ต่างประเทศ

เผยภาพ! ปลาหัวโปร่งใส นักวิจัยเผยเป็นปลาหายาก

โดย thichaphat_d

13 ธ.ค. 2564

151 views

MBARI  (สถาบันวิจัยพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์) ค้นพบปลาหายาก ในทะเลลึกกว่า 2,000 ฟุตใต้มหาสมุทรแปซิฟิก นอกชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีหัวโปร่งแสงและตาสีเขียวเรืองแสง


โดย เจ้าปลาบาร์เรลอาย (Barreleye Fish) มีจุดเด่นตรงหัวที่สามารถมองทะลุอวัยวะภายในได้อย่างชัดเจน ส่วนลำตัวมืดทึบ และมีรอยหยักเล็ก ๆ 2 รอยทำหน้าที่เป็นอวัยวะรับกลิ่น


และดวงตายังแปลก โดยมีเบ้าใหญ่ที่ส่องประกายเรืองแสงมีแนววิสัยมองขึ้นไปด้านบนหน้าผาก ช่วยให้มันล่าเหยื่อ นักวิจัยของ MBARI ค้นพบว่าอาหารโปรดของมันคือแมงกระพรุน ปลาตัวเล็ก และแพลงก์ตอนที่มีชีวิต โดยมันสามารถมีความยาวสูงสุด 6 นิ้ว หรือ 15 เซนติเมตร


เดิมที นักวิทยาศาสตร์คิดว่า ดวงตาของปลาบาร์เรลอายสามารถมองเห็นได้เพียงด้านบนเหนือหัวเท่านั้น แต่บทความที่ตีพิมพ์ในปี 2552 และ 2562 อธิบายว่า นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการค้นพบว่ามันพัฒนาความสามารถในการมองเห็นอันเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมที่ไม่มีแสงแดดส่องถึง ทำให้ดวงตาสามารถหมุนภายในเนื้อเยื่อโปร่งใสได้จึงสามารถมองเห็นทิศข้างหน้าได้


เมื่อมีการระบุอาหารอันโอชะที่เหมาะสม มันจะโจมตีจากความมืดและกลืนเหยื่ออย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม มันอาศัยอยู่ในระดับความลึก 600 ถึง 800 เมตร (2,000 ถึง 2,600 ฟุต)


สถาบันวิจัยกล่าวว่า “ภาพปลาบาร์เรลอายหายากมาก โดยเวนทานาและด็อกริกเก็ตส์ ซึ่งเป็นยานพาหนะควบคุมระยะไกลของ MBARI ได้บันทึกการดำน้ำที่ประสบความสำเร็จมากกว่า 5,600 ครั้งและบันทึกวิดีโอมากกว่า 27,600 ชั่วโมง แต่พบปลาชนิดนี้เพียงเก้าครั้งเท่านั้น"

คุณอาจสนใจ