สังคม

รู้จักโรค ‘อีร์ฟาน ข่าน’ มะเร็งประหลาดไร้ที่มา ปวดท้อง ท้องเสีย พบเร็วรักษาได้ แพทย์แนะทางป้อง

โดย

30 เม.ย. 2563

27.7K views

จากกรณีข่าวช็อกสะเทือนวงการบอลลี่วูดเมื่อ อีร์ฟาน ข่าน (Irrfan Khan) นักแสดงชาวอินเดียมากความสามารถ ผู้โด่งดังจากภาพยนตร์ดีกรีรางวัลออสการ์อย่าง Life Of Pie และ Slumdog Millionaire ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันพุธที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา ในวัย 53 ปี...

ทางตัวแทนของข่านได้เปิดเผยว่า “ข่านเป็นหนึ่งนักแสดงดังชาวอินเดียผู้เป็นที่รักของทุกคน เขาได้เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคม 2561 ว่า ตัวเองเป็น ‘มะเร็งเน็ต’ ซึ่งพบได้น้อยมาก เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ข่านต้องเข้าห้องไอซียูที่โรงพยาบาลโคคิลาเบน ดิรุไบ อัมบานิ ในเมืองมุมไบ เนื่องจากมีการติดเชื้อในลำไส้ใหญ่ ก่อนจะเสียชีวิต

ทีมข่าวช่อง 3 ออนไลน์จะพาทำความรู้จักกับโรค ‘มะเร็งเน็ต’ โดยได้ทำการสัมภาษณ์ นพ.จีรวัส ศิลาสุวรรณ อายุรแพทย์ศาสตร์ ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้เรียงข้อมูลวิชาการให้คุณอ่านง่ายๆ ดังต่อไปนี้

            มะเร็งเน็ตคืออะไร?

มะเร็งเน็ต(NET) ย่อมาจาก Neuroendocrine Tumor เป็นมะเร็งที่พบในเนื้องอกของเนื้อเยื่อที่ผลิตเกี่ยวกับพวกฮอร์โมนต่อมไร้ท่อ หรือระบบประสาท ซึ่งจะพบได้ในอวัยวะหลายตำแหน่งทั่วทั้งร่างกาย และจะพบ 1-5 คนในจำนวน 1 แสนคน

            สาเหตุของโรค

ส่วนสาเหตุของมะเร็งเน็ตนั้น นพ.จีรวัส กล่าวว่า "ไม่ทราบแน่ชัด อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ หากใครในครอบครัวเป็นมะเร็งเน็ต ก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์"

            ตำแหน่งที่พบ

มะเร็งเน็ต จะพบที่ระบบทางเดินอาหารบ่อยที่สุด รองลงมาเป็น ตับอ่อน และปอด ซึ่งอาการหนักหรือเบาจะขึ้นอยู่กับว่า พบที่อวัยวะส่วนใดของร่างกาย

            การวินิจฉัยโรค

- เจาะเลือด

- เอกซเรย์

- อัลตร้าซาวน์

- ตรวจชิ้นเนื้อ

            อาการ(หากพบในระบบทางเดินอาหาร)

- ปวดท้อง

- ร้อนวูบวาบคล้ายหมดวัยทอง

- ท้องเสีย

หอบหืด

- น้ำท่วมปอด

- ใจสั่น

            อาการ (หากพบที่ตับอ่อน)

- ปวดท้อง

- น้ำตาลต่ำ

            การรักษา (หากตรวจพบในระยะแรก)

- ผ่าตัดเนื้องอกเซลล์มะเร็งตามตำแหน่งที่เจอ

           การรักษา (หากตรวจพบในระยะลุกลาม)

- การให้ฮอร์โมนเพื่อกดอาการ ภาวะข้างเคียง หรือผลแทรกซ้อน

- เคมีบำบัด

- ฉายแสงหรืออุดเส้นเลือด (ในกรณีเลวร้ายที่สุด)

           มะเร็งเน็ต เป็นแล้วถึงตายหรือไม่?

หากตรวจพบในระยะเริ่มแรก 90% สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากตรวจพบในระยะลุกลาม ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายขาด แต่สามารถรักษาเพื่อยืดอายุให้อยู่ได้นานขึ้น ซึ่งผู้ป่วยบางราย อาจอยู่ได้นานถึง 4-5 ปี

           การป้องกัน

- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

- อย่าปล่อยให้น้ำหนักเกิน

- กินอาหารครบ 5 หมู่

- ไม่ทานอาหารปิ้งย่างหรือของไหม้บ่อย

- ไม่ดื่มสุรา

- ไม่สูบบุหรี่

- พักผ่อนให้เพียงพอ

- ไม่ทานอาหารสุกๆ ดิบๆ

- ตรวจคัดกรองมะเร็งประจำปี.

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ