สังคม-อาชญากรรม

ภัยแล้งรุนแรงสุดในรอบ 50 ปี! น้ำประปาในพื้นที่ กทม.-ปริมณฑลไม่พอใช้ มีความเค็มส่งผลต่อสุขภาพ - เขื่อนใหญ่ 14 แห่งมีน้ำเหลือใช้แค่ 30%

โดย

4 ม.ค. 2563

6.4K views

แต่เนื่องจากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงในปีนี้ มีความรุนแรงสูงสุดในรอบ 50 ปี จึงยังคงมีความเค็มผ่านเข้ามาในระบบ ประกอบกับระบบผลิตน้ำของ กปน.ไม่สามารถกำจัดความเค็มออกจากน้ำดิบได้ จึงส่งผลให้รสชาติของน้ำประปาในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเปลี่ยนไปสามารถรับรู้ถึงรสชาติกร่อยเล็กน้อยในบางช่วงเวลา  ซึ่งความเค็มในรูปคลอไรด์เกิน 250 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือโซเดียมเกิน 200 มิลลิกรัมต่อลิตร มีปริมาณสูงกว่าคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่มีผลต่อความน่าดื่มและการยอมรับของผู้บริโภค ทั้งนี้ กปน. ขอยืนยันในภารกิจ ที่ต้องผลิตน้ำประปาเพื่อให้บริการประชาชนทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง 
กปน. ขอแนะนำแนวทางการใช้น้ำประปาในช่วงภัยแล้งสำหรับประชาชน ตามคำแนะนำของกรมอนามัย ดังนี้  ผู้ที่มีสุขภาพปกติ สามารถบริโภคน้ำประปาได้ โดยยังไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ด้วยรสชาติ ที่เปลี่ยนไปอาจส่งผลต่อความน่าดืม ทั้งนี้ ความเค็มในรูปของโซเดียมในน้ำประปา ถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับปริมาณโซเดียมในอาหารทั่วไปที่บริโภคในชีวิตประจำวัน การใช้น้ำประปาเพื่อปรุงอาหารในช่วงเวลานี้ ควรลดการเติมเครื่องปรุงรสให้น้อยลง กลุ่มเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงการบริโภค ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคไต โรคหัวใจ โรคความดันสูง โรคเบาหวาน  โรคทางสมอง ผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก 
โดย กปน. จะจัดให้บริการน้ำประปาดื่มได้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในกรณีดังกล่าว ซึ่งเป็นน้ำประปาจากโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ ที่รับน้ำจากเขื่อนแม่กลองและไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำเค็ม สามารถนำภาชนะมารับน้ำประปาดื่มได้ที่สำนักงานประปาสาขาใกล้บ้านท่านทั้ง 18 สาขา เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2563 เป็นต้นไปโดยไม่มีค่าใช้จ่าย อนึ่ง สถานการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นต่อเนื่องจนกว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝน หรือประมาณเดือนพฤษภาคม 2563  
ด้าน สทนช.ชี้เขื่อนใหญ่ และกลาง 105 แห่งอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย วอนทุกหน่วยงานเร่งเดินหน้ามาตรการลดผลกระทบประชาชน พร้อมย้ำ 3 หน่วยหลักคุมแผนจัดสรรน้ำลุ่มเจ้าพระยา – โขง ชี มูล หวั่นปริมาณน้ำลากยาวไม่ถึงสิ้นแล้ง
นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำภาพรวมทั้งประเทศขณะนี้ว่า ปัจจุบันแหล่งน้ำต่างๆ ทั่วประเทศมีปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 49,789 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 61% เป็นปริมาณน้ำใช้การ 25,714 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 44% แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 20,738 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44 
โดยล่าสุดมีเขื่อนขนาดใหญ่ 14 แห่งที่มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยกว่า 30%  ได้แก่ เขื่อนแม่กวง เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแม่มอก เขื่อนทับเสลา เขื่อนกระเสียว เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำแซะ เขื่อนลำนางรอง เขื่อนป่าสักฯ เขื่อนคลองสียัด และเขื่อนหนองปลาไหล 
ขณะที่แหล่งน้ำขนาดกลาง 354 แห่ง จากทั้งหมด 660 แห่งที่มีระบบติดตามได้ พบว่า อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังน้ำน้อยจำนวน 91 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 29 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 46 แห่ง ภาคกลาง 2 แห่ง ภาคตะวันออก 10 แห่ง ภาคตะวันตก 2 แห่ง และภาคใต้ 2 แห่ง ซึ่งขณะนี้หน่วยงานต่างๆ ได้มีการปรับแผนการดำเนินงาน โดยใช้งบประมาณปกติของหน่วยงานในการจัดหาแหล่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบขาดแคลนน้ำทั้งในเขตและนอกเขตชลประทานที่สามารถเร่งรัดดำเนินการได้ทันทีภายในระยะ 1 – 2 เดือนนี้
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/JF9pTCgFyCM

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ