สังคม

สตง.ภาค 6 เตรียมสรุปผลตรวจความคุ้มค่าของโรงงานยางพารา จ.บึงกาฬ มูลค่า 193 ล้านบาท

โดย

30 ส.ค. 2563

1.5K views

โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา จังหวัดบึงกาฬ ด้วยงบประมาณกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน 193 ล้านบาท ซึ่งมีความล่าและไม่สมบูรณ์ เป็นหนึ่งในโครงการที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ภาคที่ 6 เลือกตรวจสอบ โดยเป็นการตรวจสัมฤทธิ์ผลของโครงการ ซึ่งผลการตรวจสอบ เตรียมรายงานภายในเดือนหน้า และหนึ่งประเทศที่ สตง.ตั้งข้อสังเกตุคือโรงงานนี้มีความพร้อมของโครงการตั้งแต่เริ่มต้นหรือไม่ เพราะพบข้อมูลชัดเจนถึงการขาดองค์ประกอบ ของโรงงานอุตสาหกรรม 
หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภาคที่ 6 เปิดเผยกับข่าว 3 มิติ คือการเลือกตรวจสอบโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา จังหวัดบึงกาฬ ในแง่สัมฤทธิ์ผลของโครงการ เพราะเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีความเสี่ยงที่จะไม่ประสบผลสำเร็จ กระทั่งพบข้อเท็จจริงว่าโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งไม่พร้อม การก่อสร้างบนพื้นดินชุมน้ำ ทำให้แบบแปลนต้องปรับแก้ นำมาสู่ความล่าช่า เช่นเดียวกับระบบบำบัดน้ำเสีย แม้ตั้งงบประมาณไว้ 4 ล้านบาท แต่ไม่อาจเซ็นสัญญาว่าจ้างใครได้ทำให้งบประมาณตกไป ขณะที่แหล่งน้ำดิบที่จะใช้ในโรงงานไม่มีในรายละเอียดของโครงการ
อย่างไรก็ตาม สตง.สามารถให้ซักถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายได้ แต่จะทำให้ได้เพียงใดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการบริหารและการควบคุมโครงการ ซึ่งกรณีนี้คือสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดบึงกาฬ
รายงานของสตง.ภาคที่ 6 ในเรื่องนี้แล้วเสร็จในร่างแรก เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบอยู่ระหว่างนำเสนอผู้บังคับบัญชาและเสนอต่อประธานกลุ่มจังหวัดคือผวจ.อุดรธานีว่ามีความเห็นอย่างไร หากตรงกันก็ออกเป็นสรุปรายงาน หรือต่อมีข้อคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็เขียนความเห็นต่างลงในรายงานได้ โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในกันยายน นี้ ซึ่งเป็นช่วงสิ้นปีงบประมาณ 2563 
ขณะเดียวกัน นอกเหนือจากความเห็นของ สตง.ภาคที่ 6 ที่รอรายงานฉบับสมบูรณ์แล้ว ผลจากการติดตามความคืบหน้าการใช้งบกลุ่มจังหวัดที่รัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทย ได้รับแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีให้ตรวจสอบเมื่อวานนี้ก็พบว่า ต่อให้โครงการมีระบบน้ำไฟเข้ามาเพิ่ม ก็ยังต้องใช้เงินทุนไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท เป็นเงินหมุนเวียนซ้อน้ำยางจากเกษตรกรและแปรรูป /ขณะที่ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางบึงกาฬ ที่ได้รับสิทธิ์ใช้โรงงานดังกล่าว ตอนนี้มีสถานะทางบัญชีติดลบ และยังมีภาระหนี้กับธนาคาร จากการนำที่ดินไปจดจำนอง 
จึงถูกตั้งคำถามว่าต่อให้เติมเงินเข้าไปในโรงงานดังกล่าวจนแล้วเสร็จ แต่การบริหารสหกรณ์ดังกล่าวจะมีโอกาสสำเร็จผลมากน้อยเพียงใด และจำเป็นต้องเริ่มต้นจากยกระดับสหกรณ์ที่จะใช้โรงงานนี้ให้เข้มแข็งก่อนหรือไม่

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ