ต่างประเทศ

บราซิลเผยวัคซีน Sinovac ของจีนมีประสิทธิภาพไม่ถึง 60% กัมพูชาไม่ขอรับ ลั่นไม่ใช่หนูทดลองของใคร!

โดย

13 ม.ค. 2564

8.9K views

จากกรณีที่หลายฝ่ายสงสัยเรื่องการขึ้นทะเบียนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศไทยว่า ทำไมวัคซีนโควิด-19 ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานด้านอาหารและยาของต่างประเทศ ยังต้องผ่านการขึ้นทะเบียนกับ อย. ไทยอีก

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า การที่ต้องมาขึ้นทะเบียนที่ อย. อีกครั้ง เพื่อให้ทราบว่าผู้รับอนุญาตนำเข้าวัคซีนโควิด-19 คือใคร และสามารถติดตามตรวจสอบได้หากวัคซีนนั้นมีปัญหาเชิงคุณภาพหรือความปลอดภัยผู้รับอนุญาตนำเข้าต้องรับผิดชอบต่อวัคซีนของตน เนื่องจากวัคซีนอาจเกิดผลข้างเคียงหลังจากการฉีดได้

โดยปัจจุบัน มีบริษัทมายื่นขอขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 กับ อย. จำนวน 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท แอสตราเซนเนกา (AstraZeneca) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาประเมินข้อมูล คาดว่าจะสามารถอนุมัติทะเบียนได้เร็ว ๆ นี้ และวัคซีนของ บริษัท ไซโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) โดยมีองค์การเภสัชกรรมเป็นผู้รับอนุญาตในการขึ้นทะเบียน ส่วนวัคซีนอื่น ๆ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานด้านอาหารและยาของต่างประเทศแล้วยังไม่มีการยื่นขอขึ้นทะเบียนกับ อย. แต่อย่างใด

ทั้งนี้มีรายงานประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาโดยบริษัท Sinovac Biotech วัคซีนซึ่งรัฐบาลจีนจะส่งมาให้รัฐบาลไทยจำนวน 2 ล้านโดสในช่วงต้นปีนี้ พบว่ามีประสิทธิภาพน้อยกว่า 60%  

โดยในการทดลองที่บราซิล จากศูนย์ชีวการแพทย์ Butantan biomedical center ในเมืองเซาเปาโล มีประสิทธิภาพเพียง 50.38% โดยการที่ศูนย์ต้องออกมาแถลง เพราะถูกประชาชนกดดัน ซึ่งก่อนหน้านี้นักวิจัยบราซิลระบุว่าวัคซีน Sinovac มีประสิทธิภาพ 78% แต่หลายฝ่ายเชื่อว่าไม่โปร่งใส จนที่สุดต้องออกมาแถลงใหม่

โดยก่อนหน้านี้กัมพูชาประกาศไม่รับวัคซีน Sinovac จากจีน ซึ่งสมเด็จฮุนเซน ระบุว่า กัมพูชาไม่ใช่หนูทดลองและถังขยะของใคร จะรอวัคซีนจากองค์การอนามัยโลกเท่านั้น แม้ว่ากัมพูชาจะเป็นประเทศใกล้ชิดกับจีนมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

ส่วนท่าทีทางจีน ประทรวงการต่างประเทศเสนอมอบวัคซีน Sinovac ให้เมียนมาแบบไม่คิดค่าใช้จ่าย เนื่องจากจีนมีพรมแดนประชิดเมียนมา และมีปัญหาผู้ติดเชื้อจากเมียนมาทะลักเข้าจีนจนต้องกั้นรั้วลวดหนามบริเวณพรมแดน

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ