ต่างประเทศ

กูรูซัด 'อีลอน มัสก์' - แพลตฟอร์ม X ตัวการบิดเบือนข้อมูลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

โดย nattachat_c

7 ชั่วโมงที่แล้ว

55 views

ศูนย์ต่อต้านความเกลียดชังทางดิจิทัล เปิดเผยอ้างข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า 'อิลอน มัสก์'  มหาเศรษฐีเจ้าของเทสล่า และสเปซ เอ็กซ์ และเจ้าของแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ ว่า แพลตฟอร์ม 'ทวิตเตอร์' เป็นศูนย์กลางของข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐปีนี้  

รายงานระบุว่า คำกล่าวอ้างต่าง ๆ ที่ทำให้เข้าใจผิดของ อิลอน มัสก์ เกี่ยวกับการเลือกตั้งของสหรัฐ นั้น มียอดผู้เข้าชมมากกว่า 2 พันล้านครั้ง ในปีนี้  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านข้อเท็จจริง เตือนว่า ทวิตเตอร์ ได้กลายเป็นช่องทางหลักในการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับรัฐสมรภูมิที่สำคัญต่อผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี

อย่างไรก็ตาม ทางด้านโฆษกของทวิตเตอร์ อ้างว่าฟีเจอร์ "คอมมูนิตี้ โน้ตส์"" (Community Notes) ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้เพิ่มบริบทลงในโพสต์นั้น มีประสิทธิภาพในการระบุเนื้อหาที่ทำให้เข้าใจผิดได้ดีกว่าการเตือนแบบเดิม ๆ

 ทั้งนี้ นับตั้งแต่อิลอน มัสก์ ได้เข้าซื้อทวิตเตอร์  หรือทวิตเตอร์เดิมนั้น มัสก์ก็ได้ลดการควบคุมเนื้อหา และลดจำนวนพนักงานลงอย่างมาก และแสดงออกถึงการสนับสนุนสาธารณะต่อทรัมป์อย่างชัดเจน

โดยทางด้าน แคทเธอลีน คาร์เลย์  จากมหาวิทยาลัย 'คาร์เนกี เมลลอน' อธิบายว่าผู้ติดตาม 203 ล้านคนของมัสก์ ทำให้เนื้อหาของทวิตเตอร์ แพร่หลายมากขึ้นในแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น เรดดิต และเทเลแกรม ซึ่งยิ่งช่วยให้ข้อมูลเท็จแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง

ศูนย์ต่อต้านความเกลียดชังทางดิจิทัล ยังพบว่า โพสต์ของมัสก์อย่างน้อย 87 โพสต์ในปีนี้ ส่งเสริมการกล่าวอ้างการเลือกตั้งที่ทำให้เข้าใจผิด ซึ่งหลายโพสต์ได้รับการพิสูจน์แล้วโดยผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง

ทางด้าน ฟิลิป เฮนสลีย์-รอบิน ผู้อำนวยการ องค์กร คอมมอน คอส (Common Cause) ซึ่งเป็นองค์กรสนับสนุนความโปร่งใสของรัฐบาล และสิทธิในการเลือกตั้ง ระบุว่าที่รัฐเพนซิลเวเนียซึ่งเป็น 1 ใน 7 รัฐสวิงสเตตส์ มีผู้ใช้ทวิตเตอร์บางคนหยิบเอาเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งท้องถิ่น คัดแบบลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งที่ไม่สมบูรณ์ออก แต่กลับบอกว่า นี่คือตัวอย่างของการแทรกแซงศึกเลือกตั้ง

ทางด้าน บริษัท ไซยาบรา (Cyabra) ซึ่งใช้เอไอในการตรวจจับข้อมูลบิดเบือนออนไลน์ ระบุด้วยว่า มีบัญชีผู้ใช้ทวิตเตอร์ รายหนึ่งที่มีผู้ติดตามประมาณ 117,000 คนเป็นตัวการแพร่คลิปวิดีโอปลอมที่พยายามทำให้เห็นว่า มีการทำลายบัตรเลือกตั้งทางไปรษณีย์ ซึ่งลงคะแนนโหวตให้ทรัมป์ 



คุณอาจสนใจ

Related News