ประชาสัมพันธ์

เกาะติดพัฒนาการศึกษาไทย เตรียมความพร้อมให้นักเรียน ทันโลกในศตวรรษที่ 21

โดย

21 มี.ค. 2563

1.5K views

กระทรวงศึกษาธิการวางแนวทางการศึกษาเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนมีทักษะสำหรับการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ที่จะเปลี่ยนไปจากปัจจุบัน โดยเฉพาะทักษะการเรียนรู้ ที่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนและการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับมอบหมายจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ให้รับผิดชอบการสร้างทักษะยุคดิจิทัลให้แก่เด็กไทย จึงได้วางรากฐานสำคัญแก่เด็กไทย 2 เรื่อง คือ การเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ CODING  และเทคโนโลยีการเกษตร Smart Farming หรือ STI  เข้ามาพัฒนา
ฉะนั้น CODING แบบ UNPLUGGED จึงถือเป็นบทบาทที่ช่วยให้วิเคราะห์ ได้อย่างสร้างสรรค์ และใช้ตรรกะแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ปฐมวัย จากการเรียนแบบไร้เทคโนโลยี และฝึกฝนด้วยของที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การเรียนโค้ดดิ้งโดยไม่ต้องใช้เครื่อง ไม่ต้องเสียบปลั๊ก เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องลงทุน โดยใช้เกมใช้ของเล่นต่าง ๆ สอนให้เด็กชั้นประถมมีทักษะใหม่ ทักษะที่โลกดิจิทัลต้องการ ก็คือทักษะในการอ่าน จะต้องอ่านได้ใจความเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ได้ อันที่สอง คือทักษะในการเขียน เขียนสื่อสารกับคนอื่นได้  ทักษะที่สาม คือทักษะในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีเหตุมีผล ทักษะที่สี่ คือทักษะในการคิดเชิงคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ทักษะที่ห้า คือทักษะในการตัดสินใจ
ทั้งนี้การเกษตรถือเป็นหัวใจหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวไทยควบคู่กันไป กระทรวงศึกษาธิการจึงตั้งเป้าให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 47 แห่งทั่วประเทศ เรียนรู้เทคโนโลยีลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอย่างมี STI
คุณหญิงกัลยา บอกอีกว่า ที่ว่า SCIENE TECHNOLOGY INNOVATION นี้ คือจะต้องใช้ STI มาสร้างงาน สร้างเงิน สร้างคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรไทย ให้เขาสามารถที่มีทักษะใหม่ คือจะต้องมีดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้องแล้วจะต้องสมาร์ทด้วย เพื่อลดต้นทุนมีประสิทธิ์ภาพเพิ่มขึ้นมีผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/TMNA3qcfFSw

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ