เศรษฐกิจ

เกษียณอายุ 60 เร็วไปรึเปล่า? อดีตคณบดีบัญชี มธ. ยกงานวิจัยเผยคนอายุยืนขึ้น อัตราการเกิดน้อยลง

โดย

16 ก.พ. 2563

5.6K views

รศ.ดร.พิภพ อุดร อดีตคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยในงานฉลองครบรอบ 20 ปี โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา หรือ ซีส์ (SEAS) ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ระบุว่า
เอาเข้าจริง อายุ 60 ในปัจจุบัน ที่เรากำหนดให้เกษียณอายุ ถือว่ายังไม่แก่ ขณะนี้มีงานวิจัยที่น่าสนใจของ ลอนดอน บิซิเนส สคูล ระบุว่าถัวเฉลี่ยคนจะอายุแตะ 100 ปีแน่ ๆ ในขณะที่คิดว่า 100 ปีมันยาวนาน แต่ญี่ปุ่น เยอรมัน และอเมริกา แตะไปถึง 120 ปี ไทยก็แตะ 100 ปีแน่ ๆ หากตอนนี้ใครอายุ 50 และยังแข็งแรง ท่านจะไปแตะ 90 แน่ ประเด็นคือ เราเรียนหนังสือจบตอนอายุประมาณ 20 อายุ 60 เกษียณ แต่ถ้าอายุขัยแตะ 100 ปีอย่างงานวิจัย อีก 40 ปีที่เหลือจะทำอะไร ดังนั้นการศึกษาต้องเปลี่ยน ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา
หากพิจารณาโครงสร้างประชากรของโลก ที่เราเรียกว่า ปิรามิดประชากร ซึ่งมีฐานกว้าง คนอายุน้อย ไล่ซ้อนขึ้นไปถึงคนอายุมาก ย้อนไปเมื่อ ค.ศ.1960 ช่วงปลายเบบี้บูมเมอร์ ที่เริ่มตั้งแต่ราวปี 1946 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เทียบกับปี 1990 หรือ 30 ปีต่อมา จะพบว่าฐานเริ่มแคบลง ปัจจุบันทรงเปลี่ยนกลายเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สะท้อนว่ามีการเกิดน้อย และการตายน้อยยิ่งกว่า คนอายุยืนขึ้น ผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชาย
นี่คือเรื่องใหญ่ที่กระทบโลก เพราะเมื่ออัตราการเกิดน้อย ตายน้อยยิ่งกว่า ฐานข้างบนซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงวัยกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ฐานข้างล่างคือผู้ที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรงกลางที่ต้องดูแลทั้งข้างบนและข้างล่างรับภาระมากขึ้นเรื่อย ๆ กำลังแรงงานจะไม่เพียงพอ ในไทยฐานแคบลงเรื่อย ๆ อีก 10 ปีข้างหน้าคือ ค.ศ.2030 อัตราส่วนของคนอายุเกิน 65 จะเกิน 20% หากแตะ 30% เรียกว่า Super aged society หรือสังคมสูงวัยระดับสุดยอด 
ชมผ่านยูทูปที่นี่ : https://youtu.be/YUnPjbfNLVk

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ