สังคม

โครงการทรัพยากรณ์ชีวภาพปลากัดแห่งชาติ พัฒนาและคุ้มครองสายพันธุ์ปลากัดไทย

โดย

29 มิ.ย. 2563

1.1K views

ปลากัดเป็นกลุ่มปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่เป็นสัตว์น้ำส่งออกอันดับ 1 ของไทย ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึงหลักร้อยล้านบาทแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการเก็บตัวอย่างพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่เป็นไปได้ยาก เนื่องจากวงจรอายุที่สั้น ซึ่งต่อจากนี้สายพันธุ์ปลากัดต่างๆที่เกิดขึ้นโดยคนไทยจะได้รับการบันทึกเป็นฐานข้อมูลอย่างเป็นทางการ หลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักการวิจัยแห่งชาติ ได้ร่วมกับสมาคมปลากัดไทย จัดตั้งโครงการทรัพยากรชีวภาพปลากัดแห่งชาติขึ้น 
ปลากัดหลากสีสันทั้งพันธุ์ฮาฟมูน ปลากัดดับเบิลเทล ปลากัดหม้อ และปลากัดยักษ์ ทั้งหมดนี้ ผสมพันธุ์ขึ้นโดยฝีมือคนไทย ให้ได้สีสันแปลกตา ก่อนนำจำหน่ายและส่งออกสู่ท้องตลาด ซึ่งไม่กี่เดือนที่ผ่านมาได้รับการเก็บบันทึกข้อมูล ทั้งเซลล์ รหัสพันธุกรรม และอื่นๆ มาแช่แข็งไว้ ทำให้ผู้เพาะพันธุ์สามารถ เพาะเลี้ยงปลากัดที่มีลักษณะและสีคล้ายเดิมต่อไปได้ ผ่านโครงการทรัพยากรชีวภาพปลากัดแห่งชาติ ที่เป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักการวิจัยแห่งชาติ และสมาคมปลากัดไทย 
โดยวันนี้ได้มีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือและวางแผนของโครงการต่อจากนี้ เพื่อพัฒนาแนวทางการวิจัย การอนุรักษ์ ก่อนนำข้อมูลที่ได้มาใช้ปรับปรุงพันธุ์ปลากัดเลี้ยงและปลากัดตามธรรมชาติ และทดลองโคลนนิ่งปลากัดเป็นครั้งแรก ซึ่งจะเป็นรากฐานในการคุ้มครองพันธุ์ปลากัดไทยที่เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ และสร้างมูลค่าให้สัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดนี้ที่ปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึงกว่า 130 ล้านบาท ได้ในอนาคต
รองศาตราจารย์ ดร. ครศร ศรีกุลนาถ ประธานโครงการระบุว่า จากการเพาะเลี้ยงในปัจจุบันทำให้ปลากัดสายพันธุ์ต่างๆ สูญเสียความเป็นพันธุ์ไป การวิจัยนี้จึงสามารถช่วยเก็บตัวอย่างเอกลักษณ์ของสายพันธุ์ปลากัดไทยไว้ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งขณะนี้มีการจัดทำข้อมูลสายพันธุ์ปลาดกัดอมไข่กระบี่ ปลากัดป่าและสายพันธุ์อื่นทั่วประเทศแล้ว
เบื้องต้นงานวิจัยนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปีในการดำเนินการ และจะเริ่มโคลนนิ่งปลากัดตัวแรกให้ได้ในเร็วๆ นี้ เพื่อยกระดับชนิดและสายพันธุ์ปลากัดไทย ผ่านระบบฐานข้อมูล โดยทางโครงการก็ได้มีแผนการขึ้นทะเบียนพันธุ์ปลากัดที่มีสีใหม่ๆ จากกรพัฒนาได้ และผลักดันการจดสิทธิบัตรการเพาะพันธุ์ปลากัดไทยให้ได้ในอนาคต เพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของปลากัดไทย

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ