สังคม

ลือ! 'พ.ต.อ.ธนสิทธิ์' เปลี่ยนคำให้การ ยันผลตรวจความเร็วรถ 'บอส วรยุทธ' 177 กม./ชม. - เจาะรายงาน กมธ.กฎหมาย สนช.พิจารณาคดี

โดย

8 ส.ค. 2563

1.3K views

พลตำรวจโทจารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะรองประธานกรรมการสอบสวนชุดตำรวจคดีของนายวรยุทธ อยู่วิทยา เปิดเผยว่า วันอังคารที่ 11 สิงหาคมนี้ คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงจะสรุปผลการตรวจสอบเสนอต่อพลตำรวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาสั่งการ รวมทั้ง กำหนดวันแถลงข่าวชี้แจงต่อประชาชนตามกรอบระยะเวลา 
มีรายงานว่าในที่ประชุมเป็นการประชุมของคณะกรรมการชุดย่อยเนื่องจาก ประธานและรองประธานติดภาระกิจโดยที่ประชุมได้เรียกพลตำรวจโทวิเชียร ตันตะวิริยะ ผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ พลตำรวจโทธวัชชัย เมฆประเสริฐสุข ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และทีมงานกองพิสูจน์หลักฐานเข้าให้ข้อมูลในประเด็นเกี่ยวกับความเร็ว
โดยประเด็นที่คณะกรรมการสอบถาม คือ วิธีการตรวจวัดความเร็วของรถยนต์เพื่อนำข้อมูลมาวินิจฉัยว่าความน่าเชื่อถือของ 2 สำนัก ระหว่าง นายสธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นายสายประสิทธิ์ เกิดนิยม หัวหน้าศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ สถาบันฯพระจอมเกล้านครเหนือ เพื่อพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล หากน่าเชื่อถือทั้ง 2 สถาบัน คณะกรรมการสอบสวนอาจทำความเห็นเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้หาหน่วยงานกลางมาตรวจพิสูจน์เพิ่ม
ซึ่งประเด็นความเร็วรถของนายวรยุทธิ์ขณะนี้ยังไม่เป็นที่ยุติ ส่วนการเข้าพบพนักงานสอบสวนของ พันตำรวจเอกธนสิทธิ์ แตงจั่น นักวิทยาศาสตร์ สบ.4 กลุ่มงานตรวจเคมีฟิสิกส์ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1 สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ เมื่อวานนี้ซึ่งถูกสอบสวนต่อเนื่อง 2 วัน ปรากฎว่าพันตำรวจเอกธนสิทธิ ได้กลับข้อมูลใหม่ระบุว่าความเร็วรถนายวรยุทธ ขณะเกิดเหตุ 177 กิโลเมตร/ชั่วโมง เหมือนกับในสำนวนครั้งแรก ส่วนที่มาให้การภายหลังเมื่อปี 2559 ระบุ ความเร็วลดลงเหลือ 79.23 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งอ้างกับคณะกรรมการสอบสวนว่าสับสนในการคำนวณข้อมูล 
นอกจากนี้ยังมีรายงานด้วยว่าจากการสอบปากคำแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้รับการยืนยันตรงกันว่าสารโคเคนที่พบในเลือดของนายวรยุทธ เกิดจากการเสพโคเคนและแอลกอฮอล์ คณะกรรมการจึงจะเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อพิจารณาตั้งข้อหาเสพโคเคนเพิ่มเป็นข้อหาใหม่
เปิดบันทึกประชุม กมธ.กฎหมาย ชุด สนช.ปมสั่งไม่ฟ้องคดี 'บอส อยู่วิทยา'
จากปัญหาความไม่ชัดเจนที่รองอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องคดีดังกล่าวโดยมีกรรมาธิการของ สนช.เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องและอาจเป็นเงื่อนไขสำคัญทำให้เป็นพลิกผันในคดีนี้ ล่าสุดมีการเปิดเผยบันทึกการประชุมของกรรมาธิการกฎหมายยุค สนช. โดยพบรายงานผลการพิจารณาของคณะทำงาน ได้สรุปผลการพิจารณาว่า
นายวรยุทธ ได้ร้องต่อกรรมาธิการกฎหมาย สนช. ถึงความไม่เป็นธรรม เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
โดยมีการสรุปไทม์ไลน์ว่าเหตุการณ์เกิดเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2555 และวันที่ 4 มี.ค. 2556 พนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อได้ส่งสำนวนสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ ซึ่งมีความเห็นสั่งฟ้องนายวรยุทธใน 3 ข้อหา ประกอบด้วย 
1.ข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 
2.ข้อหาทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย 
3.ข้อหาหลบหนีไม่หยุดให้ความช่วยเหลือ 
โดยไม่สั่งฟ้องใน 2 ข้อหา คือ ขับรถเร็วเกินกว่าที่กำหนด และข้อหาเมาแล้วขับ  
จากนั้นวันที่ 2 พ.ค. 2556 อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งฟ้องใน 4 ข้อหาโดยรวมข้อหาขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเข้าไปด้วย ซึ่งในข้อหานี้แย้งกับพนักงานสอบสวนที่เห็นควรไม่ฟ้องแต่อธิบดีอัยการเชื่อว่า รถของนายวรยุทธขับในความเร็วโดยเฉลี่ย 177 กม./ชม.
ทั้งที่พันตำรวจโทสมยศ แอบเนียมสารวัตรงานช่างเครื่องยนต์ตรวจพิสูจน์ ในฐานะผู้ตรวจสอบความเสียหายของรถได้บันทึกพิสูจน์สภาพรถที่เกิดเหตุสันนิษฐานว่า ความเสียหายของรถทั้ง 2 คันไม่มาก รถทั้ง2คันน่าจะวิ่งด้วยความเร็วด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม.  
ทั้งนี้บันทึกรายงานการประชุมของ กรรมาธิการ สนช. ระบุว่า 14 ม.ค. 2559 รองอัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้วเห็นข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่ายังไม่สิ้นกระแสความ จึงได้ใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 ( 2 ) ได้สั่งการให้พนักงานสอบสวนไปสอบสวน พันตำรวจโท ธนสิทธิ แตงจั่น พยานผู้เชี่ยวชาญของฝั่งตำรวจที่ระบุความเร็วรถในสำนวนครั้งแรก ว่ารถของนายวรยุทธ ขับในความเร็วโดยเฉลี่ย 177 กม./ชม. ซึ่งพันตำรวจโทธนสิทธิได้ให้การหลังการสอบสวนเพิ่มเติม 3 ประเด็นสำคัญคือ  
1.การคำนวณความเร็วในครั้งหลังได้อัตราความเร็วรถเฟอร์รารี่ 79.23 กม./ชม. หักล้างกับครั้งแรก 177 กม./ชม. เพราะเกิดความผิดพลาดในการคำนวณจากการวัดระยะทาง 
2.รถจักรยานยนต์ของดาบตำรวจวิเชียร กลั่นประเสริฐ คู่กรณี ไม่ได้ถูกรถเฟอร์รารี่ลากไปแต่อย่างใด 
3.กรณีที่ไม่พบรอยเบรกสันนิษฐานว่าไม่ได้เหยียบเบรก หรือเหยียบแต่คุณภาพของรถทำให้ไม่มีรอยเกิดขึ้น  
ต่อมาในวันที่ 11 เม.ย. 2559 รองอัยการสูงสุดกลับมีคำสั่งยุติ การร้องขอความเป็นธรรมโดยไม่ได้นำคำให้การของพันตำรวจโท ธนสิทธิ ที่ให้การเพิ่มในครั้งหลังมาพิจารณา โดยเห็นว่าคำสั่งฟ้องของพนักงานอัยการนั้นชอบด้วยข้อเท็จจริงข้อกฎหมายแล้ว ทำให้มีการร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการอยู่ 3 ครั้ง และมีการร้องต่อกรรมาธิการ กรรมาธิการมีมติรับเรื่องไว้พิจารณา เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2559
ในรายงานระบุจุดประสงค์ของผู้ร้องเรียน หรือนายวรยุทธ คือขอให้แจ้งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบ และนำคำให้การ และรายงานการตรวจพิสูจน์ความเร็วมาประกอบการพิจารณาคดี และที่สำคัญ คือ การสั่งไม่ฟ้องในคดีนี้ จากนั้นมีการตั้งคณะทำงาน
ซึ่งการทำงานของคณะกรรมาธิการกฎหมาย สนช. ได้มีการประชุมพิจารณาเรื่องนี้ทั้งสิ้น 6 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. 2559 ถึงวันที่ 9 ธ.ค. 2559
มีวิธีการพิจาณาจากข้อมูลคำร้องเรียนและเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อเท็จจริงรวมทั้งสิ้น 9 คน ประกอบด้วย อธิบดีอัยการที่สั่งฟ้องคดี , พนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวน , อัยการอาวุโส , พยาน 4 ปากที่เป็นประจักษ์พยานและพยานบุคคล และ ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม และได้ข้อเท็จจริงในคำร้องเรียน ว่า นายวรยุทธได้มีการร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการ 3 ครั้ง
- ครั้งแรกลงวันที่ 4 พ.ค. 2559 นายวรยุทธได้ร้องขอความเป็นธรรมจากกรณีที่พันตำรวจโทสมยศ แอบเนียม ที่ไปตรวจสภาพรถและทำบันทึกการตรวจพิสูจน์สภาพรถยืนยันว่า ร่องรอยความเสียหายของรถทั้ง 2 คันเสียหายไม่มาก สันนิษฐานได้ว่ารถทั้ง2คันขับมาด้วยความเร็วไม่ถึง 80 กม./ชม. แต่รองอัยการสูงสุดพิจาณาข้อเท็จจริงยังไม่สิ้นกระแสความจึงได้สั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนพันตำรวจโทธนสิทธิ แตงจั่น นายตำรวจผู้เชี่ยวชาญที่ให้การหลังไปตรวจพิสูจน์ว่ามีความเร็ว 177 กม./ชม. แต่ต่อมาพันตำรวจโทธนสิทธิได้ยอมรับว่า มีการคำนวณใหม่ได้ 79.23 กม./ชม. ซึ่งหักล้างกับการคำนวณครั้งแรก เมื่อได้ข้อเท็จจริงส่วนนี้แล้ว รองอัยการสูงสุดกลับไม่นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมารวมในการพิจาณาสั่งคดีและสั่งให้ยุติเรื่องขอความเป็นธรรม  
- จากนั้นนายวรยุทธได้ร้องขอความเป็นธรรมลงวันที่ 21 ก.ค. 2559 อีกครั้งหลังพบข้อมูลเพิ่มเติมว่า พลอากาศโทจักกฤช ถนอมกุลบุตร และพลอากาศโทสุรเชษฐ์ ทองสลวย เป็นประจักษ์พยานในคดีนี้ และให้การเห็นว่ารถของดาบตำรวจวิเชียรขับเปลี่ยนเลนกระทันหันจนเกิดอุบัติเหตุชนกับรถของนายวรยุทธ  
- และมีการร้องขอความเป็นธรรมเป็นครั้งที่ 3 ลงวันที่ 9 ส.ค. 2559 หลังได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากพันตำรวจโทสมยศ แอบเนียม ที่ให้การเป็นพยานสอดรับกับคำให้การของพลตำรวจโทสุรพล เดชวิรัตนวิไชย ผู้เชี่ยวชาญของศาลว่า การตรวจร่องรอยความเสียหายของรถทั้ง 2 คันไม่น่าจะมีความเร็วเกิน 80 กม./ชม.  
ส่วนข้อเท็จจริงของพนักงานสอบสวน โดยพันตำรวจเอกวิรดล ทับทิมดี พบว่า พนักงานสอบสวนได้ส่งภาพจากกล้องวงจรปิดให้กองพิสูจน์หลักฐานคำนวณความเร็วของรถจึงมีการคำนวณได้ 177 กม./ชม. แต่พนักงานสอบสวนเชื่อตามคำให้การของพันตำรวจโทสมยศ แอบเนียม และพันตำรวจโทสุรพล ผู้ที่ตรวจสอบความเสียหายของรถว่าขับไม่น่าเกิด 80 กม./ชม. จึงสั่งไม่ข้อหาขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ในชั้นพนักงานสอบสวน
และตามการสอบสวน เห็นว่ารถจักรยานยนต์ ของ ดาบตำรวจวิเชียร อาจเปลี่ยนช่องทางการเดินรถล็อครถจักรยานยนต์ถูกชนจากด้านหลังยังมาทางขวานัดพบร่องรอยความเสียหาย ท่อไอเสีย สอดรับกับการตรวจสภาพรถ กล้องวงจรปิดและพยานบุคคล ประกอบกับ นายจารุชาติ มาดทอง ให้การ เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2555 ว่า เห็น ดาบตำรวจวิเชียร เปลี่ยนเลนจาก เลนที่1 มาเลน 2 ตัดหน้ารถตนกระทันหัน และได้หักหลบไปทางซ้ายแทน ก่อนได้ยินเสียงชน กัน จึงสันนิษฐานว่า ดาบตำรวจวิเชียร เปลี่ยนเลนไปช่องขวาสุด และเกิดอุบัติเหตุ
อย่างไรก็ตาม คดีนี้ พนักงานอัยการได้สั่งให้พนักงานสอบสวนทำการพยานบุคคลเพิ่มเติมหลายคน รวมทั้ง พันตำรวจโท ธนสิทธิ แตงจั่น กองพิสูจน์หลักฐาน ที่คำนวณความเร็วตอนแรก 177 กม./ชม. โดยมีการสอบสวน เพิ่มเติม 2 ครั้ง ในวันที่ 26 ก.พ. และ 2 มีนาคม 2559 พันตำรวจโท ธนสิทธิ แตงจั่น ให้เหตุผล ที่มีการเปลี่ยนแปลงการคำนวณความเร็วจาก 177 เป็น 79.23 กม./ชม. ว่า เกิดจากการคำนวณผิดพลาดจากการวัดระยะทาง เนื่องจากไม่ได้ใช้หลักวิชาการทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนไปมาก ส่วนการคำนวณใหม่ ที่ได้ 79.23 กม./ชม. เป็นการคำนวณแบบใหม่มี่แม่นยำกว่าผลคำนวณตรงกับความเร็วจริงมากที่สุด
ส่วนการสอบสวนพนักงานสอบสวนได้ฟังความเห็นของพันตำรวจโทสมยศ แอบเนียม ที่ไปตรวจสอบความเสียหายของสภาพรถ และพบว่าความเสียหายเพียงเล็กน้อย ไม่น่าจะใช้ความเร็วถึง 177 กม./ชม.นั้น ให้การว่า หากมีความเร็วถึง 177 กม./ชม.จริง ย่อมมีความเสียหายมากกว่านี้ เช่น ล้อหลังจักรยานยนต์ ต้องเป็นเลข 8 ซี่ลวดต้องหลุดออกจากล้อ แต่ความเร็วที่คำนวณได้ดูจากบาดแผลการชนแล้ว ดุมล้อหลังไม่แตก วงล้อซึ่งทำจากอลูมิเนียมไม่มีสภาพคด จึงเห็นว่าเฟอร์รารี่ไม่น่าจะขับเร็วเกินกว่า 80 กม./ชม. พนักงานสอบสวนจึงมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
สำหรับข้อเท็จจริง ของรองอัยการสูงสุดขณะนั้นคือ นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์พงศ์ ให้การว่า หลังนายวรยุทธ ร้องขอความเป็นธรรม จึงได้พิจารณาให้พนักงานสอบสวนไปสอบสวนเพิ่มเติม ประจักษ์พยาน 2 ปาก ก่อนจะพ้นจากตำแหน่ง ไป ในวันที่ 30 ก.ย. 2558 จึงไม่ได้พิจารณาสำนวนดังกล่าวเสร็จสิ้น
ทั้งนี้ คณะทำงาน ของกรรมาธิการ ได้เชิญ พลอากาศโทจักรกฤช ถนอมกุลบุตร 1 ใน ประจักษ์พยาน 2 ปาก ซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นประเด็นที่ นายวรยุทธได้ร้องขอความเป็นธรรมไปยังอัยการโดยมีนายพุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์ รองอัยการสูงสุด เป็นผู้รับเรื่องราวร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าว และเป็นผู้สั่งสอบสวนพยานบุคคล มีข้อเท็จจริง จึงปรากฏขึ้นใหม่โดยพยานบุคคลทั้ง 2 ปาก
ซึ่งพลอากาศโทจักรกฤช ให้การว่า ขณะเกิดเหตุ นั่งรถมากับ พลอากาศโทสุรเชษฐ์ ทองสลวย คนขับ อยู่ในเลนที่2 มุ่งหน้าไปเอกมัยระหว่างซอยสุขุมวิท 45 กับ 47 พบรถจักรยานยนต์ ที่มีชายแต่งตัวคล้ายตำรวจเป็นคนขับ ขับส่ายไปส่ายมาทำท่าจะเปลี่ยนเลน จึงบอกให้ พลอากาศโทสุรเชษฐ์ จอดหยุดรถป้องกันการเฉี่ยวชน และเห็นรถจักรยานยนต์ขับปาดจากเลนที่ 1 ไปถึงเลนที่3 อย่างกระชั้นชิด จนเกิดการเฉี่ยวชนขึ้น โดยรถสปอร์ต ที่ชนอยู่ในเลนขวาสุด หลังชนแล้ว รถสปอร์ตได้เบี่ยงมาจอด ช่องซ้ายสุด และเห็นตำรวจนอนห่างจากจุดชนประมาณ 50 เมตร ก่อนที่รถสปอร์ตจะขับออกไป
พลอากาศโทจักรกฤช ให้การว่าหลังเกิดเหตุ ทราบข่าวทางโทรทัศน์ ว่าเป็นทายาทธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังชื่อดัง เป็นคนชน แต่ไม่ได้ให้ความสนในอะไร กับเหตุการณ์ในคดีนี้ จนกระทั้ง เดือน เม.ย.2558 ได้พบกับนายทหารรุ่นพี่ และมาทราบว่ารุ่นพี่รู้จักกับนายเฉลิม อยู่วิทยา จึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้รุ่นพี่ฟัง และ อีก1สัปดาห์ นายทหารรุ่นพี่ได้เดินทางมาพบขอให้ไปเป็นพยาน ต่อพนักงานสอบสวนในคดีนี้
จากนั้นคณะทำงานได้เชิญ พลอากาศโทสุรเชษฐ ที่ขับรถมากับพลอากาศโทจักรกฤช และ เรืออากาศสะอาด คบศาสตราศร นายทหารรุ่นพี่ ของ พลอากาศโทจักรกฤช มาให้ข้อเท็จจริง ตรงกัน
จากนั้น การประชุมครั้งที่ 4 ของ คณะทำงาน ในวันที่ 1 ก.ย. 2559. ได้มี การเชิญ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม อาจารย์ จาก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ มาให้ข้อมูล เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ ก่อนที่กรรมาธิการ จะมีหนังสือขอความอนุเคราะห์ถึง ดร. สายประสิทธิ์ เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2559 ให้คำนวณ ความเร็วของรถเฟอร์รารี่ ของนายวรยุทธ และการประชุมครั้งที่5 คือวันที่ 16 พ.ย. 2559 ได้เชิญ ดร.สายประสิทธิ์ มีชี้แจงข้อมูลการตรวจสอบ มีการจัดทำเป็นรายงาน ใช้ข้อมูลการคำนวณจากภาพกล้องวงจรปิด สันนิษฐานได้ว่ารถ Ferrari ไม่ได้ชนรถจักรยานยนต์ตรงแต่ชนในมุมที่ทำองศากัน มีการคำนวณความเร็วของยานยนต์ตามหลักวิชาการโดยใช้ระยะทางหารด้วยเวลา ซึ่งเวลาได้จากการบันทึกภาพในวิดีโอนับเป็นเฟรมภาพ และใช้ความยาวของรถ Ferrari เป็นตำแหน่งอ้างอิง ในมุมทแยงของรถ
ซึ่งการคำนวณมีการระบุปัจจัยสำคัญในการคำนวณครั้งนี้ ได้ค่าความเร็ว 2 ค่า และอัตราการแสดงภาพของเครื่องฉายช้ากว่า เวลาปกติ อยู่4 เท่า เนื่องจาก กล้องวงจรปิดที่บันทึกภาพบันทึกได้เพียง 25เฟรมต่อสินาที และไม่ใช่กล้องชนิด Hi Speed
รายงานฉบับนี้ยังมีการระบุ ถึงการคำนวณหาความเร็วของรถจักรยานยนต์ ด.ต.วิเชียร กล่ำประเสร็ฐ ผู้ตายด้วย จากภาพกล้องวงจรปิดเหมือนกันวิธีการเดียวกันซึ่ง ด.ต.วิเชียร วิ่งอยู่ช่องซ้ายสุด มีอัตราความเร็วอยู่ระหว่าง 28.64- 31.37 กม./ชม. หรือ เฉลี่ย เป็น 30.005 กม./ชม.ช้า กว่า ผลการคำนวณที่ได้จากรถของนายบอส เก็บครึ่งต่อครึ่ง
ส่วนประเด็นสมรรถนะการห้ามล้อของรถเฟอร์รารี่ ที่ไม่พบรอยเบรก นั้นประเด็นนี้ อ. สายประสิทธิ์ก็มีการทดสอบ โดยตั้งสมมติฐานความเร็วรถที่ 80 กม./ชม. มีการทดสอบ 4 ครั้งด้วยแรงเบรกเท้าที่ต่างกับ พบว่า ครั้งที่ 1-3 ใช้แรงเบรก 14-26 กก. ระบบป้องกันการล็อกล้อ ABS ไม่ทำงาน แต่ครั้งที่ 4 ใช้แรงเบรกมากที่สุดถึง 60 กก. ในการเบรก ระยะการเบรกอยู่ที่ 29.4 เมตร ซึ่งใช้ระยะกระชั้นชิดกว่าครั้งที่ 1-3 พบว่าระบบ ระบบป้องกันการล็อกล้อ ABS ทำงาน ล้อจึงไม่ถูกล็อก ทำให้ไม่พบร่องรอยยางเบรกที่ล้อ โดยในเอกสารระบุว่าที่เป็นแบบนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต
และในรายงาน อ.สายประสิทธิ์ ได้สรุปผลการวิเคราะห์ ทั้งหมดออกเป็น 5 ข้อด้วยกัน
1. ผลการคำนวณความเร็วรถเฟอร์รารี่ จากกล้องวงจรปิด มีค่าอยู่ระหว่าง 73.13-79.22 กม./ชม.
2. ผลการคำนวณความเร็วรถจักรยานยนต์ ดต.วิเชียร จากกล้องวงจรปิด มีค่าอยู่ระหว่าง 28.64-31.37 กม./ชม.
3. ผลการวิเคราะห์สาเหตุความเสียหายที่เกิดจากแรงกระแทกหน้ารถขณะเกิดเหตุนั้น ไม่สามารถคำนวณได้ จากข้อมูลทางเทคนิค ของคุณลักษณะการชนได้
4. ผลการวิเคราะห์ระยะทางการเคลื่อนที่ของรถจักรยานยนต์หลังถูกชน แล้วล้มครูดนั้น พบว่า รถจักรยานยนต์ เคบื่อนที่ห่างจากจึดเกิดเหตุ ระยะทางระหว่าง 101.55- 203.10 เมตร
5. ผลการคำนวณความเร็วหลังการชนแล้วของเฟอร์รารี่จะอยู่ที่ 63.375 กม./ชม. มีระยะทางในการเบรก ในระยะตอบสนอง 0.75วินาที มีระยะอยู่ที่ 44.63-61.91 เมตร
และในท้ายที่สุด คณะทำงานได้สรุปข้อเท็จจริงจากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ได้ข้อเท็จจริงใน 3 ประเด็น คือ
1. ขณะที่นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์พงศ์ เป็นรองอัยการสูงสุดในปี 2558 มีประจักษ์พยาน 2 ปากเพิ่มเติม คือ พลอากาศโทจักรกฤช และ พลอากาศโทสุรเชษฐ 2 นายทหารที่เห็นเหตุการ
2. รองอัยการสูงสุด ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดให้มีการพิจารณา สำนวนร้องขอความเป็นธรรมของนายวรยุทธ และเห็นว่าการพิจารณาสำนวนครั้งแรกยังไม่สิ้นกระแสความในประเด็นความเร็วรถของนายวรยุทธ ว่า 177 กม./ชม. จริงหรือไม่ จึงมีคำสั่งให้พรักงานสอบสวน สอบสวนเพิ่มเติม พันตำรวจโท ธนสิทธิ กองพิสูจน์หลักฐาน ที่ให้ข้อมูล 177 กม./ชม. ในสำนวนครั้วแรก
3. ข้อเท็จจริง เรื่องอัตราความเร็วรถมีความชัดเจนมากขึ้นจากการคำนวณความเร็วโดย ดร. สายประสิทธิ์ เกิดนิยมอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งคำนวณความเร็วเฉลี่ยของรถ Ferrariได้ 76.175 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สอดคล้องกับคำให้การของ นายจารุชาติ มาดทอง พยานซึ่งขับรถอยู่ในเหตุการณ์ เห็นรถของดาบตำรวจวิเชียรขับปาดหน้า จากเลนที่1 ไปเลน3 ในระยะกระชั้นชิด และสอดคล้องกับ ข้อเท็จจากคำให้การของ พันตำรวจโทสมยศ แอบเนียม นายตำรวจตรวจพิสูจน์สภาพรถ ว่ารถไม่น่าจะวิ่งเร็วเกิน 80กม./ชม. ประกอบกับ พันตำรวจโท ธนสิทธิ แตงจั่น กองพิสูจน์หลักฐาน ที่ให้ข้อมูล 177 กม./ชม. นั้นยอมรับว่า คำนวณคลาดเคลื่อน ไม่ได้ใช้หลักวิชาการในการคำนวณ
และที่สำคัญ การสั่งฟ้องคดีของอัยการก่อนหน้านั้น นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์พงศ์ รองอัยการสูงสุด และนายสุทธิเกียรติ กิตติสุภพร อธิบดีอัยการ ยอมรับว่า การร้องขอความเป็นธรรมของนายวรยุทธ หากผลการสแบสวนเพิ่มเติม ทำให้ข้อเท็จจริงในคดีนี้เปลี่ยนแปลงไป จนเป็นให้คดีมีปัญหาข้อเท็จจริงไม่เป็นที่ยุตินั้น สามารถนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่มาประกอบการพิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการได้
คณะกรรมาธิการจึงมีมติรับทราบข้อเท็จจริงของคณะทำงานศึกษาเรื่องนี้ตามที่ระบุมาทั้งหมด และมีหนังสือแจ้งไปยังอีนการสูงสุด และอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ เพื่อพิจารณาต่อไป
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/WH5iVTqDoVQ

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ