สังคม

กรมชลประทานเตือนชาวนารับมือฝนทิ้งช่วง แนะทำนาหลังกลางเดือน ก.ค.

โดย

28 มิ.ย. 2563

510 views

แม้จะเป็นจะเป็นเดือนที่อยู่ในฤดูฝน แต่คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ก็ยังเตือนให้เกษตรกรโดยเฉพาะชาวนาเตรียมรับมือภาวะฝนทิ้งช่วง หรือสถานการณ์แล้งหน้าฝน ตั้งแต่ปลายเดือนนี้ถึงกลางเดือนหน้า โดยแนะนำให้ผู้ปลูกข้าวนาปี ให้ปลูกหลังสิ้นสุดช่วงฝนทิ้งช่วง ส่วนเขื่อนใหญ่ในภาคอีสาน คือเขื่อนอุบลรัตน์ ยังไม่พ้นวิกฤต ปริมาณน้ำในอ่างตอนนี้ น้อยที่สุดในรอบ 53 ปี 
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นสิ่งชี้วัดสถานการณ์น้ำในภาคอีสานได้เด่นชัด จากการที่จนถึงขณะนี้ แม้จะเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว แต่ยังมีฝนตกเหนือเขื่อน หรือน้ำไหลเข้าเขื่อนน้อยมาก โดยอ่างเก็บน้ำซึ่งมีความจุ 2431 ล้าน ลบม. ณ วันนี้มีน้ำเหลืออยู่ 314.32 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำใช้การไม่มีแล้ว แต่ขณะนี้นำน้ำก้นอ่าง มาใช้แล้ว 267 ล้านลูกบาศก์เมตร จัดว่าอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยมาก
ขณะอ่างเก็บน้ำเขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำเลี้ยงบางสว่นจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น ก็อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยมาก เพราะจนถึงขณะนี้ มีน้ำใช้การได้ราว 45 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุของอ่าง163 ล้านลูกบาศก์เมตร 
ทั้งสองเขื่อนนี้มีน้ำน้อยเหลืออยู่ปริมาณน้อย ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว จากภาวะฝนตกน้อย และปีนี้ก็เช่นกัน โดยเฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์ มีน้ำน้อยสุดนับแต่สร้างเขื่อนมา 53 ปี
ข้อมูลจากสำนักงานชลประทานที่ 6 ซึ่งรับผิดชอบ 5 จังหวัดในลุ่มน้ำพอง น้ำชี น้ำปาว และน้ำยัง ระบุว่าแหล่งน้ำใน 3 เขื่อนใหญ่รวมกัน คือเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำปาว และเขื่อนจุฬาภรณ์ รวมกว่า 4575 ล้านลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 69 แห่ง ความจุ 440 ล้านลูกบาศก์เมตร และอ่างขนาดเล็ก 1037 แห่ง ความจุรวม 308 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ละขนาดมีน้ำอยู่ไม่เกิน 30 เปอเซ็น เมื่อรวมทั้งหมด จะยังรับน้ำได้อีก ราว 70 เปอร์เซ็น
นอกจากนี้ ปริมาณฝนในภาคอีสานตั้งแต่ต้นปี น้อยกว่าค่าเฉลี่ยราว 20 เปอร์เซ็น คาดการณ์ว่าฤดูฝนปีนี้ แม้จะมีฝนตกมากกว่าปีที่แล้ว แต่ก็ยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยะราว 5 เปอร์เซ็นต์ 
เมื่อบวกกับภาวะฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ปลายเดือนนี้ถึงต้นปีหน้า จะยิ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ตอนนี้คณะกรรมการลุ่มน้ำในจังหวัดขอนแก่น และชลประทาน ได้ประกาศแจ้งเตือนให้เตรียมรับมือ หรือหาแหล่งน้ำ จากภาวะน้ำน้อยและฝนทิ้งช่วง โดยเฉพาะชาวนา ที่ต้องวางแผนหาแหล่งน้ำ หรือชะลอการเพาะปลูกไปถึงกลางเดือนหน้า 
ขณะที่กรมชลประทาน ก็แจ้งเตือนเกษตรกรเช่นกันว่า ตั้งแต่ปลายนเดือนนี้ถึงกลางเดือนหน้า จะมีปริมาณฝนตกน้อย จากภาวะฝนทิ้งช่วง หรือสถานการณ์แล้งหน้าฝน โดยข้อมูลนี้มาจากการวิเคระห์ร่วมกันของคณะอนุกรรมการติดตมและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณน้ำ ที่ประกอบด้วยกรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมชลประทาน เพื่อนำข้อมูลนี้ไปสู่แจ้งเตือน และวางแผนรับมือ
นอกจากนี้ ยังมีคำแนะนำ ให้เกษตรกรที่อยู่นอกจากนี้ ยังแนะนำเกษตรกรที่ทำนาปี หรือทำนาจากการพึ่งพาน้ำฝน ที่ยังไม่ได้เพาะปลูก ควรเริ่มทำนาได้หลังกลางเดือนหน้า หรือหลังสิ้นสุดภาวะฝนทิ้งช่วงไปแล้ว เพื่อให้มีน้ำเพียงพอ และหลีกเลี่ยงภาวะขาดน้ำ เพราะอ่างเก็บน้ำต่างๆ อาจไม่สามารถสนับสนุนแหล่งน้ำให้ได้ทั้งหมด
สำหรับ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ก็มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเช่นกัน ทำให้ขณะนี้เขื่อนภูมิพลมีน้ำใช้การได้ 222 ล้าน ลบม.หรือเพียง 2 เปอเซ็น ของน้ำที่ใช้การได้ เขื่อนสิริกิตต์ มีน้ำ508 ล้าน ลบม.หรือ 8 เปอเซ็น ของน้ำใช้การได้ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีน้ำ150 ล้าน ลบม. หรือ 17 เปอเซ็นของน้ำใช้การ ได้และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีน้ำ 106 ล้าน ลบม.หรือ เพียง 11 เปอเซ็นของน้ำใช้การได้

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ