหร่ก็ได้ ก็ต้องขยายโควต้าการรับนิสิตด้วยครับ ตอนนี้อจ.แต่ละท่านรับเด็กได้ไม่กี่คน เช่นอัตโนมัติห้า นอกจากนั้นต้องขอเพิ่มเป็นพิเศษ maximum สิบ ถามว่าแล้วอาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องสอน ทำวิจัยเอง อีกไหม การดูแลเด็กที่ปรึกษาไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าทำเป็นระบบแบบสายวิทย์คือเด็กต้องทำงานในแลป อาจารย์ที่ปรึกษา ไม่ใช่ปัจจุบันในสายสังคมอาจารย์เหมือนเป็นผู้ช่วยวิจัยของนิสิต เพราะนิสิตทำอะไรไปเรื่อยตามที่ตัวเองสนใจเสียเป็นส่วนใหญ่

อีกด้านหนึ่งจะแก้ปัญหาอย่างไร ถ้าอาจารย์ที่ปรึกษาลากเด็กยาวคือไม่ต้องรีบจบนี่ครับ คุณเรียนได้ไม่อั้น ไปเขียนมาดีๆก่อน ไม่ต้องเร่ง อยู่ทำให้ดี หรืออยู่ในแลปผมทำงานให้ผมก่อน ทำวิจัยให้ผมอีกสองชิ้นแล้วค่อยจบ การที่คุณจบช้าไม่เป็นไรนี่ครับ

ปกป้องเด็กก็ต้องปกป้องอาจารย์ด้วย ทุกวันนี้ไม่มีใครเขาอยากแกล้งให้เด็กไม่จบหรอกครับ ในมหาลัยเขาก็มีระบบขอเป็นกรณีพิเศษถ้ามีหลักฐานเพียงพอ #เข้าใจว่าเจตนาดีแต่มีเงื่อนไขอีกมากมายครับ"

ชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/2UbI1oMT-GI

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ