สังคม

สอวช. เปิดแผนยุทธศาสตร์ 5 ส่วน หลังวิกฤตโควิด-19

โดย

26 เม.ย. 2563

2.1K views

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมแห่งชาติหรือ สอวช. และสถาบันอนาคตไทยศึกษา ได้ร่วมกันหารือและจัดทำภาพของประเทศไทย 4 ระยะ หลังจากวิกฤตโควิด-19 โดยได้เสนอ 5 ยุทธศาสตร์ในการสร้างความมั่นคงทางชีวิตของมนุษย์ตลอด 10 ปีต่อจากนี้
ระยะแรก คือช่วง 1-6 เดือนแรก ที่มีการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในระยะนี้ และกำลังจะเข้าสู่ในระยะที่ 2 ในการผ่อนคลายการควบคุม เริ่มเข้าสู่การกลับมาใช้ชีวิตปกติ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ในช่วงเดือนที่ 7-12 ก่อนจะเริ่มระยะที่ 3 หรือ recovery ในเดือนที่ 13-18 เพื่อฟื้นตัวและปรับตัวภายหลังสถานการณ์คลี่คลาย 
และสุดท้าย คือระยะที่ 4 คือการปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมใหม่ ในช่วง เดือนที่ 19 จนถึง 5 ปีข้างหน้า
สอวช. จึงมองว่า จำเป็นต้องมีแผนยุทธศาสตร์ที่จะมารองรับต่อจากนี้ โดยได้ร่างแผนยุทธศาสตร์เพื่อความยั่งยืนใน 5 ส่วน คือ 
1. สร้างความมั่นคงทางคุณภาพชีวิต ปรับจากปัจจุบันที่ใช้เศรษฐกิจเป็นพื้นฐานของทุกสิ่งเป็นใช้ความมั่นคงของมนุษย์เป็นตัวตั้งแทน ผ่านความมั่นคงทางอาหาร ที่ทั่วถึง ความมั่นคงทางสุขภาพ ยกระดับและเพิ่มศักยภาพของรับบสาธารณสุขให้เพียงพอ ความมั่นคงทางพลังงานและทางอาชีพใหม่ๆ ที่จะมารองรับประชากรในอนาคต
2. การสร้างความสุขของประชากรที่สมดุลมากกว่าการวัดค่า GDP ด้วยการสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดใหม่ให้กับประเทศ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอื่นๆ ไปพร้อมกัน ทางชีวภาพ วงล้อเศรษฐกิจ และ เศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสร้างความเท่าเทียมและมั่นคงตั้งแต่เศรษฐกิจท้องถิ่น ไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่มารองรับในอนาคต
3. การยกระดับคุณภาพการศึกษาและทุนมนุษย์ เพิ่มการศึกษากระจายให้ทุกสังคมอย่างเท่าเทียม ลงทุนและพัฒนาความสามารถให้ตอบโจทย์อนาคต และขับเคลื่อนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ แก้ปัญหาความยากจนรายบุคคล สร้างโอกาสและระบบสวัสดิการให้คลอบคลุม
5. การสร้างสังคมที่เปิดรับและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนเเปลง ด้วยการเปิดให้เข้าถึงระบบข้อมูลเปิดและรัฐบาลที่โปร่งใส ผ่านระบบแพลตฟอมระดับชาติ สร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจเพื่อสังคมและกลุ่มสังคมจิตอาสา และเตรียมระบบบริการจัดการวิกฤตที่มีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงข้อเสนอจากผู้ทรงคุณวุฒิของ 2 องค์กรในการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อความยั่งยืนภายหลังจากเกิดวิกฤตโควิด 19 ขึ้น เท่านั้น ซึ่งมองว่าหากประเทศไทยมีการสร้างแผนงานที่มั่นคงและเข้มแข็ง ก็จะพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคตได้

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ