เศรษฐกิจ

ไอเอ็มเอฟ-ยูเอ็น ชี้เศรษฐกิจไทยเผชิญปัญหาใหญ่ เข้าสภาวะสังคมสูงวัยแต่ไม่มั่งคั่ง

โดย

17 ธ.ค. 2562

4.4K views

2 องค์กรเศรษฐกิจและสังคมของโลก มองไทยเผชิญวิกฤตเงียบใน 20 ปีข้างหน้า ประชากรไม่เพิ่มกว่า 22 ล้านคนในสิ้นศตวรรษนี้ ทารกเกิดใหม่ต่ำสุดอันดับ 2 ของโลก แรงงานขาดแคลนพุ่งมากในรอบหลายปี ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เข้าสภาวะเศรษฐกิจสังคมสูงวัยแต่ไม่มั่งคั่ง 
องค์การสหประชาชาติ เปิดเผยว่า ภาวะเด็กทารกเกิดใหม่ลดต่ำของประเทศไทยจะส่งผลให้จำนวนประชากรไทยไม่มีเพิ่มขึ้นกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรราว 68 ล้านคนในปัจจุบัน หรือไม่มีคนไทยเกิดใหม่กว่า 22 ล้านคน ภายในสิ้นศตวรรษนี้ หรือในอีก 20 ปีข้างหน้า 
โดยพบว่าภายในสิ้นสุดปี 2100 ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเดียวของอาเซียน และเป็น 1 ใน 3 ของเอเชียที่มีจำนวนประชากรลดลงใน 10 อันดับแรกของโลก โดยติดลบถึง 34% เป็นอันดับ 2 ต่ำสุดของโลก รองจากญี่ปุ่นที่ติดลบ 41% ซึ่งต่ำที่สุดของโลก 
นอกจากนี้ อัตรการเกิดใหม่ของคนไทยดิ่งลงแตะ 1.5% ซึ่งทรุดต่ำลงมากกว่าอัตราเฉลี่ยมาตรฐานที่ระดับ 2.1% ที่จะทำให้เกิดภาวะประชากรสมดุลของประเทศอย่างต่อเนื่อง และยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเกิดใหม่ต่ำสุดของโลก ขณะที่จีนมีอัตราการเกิดใหม่ของประชากรที่ 1.7% ซึ่งสูงกว่าไทย 
ทั้งนี้ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อัตราการเกิดใหม่ของประชากรไทยลดลงจาก 6.6% เหลือเพียง 2.2% ขณะเดียวกัน จำนวนคนไทยสูงอายุจะพุ่งเป็นกว่า 25% ภายในปี 2030 หรืออีก 11 ปีหน้า ทำให้เกิดปัญหาคนสูงอายุมีจำนวนมากและยากจนมาก 
ยูเอ็นเปิดเผยต่อไปว่า อัตราการเกิดใหม่ที่ต่ำสุดของไทยเทียบได้กับประเทศที่พัฒนาแล้วในอันดับต้นๆของโลก คือสวิสเซอร์แลนด์ และฟินแลนด์ แต่สถานะทั้ง 2 ประเทศดังกล่าวกลับมีความร่ำรวยและมั่งคั่งทางเศรษฐกิจอันดับต้นๆของโลก 
นอกจากนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ เปิดเผยว่า จากภาวะประชากรในไทยเกิดใหม่น้อยลงอย่างมาก และขาดแคลนแรงงานต่างประเทศเข้ามาในไทย ทำให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยอาจชะลอตัวถึงปีละ 1% ติดต่อกันในช่วง 20 ปีข้างหน้านี้ 
ในปัจจุบัน พบว่า แรงงานต่างชาติในไทยในภาพรวมมีเพียง 10% และเกือบทั้ง 10% ทำงานในกับบริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ทั้งสิ้น ซึ่งส่งผลกระทบลงไปถึงการใช้แรงงานจำนวนมากที่ต้องมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเมื่อเทียบกับแรงงานต่างชาติในไทย

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ