ต่างประเทศ

ปูตินดัน 'เอเชีย-แอฟริกา-ละติน' เพิ่มบทบาทมนตรีความมั่นคงยูเอ็น ด้านบริคส์รับไทยเป็นหุ้นส่วน

โดย nattachat_c

25 ต.ค. 2567

208 views

ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน กล่าวในการประชุมสุดยอดบริคส์ พลัส (BRICS+) ที่เมืองคาซาน เมื่อวานนี้ ว่า เอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา ควรมีบทบาทมากขึ้นในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาติ

ปูตินกล่าวว่า "เรามองว่าการปรับโครงสร้าง (IN SHOT) ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในศตวรรษที่ 21 เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปของสหประชาชาติ เพื่อขยายการเป็นตัวแทนของประเทศในเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา ในคณะมนตรีความมั่นคง และองค์กรสำคัญอื่นๆ ของสหประชาชาติ รวมถึงประเทศที่มีผู้นำอยู่ในห้องประชุมนี้"


ขณะเดียวกัน มี 13 ประเทศ รวมถึง 4 ชาติอาเซียนได้แก่ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม และไทย เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนของ 'บริกส์' (BRICS)  โดยในบัญชีทวิตเตอร์ อย่างเป็นทางการของกลุ่ม BRICS (@BRICSInfo) ได้ทวีตข้อความว่า 13 ประเทศได้เข้าร่วมกับพวกเขาในฐานะประเทศหุ้นส่วนแล้ว (ไม่ได้เป็นสมาชิกเต็มตัว) โดยอีก 9 ประเทศนอกจาก 4 ชาติอาเซียน ได้แก่ แอลจีเรีย, เบลารุส, โบลิเวีย, คิวบา, คาซัคสถาน, ไนจีเรีย, ตุรกี, ยูกันดา และอุซเบกิสถาน

ทั้งนี้ กลุ่มบริคส์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 โดยมีสมาชิกเริ่มแรกคือ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย และจีน จากนั้น แอฟริกาใต้ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี 2553 ตามด้วย อียิปต์, เอธิโอเปีย, อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกในปีนี้ ส่วน 13 ประเทศล่าสุด ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มเต็มตัว

ชาติสมาชิกกลุ่มบริคส์ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกันถึง 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 28% ของเศรษฐกิจโลก โดยทางด้าน ฮัลมี อัซรี นักวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเมือง มองว่า 4 ชาติอาเซียนเข้าเป็นหุ้นส่วนบริคส์ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า และเพิ่มความหลักหลายในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของพวกเขา ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ และสงครามในยูเครนกับตะวันออกกลาง และแรงจูงใจอีกอย่าง อาจเป็นเพื่อผูกมิตรกับจีน และเพื่อให้ได้เงื่อนไงการลงทุน และการค้าที่ดีขึ้นจากแดนมังกร เนื่องจากจีนเป็นผู้ผลักดันหลักของกลุ่มบริคส์  

คุณอาจสนใจ