สังคม

'หมอยง' ชี้สายพันธุ์โควิด-19 เปลี่ยนแปลงได้ตามวิวัฒนาการ - นักวิจัยจีนเผยอากาศร้อนไม่ช่วยฆ่าเชื้อ

โดย

25 มี.ค. 2563

18.3K views

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ถึงสายพันธุ์โควิด-19 มีการเปลี่ยนแปลงตามวิวัฒนาการ สามารถแพร่กระจายได้ดีกว่า โดยคุณหมอระบุว่า....

สายพันธุ์โควิด-19 มีการเปลี่ยนแปลงตามวิวัฒนาการ จากกลุ่ม S (serine) มาเป็น L (leucine) ไม่ใช่ขนาดที่เราคุ้นนะครับ ว่ามี S M และ L สายพันธุ์เริ่มต้นเป็น S และมีการวิวัฒนาการเป็น L สายพันธุ์ L แพร่กระจายได้ดีกว่า

สายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยเป็น L สายพันธุ์ที่พบในยุโรป ก็เป็น L ส่วนที่พบในอเมริกา ในขณะนี้มีแนวโน้มเป็น S มากขึ้น

สายพันธุ์ L ในยุโรป แบ่งออกเป็นอีก 3 กลุ่มย่อย (1 2 3 ) ดังรูป จะเห็นว่ากลุ่ม 1 เป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ พบได้มากในอิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศษ และ เนเธอแลนด์ ไปจนถึงอังกฤษ ในขณะเดียวกัน สายพันธุ์ในกลุ่ม 1 ที่พบในอิตาลี มีอัตราตายของผู้ป่วยสูง แต่ตรงกันข้ามสายพันธุ์ในกลุ่มเดียวกัน ที่พบในเยอรมัน กับมีอัตราตายต่ำกว่าในอิตาลีมาก ทั้งนี้เพราะ ผู้ป่วยที่พบในอิตาลีมีผู้สูงอายุมากกว่า และอัตราตายของอิตาลี เมื่อเทียบตามอายุ ก็เหมือนกันอัตราตายตามอายุในประเทศจีน

ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมที่เกี่ยวกับความรุนแรงที่ทำให้โรครุนแรงขึ้น

นอกจากนี้ยังมีแพทย์จีน ซึ่งเป็นผู้นำทีมโควิด-19 เตือนว่าการระบาดอาจกินเวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 2 ปี ขอให้เตรียมตัวรับมือการระบาดให้ดี ขณะที่คณะนักวิจัยจีน ระบุว่า เชื้อโควิด-19 ไม่ได้ตายจากการเจออากาศร้อนๆ แต่เพียงทำให้มันอ่อนแอลงเท่านั้น แต่เมื่ออากาศกลับมาชื้นและเย็นลง มันจะกลับมามีชีวิตต่อไปได้ ดังนั้นอากาศร้อนไม่ได้ทำให้มันตายแต่อย่างใด

และมีข้อมูลเพิ่มเติมจากเรือไดม่อน ปริ้นเซส ที่จอดเทียบท่าอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ว่าเชื้อโควิด-19 นั้นไปกระจายตัวอยู่ตามพื้นทางเดิน สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึง 17 วัน

ชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/lmFdos0QdVo

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ