สังคม

ทีมแพทย์เร่งตรวจสอบสารเคมี ย้ำเด็ก 2 คนมีอาการคล้ายกัน เผยจับพิรุธได้ ก่อนห้ามแม่ปุ๊กเอาอาหารเยี่ยม

โดย

26 พ.ค. 2563

8.9K views

วานนี้ (25 พ.ค.) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ แถลงระบุ เด็ก 2 คนเข้ารับการรักษาในอาการที่คล้ายกัน เมื่อส่องกล้องพบมีแผลในทางเดินอาหาร ซึ่งอาจเกิดจากการได้รับสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เผยแพทย์พบผิดสังเกต จนต้องมีการจำกัดการเข้าเยี่ยม
โดยรศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ พร้อมด้วย ดร.ขนิษฐา บูรณพันศักดิ์ หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์ ระบุถึงกรณีการรักษา ด.ญ. 4 ขวบ และ ด.ช. 2 ขวบกับทางโรงพยาบาล
โดย ด.ช. 2 ขวบเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 13 -23 มกราคม 2563 ที่หอผู้ป่วยพิเศษ ด้วยอาการอาเจียนเป็นเลือด จากการซักประวัติคุณแม่ 10 วันก่อน น้องมีการการอาเจียนเป็นเลือด หลังกินปลาหมึกย่าง และก่อนหน้าได้เข้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งในจังหวัดอุบลราชธานี
เมื่อเข้ารับการรักษา ทีมแพทย์ส่องกล้องหาสาเหตุของอาการ อาเจียนออกมาเป็นเลือดสีดำ หลอดอาการ กระเพราะอาหาร พบมีการอักเสบของเยื่อบุกระเพราะอาการ และอาการเริ่มดีขึ้น สามารถรับประทานอาการได้ และกำลังจะให้กลับบ้าน
แต่ในวันที่ 23 มกราคม น้องกลับมีอาการทรุดในลักษณะที่คล้ายเดิม คือ ปวดท้องกระทันหัน อาเจียนเป็นเลือด ปากบวม อุจจาระเหลวสีดำ ซึ่งถือว่าวิกฤต จึงต้องย้ายน้องเข้ามารักษาอาการที่ห้องไอซียู และเมื่อส่องกล้องซ้ำที่กระเพราะอาหาร มีแผลอักเสบรุนแรง และทำให้ทางทีมแพทย์เริ่มสงสัยว่าร่างกายของน้อง น่าจะได้รับสารกัดกร่อน 
ซึ่งทีมแพทย์รักษาจนถึงต้นเดือน เมษายน น้องออกจากห้องไอซียู กลับมารักษาที่หอผู้ป่วยพิเศษ ซึ่งน้องสามารถรับอาการจากบุคคลภายนอกที่เข้ามาเยี่ยม และทางญาติก็สามารถเข้ามาเยี่ยมได้ตามปกติ แต่เมื่อออกมาได้ไม่นาน อาการของน้องก็ทรุดและดี สลับกัน ทางทีมแพทย์จึงเริ่มจำกัดการเข้าเยี่ยม ในระยะเวลาประมาณ 1 เดือนครึ่ง โดยมีการไม่อนุญาตให้นำอาหารเข้ามาเยี่ยม และเวลาที่แม่ปุ๊กเข้าเยี่ยม ก็จะมีทีมแพทย์คอยอยู่ด้วยตลอดเวลา ก็พบว่าอาการดีขึ้น
จนวันที่ 14 พ.ค. น้องอาการดีขึ้น กำลังจะเตรียมตัวกลับ แต่ทางทีมแพทย์แจ้งกับทางแม่ปุ๊กว่า ให้น้องนั้นอยู่ที่โรงพยาบาลไว้ก่อน เพื่อประวิงเวลา ขณะที่หมออีกทีมหนึ่งก็ไปประสานกับทาง พม. เพื่อให้มารับตัวน้อง ในวันที่ 18 พ.ค.
ทั้งนี้ การตั้งข้อสังเกตของทีมแพทย์มองว่ามีหลายประเด็นที่ไม่ตรงกับอาการ โดยหากเป็นการแพ้อลการ เมื่อไม่ได้รับเชื้อนั้นแล้ว อาการก็จะทุเบาลงและหายไป แต่กรณีของเด็กทั้งสองคนนี้ แม้ว่าจะไม่ได้รับอาหารชนิดนั้นแล้ว อาการก็ยังคงทรุดอยู่ ทำให้ทีมแพทย์คาดว่า น่าจะเกิดอาการแพ้สารเคมีบางชนิดที่ไม่ใช่อาหาร ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อน ซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะจุดของร่างกาย ซึ่งเป็นทางระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่ปาก ไปจนถึง กระเพาะอาการ
ส่วนของ ด.ญ. 4 ขวบ เข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลในวันที่ 20 ธ.ค. 61 รักษากันอยู่ประมาณ 8 เดือน ก่อนที่จะเสียชีวิตในวันที่ 12 ส.ค. 62 โดยมีการเข้าออกจากโรงพยาบาล 7 ครั้ง ซึ่งมีอาการคล้ายกันกับ ด.ช. 2 ขวบ โดย ด.ญ. 4 ขวบ มีอาการเลือดออกจากทางเดินอาหาร จึงต้องส่องกล้อง พบว่ามีอาการอักเสบตามเยื่อบุต่างๆซ้ำไปซ้ำมา และมีความดันโลหิตสูงมาก และต่อมาน้องเสียชีวิตด้วย ภาวะตับและไตวาย ซึ่งน่าจะเกิดจากการที่ได้รับ ภาวะแทรกซ้อนหลายโรคและต้องรักษาตามอาการโดยการให้ยา 
ส่วนเรื่องค่ารักษาพยาบาลของน้องทั้งสองคนการรักษาตามสิทธิ์ 30 บาท ของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. , กองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยเด็ก และ กองทุนสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โดยค่าใช้จ่ายของน้องยิ้มทั้งหมด อยู่ที่ประมาณ1 ล้าน 5 แสนบาท ซึ่งมีการส่งเลือดไปตรวจต่างประเทศ ซึ่งแม่จ่ายค่าส่วนต่างอยู่ที่ 4 แสน 3 หมื่น
ส่วน ด.ช. 2 ขวบ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 1 ล้าน 2 แสน ส่วนเกินอยู่ที่ประมาณ 8 หมื่น 6 พันบาท ซึ่งแม่มีส่วนต่างที่ต้องชำระอยู่ที่ 4 หมื่น 3 พันบาท และใช้เงินกองทุนเด็กอีก 4 หมื่น 3 พันบาท
อย่างไรก็ตาม สารเคมีที่เด็กทั้งสองคนได้รับ อยู่ระหว่างการตรวจสอบให้แน่ชัด จึงอยากจะให้รอผลทางชัดเจน และรอการสรุปจากพนักงานสอบสวนอีกครั้ง เนื่องจากหลายประเด็นมีผลกระทบต่อรูปคดี
ชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/AU9XCq5VrSk

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ