สังคม

ปีละหน! นทท.แห่ชม 'กิ้งกือมังกรสีชมพู' สัตว์แปลก สุดยอดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ประจำหุบป่าตาด

โดย

9 ก.ย. 2563

3.3K views

ที่จังหวัดอุทัยธานี บรรยากาศท่องเที่ยววันหยุดที่หุบป่าตาด ดินแดนมหัศจรรย์ยุคไดโนเสาร์ ภายในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช บ้านชายเขา หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ได้มีนักท่องเที่ยว ใช้วันหยุดยาวชดเชยวันสงกรานต์ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวกันตั้งแต่เช้า 
มีทั้งมาเป็นคณะหมู่คณะและครอบครัวเป็นจำนวนมาก ทำให้บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก ท่ามกลางการคุมเข้มมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยนักท่องเที่ยวจะต้องสวมหน้ากากอนามัยกันทุกคน พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนที่จะสแกนคิวอาร์โค้ด 'ไทยชนะ' หรืองลงชื่อในสมุดที่จัดเตรียมไว้
ส่วนการเข้าชมภายใน จะมีเจ้าหน้าที่และมัคคุเทศก์คอยให้การต้อนรับ และพาเข้าชมภายในหุบป่าตาด ซึ่งมีระยะทางเดินไป-กลับ อยู่ที่ประมาณ 1.2 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางเดินนั้น จะมีจุดที่น่าสนใจอยู่หลายอย่าง โดยจุดแรกที่เดินเข้าไปจะพบกับถ้ำที่มีความมืด หรือที่เรียกว่าอุโมงค์แห่งกาลเวลา ซึ่งมีความยาวประมาณ 50 เมตร ภายในถ้ำจะมีความมืดสนิท เป็นที่อาศัยของค้างคาว 
จุดที่ 2 เมื่อเดินทะลุจากถ้ำอุโมงค์แห่งกาลเวลาแล้ว ตลอดระยะเวลาเดินทางภายในหุบป่าตาด จะได้พบกับพืชพันธุ์ไม้หายากนาๆ ชนิด โดยเฉพาะป่าตาดพันธุ์พืชที่อยู่ในยุคดึกดำบรรพ์ หรือยุคไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นพืชตระกูลเดียวกับปาล์ม เติบโตขึ้นได้อย่างอุดมสมบูรณ์ และจะพบหินงอกหินย้อยที่มีความสวยงามอย่างลงตัวภายในหุบป่าตาดแห่งนี้ ซึ่งจะสามารถจินตนาการเป็นรูปต่างๆ นอกจากนี้ ภายในหุบป่าตาดยังมีสัตว์ป่าน้อยใหญ่อีกหลายสายพันธุ์ที่มีถิ่นที่อยู่อาศัย ณ หุบป่าตาดแห่งนี้
และที่ไม่ทำให้นักท่องเที่ยวผิดหวัง สำหรับช่วงปลายฝนต้นหนาวอย่างนี้ ก็คือ 'กิ้งกือมังกรสีชมพู' ที่มีสีสันสวยงาม ออกมาโอดโฉมให้นักท่องเที่ยวได้ชมความงาม และถ่ายภาพเก็บกันไว้เป็นที่ระลึกกันอย่างคึกคัก ซึ่งกิ้งกือมังกร เป็นสุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ เป็นอันดับที่ 3 ของโลก ที่ถูกค้นพบที่ประเทศไทยที่หุบป่าตาดแห่งนี้ เป็นแห่งเดียวของประเทศไทย 
และเหตุที่ได้ชื่อว่ากิ้งกือมังกรสีชมพูนั้น เพราะอยู่ในวงศ์กิ้งกือมังกร หรือพาราดอกโอโซมาติเดีย และมีสีชมพูสดใสแบบช็อกกิ้งพิงค์ อีกทั้ง ยังมีลักษณะโดดเด่นด้วยลวดลายและปุ่มหนาคล้ายกับมังกร ซึ่งเมื่อโตเต็มวัย กิ้งกือมังกรสีชมพู จะมีลำตัวยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มีปล้องราว 20-40 ปล้อง และสามารถขับสารพิษประเภทไซยาไน เพื่อป้องกันตัวได้อีกด้วย
สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ชอบเดินผจญภัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็ก จะได้ชมกิ้งกือมังกรสีชมพูที่ทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน ได้มีการจัดป่าหุบป่าตาดจำลอง และนำกิ้งกือสีชมพูมาโชว์ให้ได้ชม อีกด้วย
รับชมผ่านยูทูปได้ที่นี่ : youtu.be/KTl4Iw-ng5E

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ