สังคม

วิกฤตภัยแล้งยังหนัก! โคราชเหลือน้ำใช้ 17% - แม่น้ำยมแห้งขอด

โดย

23 พ.ค. 2563

2.1K views

นครราชสีมา - เขื่อนที่โคราชเหลือปริมาณน้ำใช้การเพียง 17% ชลประทานเตือนประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด
โดย นายกิติกุล เสภาศีราภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครราชสีมา เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในจังหวัดนครราชสีมาว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำฝนของจังหวัดนครราชสีมาในปี 2562 มีฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 30% ทำให้ 4 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และ 23 อ่างเก็บน้ำขนาดกลางของจังหวัด ปัจจุบันมีปริมาณน้ำใช้การได้ 17%
ทั้งนี้กรมชลประทานได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องเกษตรกรติดตามข่าวสารข้อมูลสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างต่อเนื่องว่า มีปริมาณฝนตกสม่ำเสมอในช่วงใด และมีน้ำในพื้นที่เพาะปลูกเพียงพอหรือไม่ เกษตรกรจะต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และต้องคำนึงถึงปัญหาฝนทิ้งช่วงด้วย โดยปัจจุบันปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำเหลือน้อยมาก จึงจำเป็นจะต้องสงวนน้ำเก็บกักเอาไว้ให้ได้มากที่สุดเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนเกษตรกรให้ทำการเกษตรโดยใช้น้ำฝนเป็นหลัก และใช้น้ำในอ่างเก็บน้ำให้น้อยที่สุด
ล่าสุดปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนขนาดใหญ่ของจังหวัดนครราชสีมา เขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว เหลือปริมาณน้ำ 92 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 29% ของความจุเขื่อน, เขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย เหลือปริมาณน้ำ 13 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 8% ของความจุเขื่อน, เขื่อนมูลบน อ.ครบุรี เหลือปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 18% ของความจุเขื่อน และเขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี เหลือปริมาณน้ำ 39 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 14% ของความจุเขื่อน ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยที่ต้องมีการบริหารจัดการอย่างรอบคอบ
พิจิตร - พิจิตรแล้งหนักแม่น้ำยมและแหล่งน้ำธรรมชาติแห้งขอด ชาวนาในพื้นที่น้ำหลากต้องสูบน้ำจากบ่อบาดาล ที่เจาะในแม่น้ำยมขึ้นมาทำนา ลงทุนขุดบ่อตามน้ำใต้ดินที่ลดระดับลงกว่า 8 เมตร
สถานการณ์แม่น้ำยมยังวิกฤติแม่น้ำยมที่ไหลผ่าน 4 อำเภอของจังหวัดพิจิตร ยังอยู่ในสภาพที่แห้งขอดจนเห็นท้องน้ำส่งผลกระทบกับการเพาะปลูกข้าว ชาวนาในพื้นที่หมู่ 3 บ้านวังเทโพ ตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ต้องอาศัยสูบน้ำจากบ่อบาดาลที่เจาะไว้กลางพื้นท้องแม่น้ำยมที่แห้งขอดเพื่อนำขึ้นไปทำนา เพื่อให้ทันเก็บเกี่ยว ในพื้นที่น้ำหลาก
นาย นายสมจิตร อยู่ศิลปชัย เกษตรกรชาวนาประสบปัญหาขาดน้ำ เนื่องจากแหล่งน้ำธรรมชาติแห้งจนหมด โดยเฉพาะแม่น้ำยมที่แห้งขอดมากว่า 5 เดือน จึงต้องดิ้นรนหาแหล่งน้ำวิธีการที่นำมาใช้คือการสูบน้ำจากบ่อบาดาลที่เจาะในท้องแม่น้ำยมที่แห้งขอดเพื่อสูบน้ำขึ้นมาในบ่อพักก่อนที่จะใช้มอเตอร์สูบน้ำจากบ่อขึ้นไปเลี้ยงต้นข้าว โดยหลังจากที่สูบน้ำจากกลางแม่น้ำยม พบว่า ระดับน้ำใต้ดิน ได้ลดระดับลง ไปกว่า 8 เมตร จึงต้องลงทุนเพิ่มเป็นเงิน กว่า 12000 บาท ในการขุดวงท่อ ลงไปยังพื้นใต้ดินกลางแม่น้ำยม เพื่อนำน้ำขึ้นมาทำการเกษตรนาข้าว ในช่วงนี้ เพื่อให้ทันต่อการเก็บเกี่ยว ในช่วงฤดูน้ำหลาก
สำหรับการสูบน้ำจากบ่อบาดาลที่เจาะในท้องแม่น้ำยมที่แห้งเป็นวิธีที่ชาวนาในพื้นที่ริมแม่น้ำยมนิยมนำมาใช้เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถนำน้ำขึ้นมาเลี้ยงต้นข้าวได้ แต่ก็ต้องประสบปัญหาต้นทุนสูงขึ้นเนื่องจากต้องสูบน้ำ 2 ครั้ง ครั้งแรกสูบจากใต้ดินในท้องแม่น้ำยมขึ้นมาในบ่อพักน้ำในแม่น้ำ ก่อนที่จะใช้มอเตอร์สูบจากบ่อน้ำขึ้นไปเลี้ยงต้นข้าว ซึ่งชาวนาต้องยอมเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นวิธีเดียวที่จะสามารถหาน้ำขึ้นมาเลี้ยงต้นข้าว ในช่วงวิกฤติแม่น้ำยมไม่มีน้ำ
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/cMS_Fa85iWk

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ