สังคม

เจาะ 4 ปัญหา โครงการสร้างมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ต้องใช้งบเพิ่มอีก 6 พันล้าน

โดย

8 ต.ค. 2563

3.9K views

ข่าว 3 มิติ เกาะติดความคืบหน้าการก่อสร้างถนนพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-นครราชสีมา ซึ่งล่าสุดพบว่ามี 17 ช่วงสัญญา ที่มีปัญหาระหว่างก่อสร้าง จึงต้องปรับแก้แบบให้สอดคล้องสภาพพื้นที่ ขณะที่รองอธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยถึง 4 กลุ่มปัญหาที่พบระหว่างลงพื้นที่ทำงานจริง ซึ่งต้องใช้งบประมาณราว 6 พันล้านบาท 
มอเตอร์เวย์เส้นทางบางปะอิน - นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร ภายใต้งบประมาณรวม 84,600 ล้านบาท คืบหน้าไป 93 เปอร์เซ็นต์ โครงการนี้ มี 40 สัญญาก่อสร้าง แล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้งานแล้ว 20 สัญญา ส่วนใหญ่ในอยู่เขตสระบุรี และตอนปลายของเส้นทางที่นครราชสีมา เช่นที่อำเภอขามทะเลสอ และปลายทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา แต่มีอีก 20 สัญญาที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง และใน 20 สัญญานี้ มี 17 ช่วงสัญญา ต้องปรับแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพที่ เพราะพบปัญหาที่มีทั้งคล้ายและต่างกันในระหว่างก่อสร้าง
รองอธิบดีกรมทางหลวง ระบุว่าปัญหาที่พบใน 17 สัญญา แบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ  1.คือพื้นที่ก่อสร้างเปลี่ยนไปจากเดิม 2.รูปแบบการก่อสร้างที่ต้องเปลี่ยนไป 3.ต้องปรับรูปแบบตามหน่วยงานที่โครงการตัดผ่าน 4.การขยายตัวของชุมชน 
กรณีสภาพก่อสร้างเปลี่ยน เช่นบางพื้นที่ขณะสำรวจพบเป็นพื้นราบ แต่เมื่อลงทำงานพบการขุดบ่อเอาหน้าดินไปขายจนลึกเกินกว่าจะสร้างเป็นถนนพื้นราบ ต้องแก้ไขแบบด้วยการสร้างสะพาน 
กรณีด่านปากช่อง ทางขึ้นถนนธนรัตน์ คือหนึ่งในปัญหาในกลุ่มที่ 2 คือสภาพเปลี่ยน โดยกรมทางหลวง บริเวณนี้มีคลองน้ำละตะคอง ผู้ออกแบบได้วางแผนขุดคลองตัดใหม่ เพื่อเชื่อมลำตะคองเข้าหากัน แต่ถูกคัดค้านจากพื้นที่ ทำให้ ต้องออกแบบช่วงก่อสร้างนี้ใหม่
ปัญหากลุ่มที่ 3 คือ การปรับรูปแบบตามหน่วยงานที่โครงการผ่าน เช่นเรือนจำกลางคลองไผ่ต้องมีกำแพง และหลังคาครอบถนนยาว 700 เมตร ตลอดช่วงผ่านเรือนจำ ซึ่งในแบบสัญญาเดิมไม่มี จึงต้องทำเพิ่ม รวมถึงกรณี มอเตอร์ปิดทางเข้าออกศูนย์พักพิงสุนัข นครชัยบุรินทร์ ต้องสร้างถนนให้ใหม่ และกรณีผ่านเขตชลประทาน ต้องคงแนวคลองและถนนริมคลองไว้ จึงต้องเปลี่ยนจากมอเตอร์เวย์พื้นราบ เป็นสะพานยกระดับและกลุ่มปัญหาที่ 4 คือการขยายตัวของชุมชน ถนนทางลอดที่ออกแบบไว้ไม่สามารถใช้ได้ จึงต้องสร้างสะพานลอดให้เหมาะสม 
ทั้ง 17 สัญญาที่ปรับแก้ยังไม่มีจุดใดก่อสร้างแล้วต่อเรื้อใหม่ แต่เป็นการปรับแก้หรือรื้อแบบบนกระดาษ แล้วนำเสนอผู้เกี่ยวข้องตามขั้นตอน โดยล่าสุดผ่านการพิจารณาและแจ้งงบประมาณ จากสำนักงานประมาณแล้วว่า การปรับแก้นี้ใช้งบประมาณราว 6 พันล้าน ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมให้ศึกษาซ้ำอย่างละเอียด ก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณาว่าจะอนุมัติหรือไม่ และกรมทางหลวงมั่นใจว่า ทั้งหมดจะแก้ไขและสร้างเสร็จทันกำหนดเปิดใช้ปี 2565 

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ