ต่างประเทศ

'วันผู้ลี้ภัยโลก' UNHCR ห่วงผู้พลัดถิ่นสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

โดย

20 มิ.ย. 2563

712 views

วันผู้ลี้ภัยโลกปีนี้ ผู้ลี้ภัยทั้่วโลกต้องเผชิญสถานการณ์โควิด-19 เช่นเดียวกับคนทั่วโลก แต่สำหรับผู้ลี้ภัยยิ่งกลายเป็นปัญหาที่วิกฤตและท้าทาย ที่ปีนี้ถือว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 79.5 ล้านคน มากที่สุดในประวัติการณ์ และพบว่าในจำนวนประชากรร้อยละ 1 ของประชากรโลก กลายเป็นผู้พลัดถิ่น ทำให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ยังคงต้องทำงานอย่างหนักในการคุ้มครองชีวิตและความปลอดภัยให้กับผู้ลี้ภัยทั้งจากสถานการณ์สงครามความขัดแย้ง การประหัตประหาร ความอดอยากและโรคระบาด ซึ่งต้องการความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนทั้งโลกเพื่อร่วมเคียงข้างผู้ลี้ภัย 
ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก กลายเป็นความยากลำบากที่ซ้ำเติมผู้ลี้ภัยทั่วโลก ที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์กว่า 79.5 ล้านคน ในสิ้นปี 2562 ทำให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR ต้องทำงานหนักมากขึ้นร่วมกับผู้ลี้ภัยในการปกป้องโรคระบาดที่ร้ายแรงนี้ไม่ให้เกิดขึ้นในค่ายผู้ลี้ภัย 
เช่นในค่ายผู้ลี้ภัยชาวโรงฮิงญา เมืองคอกซ์บาซาร์ ประเทศบังคลาเทศ ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด เช่นเดียวกับทั่วโลกที่ยังมีปัญหาเศรษฐกิจ ที่ทำให้หน่วยงานด้านมนุษยธรรม และ UNHCR ต้องระดมความช่วยผู้ลี้ภัย ที่วันผู้ลี้ภัยโลกปีนี้ unhcr เรียกร้องประเทศต่างๆทั่วโลกให้ขยายความช่วยเหลือมอบที่พักพิงให้ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นทั่วโลก ที่มีการถูกบังคับให้พลัดถิ่นมากกว่าร้อยละ 1 ของประชากรโลก หรือ 1 ใน 97 คน และมีอัตราการได้กลับบ้านเกิดลดน้อยลงทุกที โดยรายงานของ พบว่ามากกว่า 45.7 ล้านคนพลัดถิ่นภายในประเทศ กว่า 4.2 ล้านคนกำลังรอผลการพิจารณายื่นขอลี้ภัย และ 29.6 ล้านคนเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งมาจากสงครามความขัดแย้ง เช่นซีเรียที่ยืดเยื้อมากกว่า 9 ปี 
รายงานประจำปีของ UNHCR พบด้วยว่า มีผู้คนอย่างน้อยกว่า 100 ล้านคน ที่ถูกบังคับออกจากบ้านกิดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และการพลัดถิ่นเพิ่มขึ้นเท่าตัว ตั้งแต่ปี 2553 จาก 41 ล้านคนเพิ่มเป็น 79.5 ล้านคนในปีนี้ และร้อยละ 80 ของผู้พลัดถิ่นทั่วโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่ขาดความมั่นคงทางอาหารและมีภัยธรรมชาติอีกด้วย และอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา โดย 2 ใน 3 ของจำนวนผู้พลัดถิ่นที่ต้องออกนอกประเทศ มาจาก 5 ประเทศ คือ ซีเรีย เวเนซูเอลา อัฟกานิสถาน ซูดานใต้ และเมียนมา ซึ่ง UNHCR เห็นว่าทางออกที่ยั่งยืนสำหรับพวกเขาคือการได้กลับมาตุภูมิด้วยความสมัครใจ แต่แนวโน้มทำได้น้อยลลง การสร้างความเป็นน้ำหนึ้งใจเดียวกันสร้างความเข้าใจที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์จึงยังเป็นสิ่งที่ต้องการการสนับสนุนจากทั่วโลก
นอกจากนี้ สถานการณ์โควิด-19 ยังเป็นความท้าทายที่ UNHCR ต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้การคุ้มครองผู้ลี้ภัยจากโรคระบาดและยังมีสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการว่างงานที่ทำให้หน่วยงานด้่านมนุษยธรรมต้องทำงานอย่างหนัก
สำหรับประเทศไทยให้การช่วยเหลือผู้หนีภัยจากการสู้รบจากเมียนมาที่อยู่ในค่ายผุ้ลี้ภัยชายแดนไทย เกือบ 1 แสนคนมากว่า 30 ปีแล้ว ถือเป็นน้ำใจที่ยิ่งใหญ่ของคนไทย แม้ที่ผ่านมาทั้งสองรัฐบาลจะพยายามในการส่งกลับแต่ยังทำได้ไม่มาก และยังมีสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ล่าช้าออกไป แต่ UNHCR พร้อมให้การสนับสนุน รวมถึงการทำงานกับรัฐบาลในการเริ่มกระบวนการคัดกรองให้สถานะผู้ลี้ภัยของประเทศไทยเพื่อการให้ความคุ้มครองกับคนที่ต้องการความช่วยเหลือ และต้องขอบคุณคนไทยที่อยู่เคียงข้างผู้ลี้ภัยเสมอมา
UNHCR ตั้งเป้าหมายการพัฒนาอย่างยิ่งยืนภายในปี 2573 ว่าด้วย เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และยืนเคียงข้างผู้ลี้ภัย

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ