อาชญากรรม

'ดีเอสไอ' แย้ง 'อัยการ' หลังสั่งไม่ฟ้องคดีบิลลี่ แจงวิธีตรวจไมโทคอนเดรียใช้กันทั่วโลก

โดย

27 ม.ค. 2563

347 views

พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ แถลงข่าวกรณีคดีบิลลี่ที่อัยการสั่งไม่ฟ้องคดีอุ้มฆ่า ยืนยันว่าการตรวจดีเอ็นเอกระดูก เพื่อประกอบสำนวนคดี เป็นไปตามมาตรฐานสากล แม้ไม่อาจระบุตัวบุคคลได้ แต่ยืนยันว่าเป็นทายาทสายเลือดฝั่งยายและแม่ของบิลลี่อย่างแน่นอน และจากนี้ เป็นอำนาจอธิบดีดีเอสไอ พิจารณาว่าจะเห็นพ้อง หรือส่งสำนวนพร้อมความเห็นแย้ง ขณะที่รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด แถลงชี้แจงเหตุผลที่สั่งไม่ฟ้อง 7 ข้อหาหนัก 
พันตำรวจตรีวรณัน ศรีล้ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านคดีพิเศษ ในฐานะรองโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวถึงกรณีอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องคคีฆาตกรรมบิลลี่ แกนนำกะเหรี่ยง บ้าน โป่งลึก-บางกลอย ใน 7 ข้อหาสำคัญ โดยระบุว่ากองบริหารคดีพิเศษ จะตรวจสอบสำนวนที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง แล้วส่งให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษพิจารณา หากเห็นพ้องตามนั้น ก็ส่งกลับไปที่พนักงานอัยการตามเดิม แต่หากเห็นแย้งก็จะส่งสำนวนพร้อมความเห็นแย้ง กลับไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดอีกครั้ง โดยมีกรอบเวลาที่ต้อง ดำเนินการ 1 เดือน 
ส่วนที่อัยการสั่งไม่ฟ้องคดีร่วมกันฆ่า แล้วดีเอสไอจะหาพยานหลักฐานหรือสอบสวนเพิ่มเติมได้หรือไม่นั้น รองโฆษกดีเอส ระบุว่าสำนวนคดีเป็นอำนาจของอัยการแล้ว หากจะ สอบสวนเพิ่มเติม อัยการจะมีหนังสือสั่งมาที่ดีเอสไอ แต่ตอนนี้อัยการชี้มาแล้วว่าสั่งไม่ฟ้อง พนักงานสอบสวนดีเอสไอ จึงไม่มีอำนาจแล้ว
ผู้ช่วยศาสตรจารย์นายแพทย์วรวีย์ ไวยวุฒิ ผู้อำนวยการกองสารพันธุกรรม สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ อธิบายการตรวจดีเอ็นเอว่า การตรวจไมโตรคอนเดรียที่เป็นมาตรฐานทั่วโลกหากกระดูกเสื่อมสภาพ ตามหลักการแล้วจะตรวจไมโตรคอนเดรียดีเอนเอชัดเจนได้ใน 2 รุ่น คือจากรุ่นจากยาย สู่รุ่นหลาน หากยาวกว่านี้ดีเอ็นเอจะเปลี่ยนแปลง 
กรณีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับแม่ของบิลลี่แล้วพบว่าตรงกันทุกประการ จึงตีกรอบว่ากระดูกนี้น่าจะสืบไมโตรคอนเดรีย เดียวกันกับแม่ของบิลลี่ ซึ่งไม่ได้ยืนยันว่ากระดูกที่พบ เป็นลูกของแม่บิลลี่ แต่สืบสายได้ว่ามีแม่หรือยายคนเดียวกัน ส่วนการจะยืนยันตัวบุคคล จึงต้องใช้การสืบสวน สาแหรกครอบครัวของบิลลี่มาประกอบ
พันตำรวจโทเชน กาญจนาปัจจ์ ผู้อำนวยการกองปฎิบัติการคดีพิเศษภาค ยืนยันว่าญาติทุกคนในครอบครัวบิลลี่ไม่มีใครหายไป ยกเว้นบิลลี่เพียงคนเดียว และพยานหลักฐาน เหล่านี้ใช้ยื่นศาลเพื่อขออนุมัติหมายจับ กระทั่งศาลอนุมัติมาให้ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันไม่ต่างจากมาตรฐานเอฟบีไอ 
ขณะที่เมื่อเช้านี้ นางพิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มึนอ ภรรยานายบิลลี่ ยื่นจดหมายที่เขียนด้วยลายมือตัวเอง เพื่อขอทราบเหตุผล ที่อัยการมีความเห็นไม่สั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ในคดีร่วมกันฆ่านายบิลลี่ ซึ่งนางมึนอ ยอมรับว่ารู้สึกเสียใจ ที่อัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง จึงอยากฟังคำชี้แจง เหตุผลอย่างละเอียด
หลังจากนั้น นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดแถลงเรื่องนี้ว่า คณะทำงานตรวจสอบสำนวนเห็นว่าข้อกล่าวหาที่ 8 คือละเวันปฎิบัติหน้าที่ หรือปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มีพยานหลักฐานเพียงพอ เพื่อเอาผิดผู้ต้องหาทั้ง 4 ได้ ส่วนข้อกล่าวหาที่ 2 ถึง 7 คณะทำงานเห็นว่าไม่มีประจักษ์พยานและพยานแวดล้อมเพียงพอ เช่นเดียวกับข้อกล่าวหาที่ 1 คือร่วมกันฆ่าบิลลี้นั้น ในชั้นนี้เห็นว่าหลักฐานไม่พอฟ้อง จึงเห็นควรสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 เช่นกัน
รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ยังระบุว่าการตรวจพิสูจน์กระดูก เป็นวัตถุพยานของกลางโดยวิธีไมโครควอเตรียม เป็นเพียงการตรวจเพื่อทราบถึงสื่อสัมพันธ์สายมารดาเท่านั้น แต่ไม่เพียงพอ ที่จะยืนยันตัวบุคคลได้ว่ากระดูกที่พบ เป็นของบุคคลใด 
นอกจากนี้ ยังระบุว่าสำนวนคดีไม่มีข้อเท็จจริง หรือประจักษ์พยานและพยานแวดล้อมเพียงพอ เพื่อเชื่อมโยงผู้ต้องหาทั้ง 4 ว่าร่วมกันฆ่าบิลลี่ ที่ไหน เมื่อไหร่ หรือโดยวิธีใด 
ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวอันเป็นสาระสำคัญ ที่อัยการต้องกล่าวบรรยายในคำฟ้อง รวมทั้งสำนวนการสอบสวนไม่มีพยานหลักฐานว่า ได้บิลลี่หรือยังคงมีชีวิตอยู่หรือไม่ ซึ่งหากเรื่องนี้ ยังยืนกรานจะฟ้องต่อไปในชั้นศาล ก็มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่ศาลจะสั่งยกฟ้อง และทำให้ไม่สามารถยื่นฟ้องได้อีก หากพบพยานหลักฐานใหม่ที่ชัดเจนในภายหลัง

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ