สังคม

เปิดสถิติอุบัติเหตุจุดตัดทางรถไฟเมืองไทย พร้อมเหตุผลทำไมบางจุดไม่มีไม้กั้น

โดย

12 ต.ค. 2563

1.6K views

ปัญหาอุบัติเหตุที่จุดตัดรถไฟไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก จากเหตุรถบัสชนรถไฟ หากแต่เกิดมาหลายครั้งแล้ว และทุกครั้งก็เกิดคำถามว่า จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นมาอีก
ซึ่งจากรายงานวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน ของกระทรวงคมนาคม เปรียบเทียบให้เห็นระหว่าง ปี 2561 - 2562 ระบุว่าในปี 2562 มีการเกิดอุบัติเหตุ 86 ครั้ง ขณะที่ปี 2561 ที่มี 57 ครั้ง
ส่วนปี 2562 มีผู้เสียชีวิต 34 คน บาดเจ็บ 64 คน ขณะที่ปี 2561 มีผู้เสียชีวิต 11 คน และ บาดเจ็บ 29 คน จะเห็นได้ว่า สถิติทั้งจำนวนครั้ง จำนวนผู้เสียชีวิต และ จำนวนผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ขณะที่มีการรวบรวมจุดตัดทางรถไฟทั่วประเทศจำนวนจุดตัดทางรถไฟ พบว่ามีจุดตัดทางรถไฟทั่วประเทศ 2,684 จุด แบ่งเป็นจุดตัดที่เป็นทางข้าม 192 จุด จัดตัดที่เป็นทางลอด 214 จุด และจุดทางเสมอระดับ 2,278 จุด
ซึ่งจุดทางเสมอระดับนี่เองที่มักเกิดปัญหา โดยเป็นจุดตัด ที่มีเครื่องกั้น 1,657 จุด และจุดตัดที่ไม่มีเครื่องกั้น หรือที่เรียกว่า "ทางลักผ่าน" อีก 621 จุด
โดยทั่วไปทางลักผ่านมักจะเป็นถนนเล็กๆของท้องถิ่น โดยทางลักผ่านจะมีทั้งแบบที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย โดยที่ถูกกฎหมายแม้ไม่มีไม้กั้นก็จะมีสัญญาณเตือน มีแสงไฟ และป้ายที่ชัดเจน
ทีมข่าวสอบถาม นายแพทย์ธนพงษ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ก็ได้ระบุว่าตามปกติการติดตั้งไม้กั้นจะคำนึงถึงความคุ้มค่าและความเหมาะสม โดยมีสูตรคำนวน คือใช้จำนวนรถที่สัญจรผ่านจุดนั้นต่อวัน คูณด้วยจำนวนรถไฟที่ผ่าน หากสองตัวคูณกันแล้วเกิน 40,000 ก็จะสร้างไม้กั้น แต่หากไม่ถึงก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือน แทน

สำหรับ ราคาไม้กั้นจะอยู่ที่ขนาดใหญ่ 4 ล้านบาท ขนาดเล็ก 1.2 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายจะเป็นของส่วนท้องถิ่นไม่ใช่การรถไฟ



สามารถรับชมทางยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/xP-qDDpRiy0

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ