พระราชสำนัก

องคมนตรี ประชุมติดตามความก้าวหน้าการดาเนินงานกรมฝนหลวงและการบินเกษตร

โดย

31 ม.ค. 2563

73 views

องคมนตรี ประชุมติดตามความก้าวหน้าการดาเนินงานกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ร่วมพิจารณาแผนปฏิบัติ การดัดแปรสภาพอากาศ การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง และความพร้อมของอากาศยานปฏิบัติการฝนหลวง สู้ภัยแล้ง ปี 2563
วันที่ 31 มกราคม 2563 เวลา 09.00 น. พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวงครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุมเทวกุล กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งเป็นการประชุมติดตามความก้าวหน้าดาเนินงานของกรมฝนหลวงและ การบินเกษตร ต่อเนื่องจากปี 2562 เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างอัตรากาลังกรมฝนหลวงและการบินเกษตร การปรับปรุงสนามบินท่าใหม่ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
ความก้าวหน้าโครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการดัดแปร สภาพอากาศตามตาราฝนหลวงพระราชทาน รวมทั้งพิจารณาแผนปฏิบัติการดัดแปรสภาพอากาศ การจัดตั้งหน่วย ปฏิบัติการฝนหลวง และความพร้อมของอากาศยานที่จะใช้ในการปฏิบัติการฝนหลวง ประจาปี 2563 จากภาวะวิกฤติภัยแล้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยพสกนิกรที่กาลังเผชิ ญปัญหาภัยแล้ง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้เร่งดาเนินการปฏิบัติการฝนหลวงแก้ไขปัญหา ภัยแล้งและช่วยบรรเทาปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ให้แก่พี่น้องประชาชน
โดยในปี 2563 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีการทบทวนแผนปฏิบัติการด้านการดัดแปร สภาพอากาศระยะ 20 ปี กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนการดาเนินงาน ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งและ บรรเทาภัยพิบัติเชิงพื้นที่ ด้านที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพการดัดแปรสภาพอากาศ ด้านที่ 3 เพิ่มขีดความสามารถ การบริหารจัดการด้านการบิน และด้านที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ได้มีการประชุมประชาพิจารณ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการแสดงความคิดเห็น เพื่อให้การนาแผนฯ ไปใช้ดาเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อประชาชนอย่างสูงสุด
 นอกจากนี้ กรมฝนหลวงและ การบินเกษตร จะดาเนินการเปิดศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงเป็น 7 ศูนย์ทั่วประเทศ ประกอบด้วย ภาคเหนือ ที่ จ.เชียงใหม่ ดูแลพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และ จ.พิษณุโลก ดูแลพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ที่ จ.นครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.ขอนแก่น ดูแลพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ จ.บุรีรัมย์ ดูแลภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ที่ จ.ระยอง และภาคใต้ ที่ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้กับพี่น้องประชาชนให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
สาหรับความก้าวหน้าการดาเนินงานจากปี 2562 ด้านความก้าวหน้าการปรับปรุงสนามบิน ท่าใหม่ อาเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ขณะนี้อยู่ระหว่างสานักงบประมาณพิจารณาให้ใช้งบประมาณเหลือจ่าย จากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร หรือกองทัพอากาศเสนอขอสนับสนุนงบประมาณดาเนินการในขั้นตอนต่อไป ด้านโครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการดัดแปรสภาพอากาศตามตาราฝนหลวงพระราชทาน ณ ศูนย์ฝนหลวง หัวหิน ภายในท่าอากาศยานหัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนาเทคนิคกรรมวิธีที่ เกี่ยวข้องกับการดัดแปรสภาพอากาศ การควบคุมคุณภาพการดัดแปรสภาพอากาศ ตลอดจนการกากับดูแล มาตรฐานการปฏิบัติการฝนหลวง มีแผนดาเนินการเตรียมการสารวจ ออกแบบอาคาร สิ่งก่อสร้าง จัดทาแผน
แม่บท และสถาปัตยกรรมเพื่อขอตั้งงบประมาณปี 2565-2567 จานวนรวม 425 ล้านบาท โดยขอความอนุเคราะห์จาก หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงเตรียมการลงนามความร่วมมือด้านการดัดแปรสภาพอากาศ ระหว่างกรมฝนหลวงและ การบินเกษตรกับสถาบันอุตุนิยมวิทยาศาสตร์ ภายใต้องค์การอุตุนิยมวิทยาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย
ส่วนผลการการปฏิบัติการฝนหลวงในปี 2562 ตั้งแต่เริ่มตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม - 15 พฤศจิกายน 2562 มีการขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือปัญหาภัยแล้ง เติมน้าต้นทุน บรรเทาปัญหาหมอกควันไฟป่า ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ และยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ จานวน 241 วัน 6,280 เที่ยวบิน (8,925:26 ชั่วโมงบิน) มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 89.20 และจังหวัดที่ มีรายงานฝนตกรวม 59 จังหวัด 
ทั้งนี้ กรมฝนหลวงฯ ยังมีการตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว ระหว่าง วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 – 26 มกราคม 2563 เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในอากาศเกนิ ค่ามาตรฐานบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้ง ในภูมิภาคต่างๆ โดยทาการตั้งหน่วยฯ 74 วัน ขึ้นบิปฏิบัติการฝนหลวง 15 วัน 74 เที่ยวบิน มีฝนตกจาก การปฏิบัติการฝนหลวง 12 วัน มีจังหวัดที่มีฝนตกรวม 15 จังหวัด 46 อาเภอ 10 อ่างเก็บน้า และ 2 เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่า
อย่างไรก็ตาม สาหรับแผนปฏิบัติการดัดแปรสภาพอากาศ ประจาปี พ.ศ. 2563 กรมฝนหลวง และการบินเกษตร เตรียมพร้อมปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้ง เติมน้าต้นทุนให้เขื่อนเก็บกักน้า บรรเทาปัญหา หมอกควันและไฟป่า ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ และยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ โดยขยับเวลาการเริ่ม ปฏิบัติการเร็วขึ้นจากเดิมคือวันที่ 1 มีนาคมของทุกปี 
ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมความพร้อมบุคลากรทางการบิน จานวน 72 นาย อากาศยานของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จานวน 32 ลา ได้แก่ CN 1 ลา CASA 11 ลา CARAVAN 11 ลา Super King Air 2 ลา และ HELICOPTER 7 ลา และอากาศยานที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศ โดยจะมีการเปิดหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จานวน 11 หน่วยฯ แบ่งเป็น วันที่ 6-16 กุมภาพันธ์ 2563 
เปิดหน่วยปฏิบัติการ จำนวน 6 หน่วย ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น บุรีรัมย์ ระยอง และสุราษฎร์ธานี ใช้อากาศยานรวม 12 ลา (เครื่องบินกรมฝนหลวงและการบินเกษตร 8 ลา เครื่องบินกองทัพอากาศ 4 ลา)
 และเปิดฐานเติมสารฝนหลวง 1 ฐาน ที่ จ.เชียงใหม่ และตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป จะเปิดหน่วยปฏิบัติการฯ ทั้งหมด 11 หน่วยฯ ทั่วประเทศ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ กาญจนบุรี ขอนแก่น อุดรธานี บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) และสุราษฎร์ธานี ใช้อากาศยานรวม 29 ลา (เครื่องบินฝนหลวง 23 ลา และ เครื่องบินกองทัพอากาศ 6 ลา) 
โดยเปิดฐานเติมสารฝนหลวง จำนวน 5 ฐาน ที่ จ.ตาก ลพบุรี สกลนคร จันทบุรี และสงขลา (หาดใหญ่) ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติการฝนหลวงตามตาราฝนหลวงพระราชทาน สามารถคลี่คลาย ปัญหาภัยแล้งในทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อพี่น้องประชาชน

แท็กที่เกี่ยวข้อง