ต่างประเทศ

เทียบชัด ภาพถ่ายดาวเทียมภูเขาน้ำแข็งขนาดเท่ากรุงลอนดอนแตกออกจากหิ้งในทวีปแอนตาร์กติกา

โดย kanyapak_w

25 ม.ค. 2566

1.3K views

สถาบันวิจัยด้านการสำรวจขั้วโลกใต้ของสหราชอาณาจักร หรือ BAS เปิดเผยว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นที่หิ้งน้ำแข็งบรันต์ ความหนาประมาณ 150 เมตร เมื่อเวลาประมาณ 19.00 – 20.00 น. ตามเวลามาตรฐานกรีนิช ของวันอาทิตย์ (22 ม.ค. 66) ที่ผ่านมา หรือ 01.00 – 02.00 น. ของวันจันทร์ (23 ม.ค. 66) ที่ผ่านมา ตามเวลาในไทย ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่น้ำทะเลสูงขึ้นกว่าปกติ หรือเรียกว่า ปรากฏการณ์น้ำเกิด (Spring Tide)



BAS ระบุว่า หิ้งน้ำแข็งดังกล่าวมีรอยแตกร้าวตามธรรมชาติมาแล้วหลายปี จนกระทั่งรอยไปสุดที่ขอบอีกด้านหนึ่งของหิ้ง ส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งหลุดออกมาอย่างอิสระ และเกิดเป็นภูเขาน้ำแข็งลูกใหม่



การแตกหักของภูเขาน้ำแข็งครั้งนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ภูเขาน้ำแข็งที่มีขนาดเล็กกว่าครั้งนี้ ได้แตกออกจากหิ้งน้ำแข็งบรันต์ และลอยไปตามทะเลเวดเดลล์ (Weddell Sea)




ทั้งนี้ BAS ค้นพบรอยแตกร้าวบนหิ้งน้ำแข็งบรันต์ ครั้งแรกเมื่อ 10 ปีก่อน และตั้งแต่ปี 2560 ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำการอยู่บนหิ้งน้ำแข็งแห่งนี้ ทุกช่วงฤดูร้อนของขั้วโลกใต้ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม เพื่อติดตามท่าทีของหิ้งน้ำแข็งแห่งนี้





CREDIT : EUROPEAN UNION, COPERNICUS SENTINEL-2 IMAGERY

คุณอาจสนใจ

Related News