สังคม

สนมท.ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง นายกฯ เนื่องในวันช่วยเหลือเหยื่อจากการทรมานสากล ขอยุติกฎอัยการศึก - พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

โดย

26 มิ.ย. 2563

609 views

วันนี้ (26 มิ.ย.) เป็นวันช่วยเหลือเหยื่อจากการทรมานสากล หรือวันต่อต้านการทรมานสากล ที่ประเทศไทยได้ลงนามและเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการซ้อมทรมาน ของสหประชาชาติ ตั้งแต่ปี 2550 แต่ในช่วงที่ผ่านมาพบ ว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากการซ้อมทรมานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ต่ำกว่า 142 ราย ทำให้วันนี้ สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทยและมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี และองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้ยุติการซ้อมทรมานจากเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่ขอให้ยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินด้วย 
สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ยื่นจดหมายถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้ยุติการซ้อมทรมานและช่วยเหลือเหยื่อให้ได้รับความเป็นธรรม เนื่องในวันช่วยเหลือเหยื่อจากการทรมานสากล โดยนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี โดยขอให้ยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะหมดความจำเป็นในการป้องกันการระบาดของรัฐดควิด-19 เพราะมีข้อกังวลต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2548 ขอให้ยกเลิกประกาศกฏอัยกายศึกด้วย 
รวมทั้งห้ามไม่ให้มีการคุมตัวในสถานที่ลับ ขอให้สถานที่คุมตัวต้องเป็นสถานที่ทางการ ให้เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวต้องบันทึก ชื่อ สถานที่เวลาของการคุมขัง ให้ครอบครัวหรือญาติของผู้ถูกคุมตัว สามารถขอให้ศาลสั่งยุติการทรมานได้ และศาลอาจสั่งให้มีการปล่อยตัวให้ผู้เสียหายไปพบแพทย์ และออกมาตรการเยียวยา เพื่อไม่ให้เกิดกรณีแบบนายอับดุลเลาะห์ อีซอมูซอ ที่เสียชีวิตในขณะควบคุมตัวในค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เมื่อปี 2562 และกับอีกไม่ต่ำกว่า 9 คดีที่มีรายงานการซ้อมทรมานในค่ายทหาร ระหว่างปี 2562 และอีกไม่ต่ำกว่า 142 คดีจากการร้องเเรียนไปยังเครือข่ายภาคประกันสังคม โดย 22 คดีที่ร้องเรียนในปี 2563 ซึ่งเป็นการทรมานแบบไร้ร่องรอย 
จากรายงานการซ้อมทรมานในปี 2562-2563 พบว่ามี 8 ประเภท เช่นการบังคับให้ยืนเปลือยในห้องแอร์เป็นเวลานาน การขู่ทำร้ายญาติและครอบครัวของเหยื่อ การทำร้ายและการทรมานที่ทิ้งร่องรอยบาดแผล การทรมานในลักษณะ water boarding การห้ามปฏิบัติศาสนกิจ การย่ำยีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การซ้อมทรมานที่สร้างความเสียหายให้กับอวัยวะภายในโดยไม่ทิ้งร่องรอยภายนอก และการตบกกหู
ในข้อเรียกร้องหนึ่งจึงขอให้การดำเนินคดีได้กำหนดให้ผู้ใดก็ตามที่พบเห็นการกระทำความผิดมีหน้าที่ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่รัฐรับการร้องเรียน ส่งต่อให้กรรมการ ซึ้งกำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและบุคคลสูญหาย ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีไปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันการซ้อมทรมานและการถูกอุ้มหาย
สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ยื่นหนังสือถึงองค์การสหประชาชาติด้วย เนื่องจากประเทสไทยได้ลงนามและเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการซ้อมทรมานของสหประชาชาติ ตั้งแต่ปี 2550 แต่กลับยังมีปัญหาการซ้อมทรมานและการถูกอุ้มหายที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐและไม่มีผู้กระทำผิด

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ