สังคม

เร่งแก้ปัญหาภูเขาขยะใน จ.นครศรีธรรมราช หลังตรวจพบคุณภาพน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์

โดย

2 ส.ค. 2563

2.4K views

เทศบาลนคร นครศรีธรรมราช เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะ เพื่อเป็นหนึ่งในแผนการจัดการขยะที่มีปัญหาสะสมมาหลายสิบปี และโครงการนี้อยู่ระหว่างเจรจาเงื่อนไขในสัญญาของสองฝ่ายก่อนลงนาม ขณะคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความ ยืนยันว่าแม้มีแผนกำจัดขยะในระยยาว แต่ผลกระทบที่ชาวบ้านกำลังเผชิญอยู่ควรต้องได้รับการแก้ไขด้วย 
ตุ่มและผืนคันบนผิวหนังของเด็กชายและเด็กหญิง 2 คนนี้ ที่ผู้ปกครองในตำบลนาทราย อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช ตั้งข้อสังเกตว่าเกิดจากการสัมผัสแหล่งน้ำ ที่มีน้ำเสียของบ่อขยะเทศบาลนคร ปะปนลงแหล่งน้ำสาธารณะ ซึ่งรวมถึงพื้นที่การเกษตร เช่นสวนปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา ซึ่งเป็นที่พื้นที่ลุ่มใกล้กับบ่อขยะ ที่น้ำท่วมเคยไหลบ่า พัดพาเมื่อปี 2559 แต่จนถึงขณะนี้วิกฤติน้ำเสียยังไม่คลี่คลาย
เมื่อปี 2560 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีหนังสือถึงผุ้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรราชในขณะนั้น เพื่อรายงานว่าผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งจากบ่อบำบัดน้ำเสีย บริเวณที่ฝังกลบขยะ พบว่าคุณภาพน้ำในบ่อบำบัดน้ำเสียสุดท้ายมีพารามิเตอร์บ่งชี้ความสกปรกของน้ำที่สำคัญที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง คือค่า BOD ที่ไม่ควรเกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่กลับมีถึง110 มิลิลกรัมต่อลิตร ค่าซีโอดี ไม่ควรเกิน 120 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่พบว่ามี450 มิลลิกรัมต่อลิตร 
นอกจากนี้ค่าคุณภาพน้ำทางชีวภาพที่สำคัญคือ โคลิฟอร์มแบคทีเรีย และฟีคอลโคลิฟอร์มแบททีเรีย เกินจากค่ามาตรฐาน ยกเว้นค่าโลหะหนักและพารามิเตอร์อื่นๆ ไม่มีสารใดเกินค่ามาตรฐาน 
รายงานนี้ระบุว่า บ่อบำบัดน้ำเสียที่ฝังกลบขยะ ไม่สามารถบำบัดน้ำทิ้งได้ตามมาตรฐาน จึงไม่สามารถปล่อยออกสู่สิ่แวดล้อมได้ และต้องระวังไม่ให้รั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความที่ลงพื้นที่ระบุว่าแม้ผลการวิเคราะห์น้ำจะพบการปนเปื้อน แต่จะขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตรวจวิเคราะห์น้ำใหม่อีกครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันสำหรับเป็นหลักฐานการฟ้องหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและเพิกเฉยต่อการแก้ปัญหานี้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
รองนายกเทศมนตรีนคร นครศรีธรรมราช อธิบายว่าเทศบาลได้ทำโครงการให้เอกชนร่วมทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังขยะ ซึ่งเอกลงทุนฝ่ายเดียวทั้งหมด ด้วยวงเงินราว2900 ล้านบาท ใช้เตาเผาระบบปิด มีกำลังการผลิตติดตั้ง 20 เมกะวัตต์ ตามร่างสัญญาแล้วโรงงานจะกำจัดขยะได้วันละ 1 พันตัน 
ตอนนี้โรงไฟฟ้าดังกล่าวได้บริษัทเอกชนแล้วคือกรีน เพาเวอร์ เอนเนอร์จี แต่ขณะนี้มีการอุทธรณ์เงื่อนไขบางประการ จึงอยู่ระหว่างขั้นตอนการเจรจาก่อนลงนาม 
อย่างไรก็ตาม มีข้อข้อกังวลเช่นเช่นกันว่า โรงงานไฟฟ้าดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบด้านอื่นๆตามมาหรือไม่ ซึ่งเทศบาลระบุว่ายังมีรายละเอียดการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีกหลายขั้นตอนจึงจะเกิดขึ้นได้ 

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ