สังคม

อธิบดีกรมชลฯ ลงพื้นที่แก้ปัญหาน้ำเค็ม-ปริมาณน้ำที่เหลือใช้

โดย

8 ม.ค. 2563

210 views

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เผยว่า ปริมาณน้ำกักเก็บ ต่ำกว่า  30% รวม 10 แห่ง , ตั้งแต่ 31-50% รวม 10 แห่ง , ตั้งแต่  51-80% รวม 13 แห่ง , มากกว่า 81% รวม 2 แห่ง นั่นก็คือเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนสิรินธร

ซึ่งปริมาณน้ำรวม 4 เขื่อนทั้งประเทศ ณ ขณะนี้ มีปริมาณน้ำที่ใช้ได้ 4,246 ล้าน ลบ.ม. (23%) สำหรับน้ำที่จะระบายเพิ่มจากท้ายเขื่อนเจ้าพระยานั้น จะใช้น้ำที่สำรองไว้หน้าเขื่อนที่ระบายเพิ่มมาจาก 4 เขื่อนหลักได้แก่ ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์ โดยจะระบายน้ำในระดับ 18 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ยาวไปจนถึงเดือนกรกฎาคม และได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขและบรรเทาวิกฤติภัยแล้ง

ด้าน รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เผยว่า แล้งปีนี้จะมีฝนตกน้อย โดยวิกฤตภัยแล้งจริงๆไม่ได้เกิดขึ้นในปีนี้ แต่เกิดขึ้นจากปี 62 ซึ่งโดยรวมแล้วฝนตกกระจายทั่วทั้งประเทศน้อยมาก เป็นอันดับ 2 ในรอบ 69 ปี ทำให้ในปี 63 ต้องมีการบริหารน้ำเพื่อช่วยเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ทาง นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ได้นำคณะเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบผลการบริหารน้ำที่ โรงสูบน้ำดิบการประปานครหลวงสำแล ต.สำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี จากนั้นจะใช้เครื่องสูบน้ำที่ประตูระบายน้ำพระยาบันลือ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำไว้ 50 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ