ต่างประเทศ

'UN' เตือน! ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลังอุณหภูมิโลกพุ่ง จัดประชุม COP25 เร่งหาทางแก้

โดย

2 ธ.ค. 2562

199 views

ตามแผนงานก่อนหน้านี้การประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศมีกำหนดจัดขึ้นในกรุงกรุงซันติอาโก เมืองหลวงของชิลี แต่พิษจากการประท้วงเพื่อเรียกร้องการแก้ไขเศรษฐกิจและบริการสาธาณะที่ล่วงเลยมานานถึง 1 เดือน ก็ส่งผลให้ในที่สุดแล้ว ทางประธานาธิบดี เซบาสเตียน พิเนรา ต้องตัดสินใจยกเลิกการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม หลังจากการชุมนุมส่อแววรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  และยังคงไม่มีทีท่าสิ้นสุดลง และจากการตัดสินใจถอดตัวของชิลี สเปนได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพแทน ทำให้บรรดาผ้นำนานาประเทศที่ต้องร่วมการประชุม ต้องเปลี่ยนแผนการเดินทาง แต่สำหรับเนื้อหาการประชุมยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง นั้นคือประเด็นการมุ่งหามาตรการอย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน คือการต่อสู้กับการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก
โดยก่อนการประชุม COP25 เพียงแค่ไม่ไกี่วัน สหประชาชาติ ออกคำเตือนว่า หากนานาชาติไม่อาจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่สุดแล้วภายนอีก 10 ปี อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งมากพอที่บรรดาสัตว์นานาชนิดและพืชเริ่มศูนย์พันธ์ ทำให้การประชุม COP25 ครั้งนี้ นอกจากแต่ละชาติที่เข้าร่วมจะได้แสดงความพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก็ยังเป็นโอกาสที่แต่ละประเทศปรับเปลี่ยนนโยบายตลอดจนนำเทคโนโลยีใหม่ๆมานำเสนอ ซึ่งเป้าหมายสำคัญหลักของการประชุมก็คือ 
1. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 45 ในปี 2030 นี้
2. การส่งเสริมให้องค์กร ผลิตภัณฑ์ บริการหรือว่ากิจกรรมต่างๆ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้เหลือเป็น 0 ภายในปี 2050 
3. คงระดับการเพิ่มอุณภูมิเฉลี่ยของโลกไว้ไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซสเซียส ภายในปี 2100 
จากรายการของนายอังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ระบุว่าสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ไม่ได้เป็นปัญหาระยะยาวอีกต่อไปเพราะขณะนี้โลกกำลังเผชิญวิกฤตโลกร้อน ดังนั้นเราจะต้องหยุดการขุดเจาะเพื่อจะแสวงหาพลังงานและแก้ปัญหาบนพื้นฐานของธรรมชาติ
หากย้อนไปเมื่อปลายปี 2015 ในเวลานั้นทั่วโลกต่างพร้อมใจกันลงนามในข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ให้คำมั่นว่าจะลงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อหยุดยั้งภาวะโลกร้อน แต่เมื่อผ่านไปหลายปีนักวิทยาศาสตร์พบว่า หลายประเทศยังคงมีการผลิตก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศที่มีการผลิตมากที่สุดคือประเทศจีน และประเทศสหรัฐอเมริกา
ขณะนี้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอยู่ราวเกือบ 1 องศาเซสเซียส และหลายประเทศก็ได้เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นวิกฤตแล้ว อย่างในภูมิภาคคารู ประเทศแอฟริกาใต้ มีซากสัตว์ล้มตายบนผืนดินที่แตกระแหงเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความแห้งแล้งที่ภูมิภาคนี้เผชิญติดต่อกันมา 4 ปี เกษตรกรท้องถิ่นเผยว่า ฟาร์มที่เคยมีวัวอยู่ถึง 80 ตัว ขณะล้มตายเหลือเพียงแค่ 15 ตัวเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะช่วงปีแห้งแล้งรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมาในรอบร้อยปี
ตามรายการของกรมอุตุนิยมวิทยาสหรัฐ ระบุว่าสภาพอากาศร้อนผิดปกติและปริมาณน้ำฝนที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยนร้อยละ 75 คือเหตุผลหลัง ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปประชาชนราว 45 ล้านคนในแอฟริกาใต้ จะเผชิญกับความอดอยากเมื่อ พืช ธัญหารและปศุศัตว์พากันล้มตายจากาารเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ
ซึ่งในขณะนี้บางพื้นที่ของโลกแห้งแล้ง ในทางกลับกันบางพื้นที่กลับถูกน้ำท่วมจนเกินรับมือ อย่างที่หมูบ้านทางตอนเหนือของจังหวัดชวา ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเคยตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล แต่ปัจจุบันหมู่บ้านดังกล่าวกลับเป็นด่านรับมือกับระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้มากเกินไป ส่งผลให้พื้นดินทรุดตัว ประกอบกับระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปี รวมไปถึงการทำลายผืนป่าชายเลนอันเป็นปราการป้องกันน้ำตามธรรมชาติด้วย อย่างไรก็ตามคนในหมู่บ้านไม่มีทางเลือก เนื่องจากฐานะชาวประมงที่มีรายได้ต่อวันแค่พอกิน ทำให้ชาวบ้านบางรายไม่สามารถย้ายที่อยู่ใหม่ กลับทำได้เพียงต่อเติมบ้าน ยกพื้นให้สูงขึ้น และนี้คือตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพราะอยู่ขณะนี้ เมื่ออุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ซึ่งภัยพิบัติไม่ได้จำกัดแค่ในแอฟริกาใต้หรือว่าที่อินโดนีเซียเท่านั้น แต่อาจจะลุกลามทั่วโลกในอนาคตอันใกล้นี้

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ